รักลูกไม่เท่ากัน เมื่อหนูคิดว่า ไม่ใช่ "คนโปรด" ของพ่อแม่ - amarinbabyandkids
รักลูกไม่เท่ากัน

ทำอย่างไร? เมื่อลูกคิดว่าพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน

Alternative Textaccount_circle
event
รักลูกไม่เท่ากัน
รักลูกไม่เท่ากัน

เป็นไปได้หรือไม่ที่คุณพ่อ คุณแม่จะทำให้ลูกรู้สึกว่า รักลูกไม่เท่ากัน ในเชิงจิตวิทยา อาการที่ผู้ใหญ่มีความสัมพันธ์กับเด็กในลำดับขั้นต่างๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นฝาแฝดก็ตาม เด็กๆ อาจจะคิดว่ารักพวกเขาไม่เท่ากัน นั่นเพราะความดื้อ ความซน การเอาตัวรอด และความน่ารักที่แตกต่างกัน

รักลูกไม่เท่ากัน จริงหรือ?

คลิปวิดีโอที่จะให้ดูต่อไปนี้ เป็นภาพของคุณพ่อ และลูกชาย ลูกสาว ที่กำลังนอนอยู่ในห้องนอน แสดงถึงวิธีการปฏิบัติตัวของคุณพ่อ ที่มีต่อลูกสาว และลูกชาย

หลายคนมักพูดว่าลูกสาวคือคนรักชาติก่อนของพ่อ จริงหรือ?

หลายคนมักพูดว่าลูกสาวคือคนรักชาติก่อนของพ่อ จริงหรือ?

LIEKR 发布于 2016年9月20日周二

ความรู้สึกรักลูกไม่เท่ากัน ได้กลายเป็นปมด้อยของ “ลูกชัง” ที่เพาะพันธุ์และหยั่งรากลึก กลายเป็น “แผลเป็น” ติดตัวไปตลอดชีวิต บางครั้งทำให้เกิดโศกนาฏกรรมที่น่าสลดขึ้น ดังกรณีตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1

“หมอสุพัฒน์” ถูกกล่าวหาในคดีฆาตกรรมแรงงานพม่าอย่างโหดเหี้ยม และผู้ที่กล่าวหาคือพี่ชาย ว่าเคยจงใจให้ยาผิด หรือวางยาแม่ตัวเอง เนื่องจากปมด้อยที่ทำให้รู้สึกมาตลอด ตั้งแต่เด็กว่า แม่รักพี่ชายมากกว่า และถึงแม้ “หมอสุพัฒน์” จะใช้ปมด้อยนี้เป็นพลังด้านบวก ผลักดันตัวเองให้เรียนหนังสือเก่งกว่า มีอาชีพที่ดีกว่าพี่ชาย เพื่อพิสูจน์ให้แม่เห็น และรักมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจแม่ได้ จึงเป็นมูลเหตุที่ทำให้เชื่อว่าปมด้อย และความรู้สึกว่าแม่รักลูกไม่เท่ากัน ยังฝังลึกในใจจนยากจะถอนได้

ปัญหาครอบครัว รักลูกไม่เท่ากัน
ปัญหาครอบครัว รักลูกไม่เท่ากัน

ตัวอย่างที่ 2

“นายวัฒน์” เด็กหนุ่มวัย 18 ปี ซึ่งเป็นลูกชายคนโตของบ้าน ลั่นไกสังหารบุพการีของตัวเอง พร้อมน้องชายอย่างโหดเหี้ยม โดยให้เหตุผลว่า พ่อแม่ไม่ยอมซื้อรถยนต์ให้ตามที่สัญญา หลังจากสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ถ้าพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว เหตุผลนี้คงไม่เพียงพอที่ใครสักคน จะฆ่าพ่อแม่ตัวเองได้ เมื่อสาเหตุที่แท้จริงคือปมด้อยที่ “นายวัฒน์” รู้สึกมาตลอดว่า พ่อแม่ลำเอียง น้องชายได้รับการเอาใจใส่ และความอบอุ่น ส่วนตัวเองคือลูกชังที่ถูกดุด่าอยู่เป็นประจำ

“นายวัฒน์” คงคิดว่าการพยายามทำให้ดีที่สุด ด้วยการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่พ่อแม่มุ่งหวัง จะทำให้พ่อแม่รักตัวเองมากขึ้น เหมือนที่เอ็นดูน้องชาย แต่กลับกลายเป็นความสำเร็จที่ไร้ความหมายในสายตาพ่อแม่ เมื่อถูกปฏิเสธไม่ซื้อรถยนต์ให้ตามสัญญา จึงเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ตัดสินใจทำผิดอย่างมหันต์ที่สุด สำหรับลูกมนุษย์คนหนึ่ง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “เมื่อหนูไม่ใช่ลูกคนโปรดของพ่อแม่” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up