รักลูกไม่เท่ากัน เมื่อหนูคิดว่า ไม่ใช่ "คนโปรด" ของพ่อแม่ - amarinbabyandkids
รักลูกไม่เท่ากัน

ทำอย่างไร? เมื่อลูกคิดว่าพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน

Alternative Textaccount_circle
event
รักลูกไม่เท่ากัน
รักลูกไม่เท่ากัน

ตัวอย่างที่ 3

“นายเต้ย” วัย 22 ปี ก่อเหตุจ้างวานให้ผู้อื่นสังหารบุพการีของตัวเอง พร้อมพี่ชายสายเลือดเดียวกัน เพราะมรดกที่ดิน 100 กว่าล้าน เพราะปมด้อยที่ฝังรากลึกมานาน เขาจึงกลายเป็นลูกทรพี ที่สั่งฆ่าพ่อแม่ และพี่ชายของตัวเอง เมื่อมีความรู้สึกว่าพ่อแม่ลำเอียงรักพี่ชายมากกว่า เพราะพี่ชายดีกว่า เก่งกว่า และกำลังจะเป็นนายตำรวจอนาคตไกล พ่อแม่จึงภูมิใจมากกว่าเมื่อเทียบกับตนเอง จนมาถึงเรื่องการแบ่งมรดกที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดเหตุน่าสลดนี้ขึ้น

เมื่อหนูไม่ใช่ลูกคนโปรดของพ่อแม่

หากย้อนไปในวัยเด็ก เชื่อว่าคุณพ่อ คุณแม่หลายคนคงเคยรู้สึกน้อยใจ ว่าทำไมตัวเองไม่ใช่ลูกคนโปรด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และมีผลวิจัยล่าสุดเปิดเผยว่า พ่อแม่ที่รักลูกไม่เท่ากัน อาจส่งผลให้ลูกมีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจในวัยเด็ก จนกลายเป็นอาการซึมเศร้า และส่งผลไปถึงตอนโตเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคนได้

พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์ ด้านพัฒนาการ และพฤติกรรม โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้พ่อแม่แสดงออกว่ารักลูกไม่เท่ากันนั้น มาจากรูปร่างหน้าตา บุคลิก และลักษณะนิสัยของลูก ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่บางคนเข้าใจ และระมัดระวังไม่แสดงออกให้ลูกเห็น แต่สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่แสดงออก ทำให้ลูกเข้าใจว่ารักลูกไม่เท่ากัน ส่งผลต่อสุขภาพใจ และการแสดงออกทางพฤติกรรมของลูก

พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน
ปัญหาครอบครัว รักลูกไม่เท่ากัน

เด็กที่รู้สึกว่า พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน จะมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสูง ทั้งพฤติกรรมต่อพี่น้อง และความสัมพันธ์ต่อพ่อแม่ เมื่อโตขึ้นอาจมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับคนอื่นด้วย เช่น ไม่ไว้วางใจ มองโลกในแง่ร้าย ถ้ามีพื้นฐานหรือประวัติซึมเศร้าอยู่แล้ว ก็อาจจะมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูง

นอกจากนี้ ลูกคนโปรด หรือลูกรักก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เพราะได้รับการตามใจ เอาใจในทุกเรื่อง อยากได้อะไรพ่อแม่ก็หามาให้ เด็กก็อาจจะมีแนวโน้มเอาแต่ใจตัวเองสูง เพราะเขารู้ว่าตัวเองเป็นลูกรัก

ไม่ใช่กับทุกครอบครัวที่มีกรณีแบบนี้ ครอบครัวที่มีลูกวัยเข้าโรงเรียน และลูกเล็กที่ยังเป็นทารก คุณพ่อ คุณแม่อาจละเลยพี่คนโต เพราะต้องหันมาเอาใจใส่ลูกคนเล็กที่ยังดูแลตัวเองไม่ได้ จนบางครั้งอาจลืมมองถึงลูกคนโต ว่าเขาจะมีพัฒนาการอย่างไรต่อไป ไม่ใช่ความรักที่มีพ่อแม่มีให้ไม่เท่ากัน แต่เป็นความห่วงใยที่มีให้ลูกไม่เท่ากันต่างหาก เพราะลูกคนโตอาจเอาตัวรอดได้มากกว่าลูกคนเล็กนั่นเอง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “ความรัก ความลำเอียง และความเป็นกลาง” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up