5 ไม่! พ่อแม่ดูลูกให้ดี ก่อน ลูกโดนลักพาตัว - Amarin Baby & Kids

5 ไม่! พ่อแม่ดูลูกให้ดี ก่อน ลูกโดนลักพาตัว

Alternative Textaccount_circle
event

5 ไม่! พ่อแม่ดูลูกให้ดี ก่อน ลูกโดนกลักพาตัว

ลูกโดนลักพาตัว หรือเด็กหายเป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นเรื่องใหญ่เกี่ยวกับเด็กที่สร้างความสะเทือนใจให้สังคม โดยเฉพาะกับพ่อแม่ หรือ ญาติ ๆ ของเด็กคนนั้น เด็ก ๆ มักหายตัวหรือถูกลักพาตัวจากที่ไหน โดยใคร พ่อแม่ควรระวังอย่างไร มาติดตามกันห้ามพลาดค่ะ

ลูกโดนลักพาตัว สถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด กลับอันตรายที่สุด

นายเอกลักษณ์ หลุ่มชุมแข หัวหน้าโครงการศูนย์ข้อมูลคนหายฯ มูลนิธิกระจกเงา ถอดบทเรียนกว่า 18 ปี คดีลักพาตัวเด็กในประเทศไทยว่า จากการหายตัวไปของเด็กหลายคน เมื่อตรวจสอบจะพบว่าสถานที่เกิดเหตุไม่ได้อยู่ไกล แต่กลับอยู่บริเวณแถว ๆ บ้านของตัวเอง เช่น สวนสาธารณะแถวบ้าน สนามเด็กเล่นในหมู่บ้าน โรงเรียน ห้างสรรพสินค้าใกล้บ้าน หรือแม้กระทั่งหน้าบ้านตัวเอง จึงอาจพูดได้ว่า  สถานที่ปลอดภัยที่สุด คือ สถานที่อันตรายที่สุด
ช่วงวัยอายุของเด็กที่มักถูกลักพาตัว พบว่ามีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ อย่าง ‘เด็กแรกเกิด (ทารก)’ ยังเป็นเหยื่อของคนใกล้ชิดอีกด้วย บุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจ ได้แก่ พี่เลี้ยงเด็ก เพื่อนบ้าน หรือหมอดู เพราะเป็นบุคคลที่พ่อแม่ไว้ใจมากที่สุด
ลูกโดนลักพาตัว
5 ไม่! พ่อแม่ดูลูกให้ดี ก่อน ลูกโดนลักพาตัว

10 บทเรียนลักพาตัวเด็ก

มูลนิธิกระจกเงาถอด 10 บทเรียนลักพาตัวเด็ก จากสถิติร้องเรียนเด็กหายปี 2546 – 2564 ได้ดังนี้
1. ผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ลักเด็กเพื่อกระทำทางเพศ
2. วัตถุประสงค์รองลงมา เพื่อนำไปเลี้ยงดูด้วยความเสน่หา
3. เด็กถูกลักพาตัว มีตั้งแต่อายุแรกเกิด – 12 ปี
4. กลุ่มเสี่ยงที่สุดคือเด็ก ช่วงอายุ 3-8 ปี ทั้งชาย และหญิง
5. ไม่พบการลักพาตัวในลักษณะกลุ่มแก๊งค์ขบวนการ
6. ไม่พบการลักพาตัวในลักษณะแก๊งค์รถตู้
7. ไม่พบการลักพาตัวในลักษณะลักพา เพื่อนำเด็กไปขายต่อ
8. ผู้ก่อเหตุมีได้ทั้งคนที่เด็กรู้จัก และคนแปลกหน้า
9. จุดที่เด็กถูกลักพาตัวมากที่สุด คือ บริเวณใกล้บ้านที่เด็กวิ่งเล่นลำพัง
10. หลายคดีตอนเกิดเหตุ ประเมินว่าเป็นการลักพาตัวเด็ก แต่พอข้อเท็จจริงปรากฏอาจเป็นเรื่องอื่น เช่น เด็กพลัดหลงด้วยตัวเอง, ปกปิดการเกิดความรุนแรงในครอบครัว หรือสร้างการสถานการณ์

5 ไม่! พ่อแม่ดูลูกให้ดี ก่อน ลูกโดนลักพาตัว

1 .ไม่พาลูกเล็กไปยังที่ ที่มีคนพลุกพล่านเกินไป โดยไม่จำเป็น 
แม้คุณพ่อคุณแม่ หรือบุคคลใกล้ชิดจะเป็นผู้พาไปยังสถานที่นั้น ๆ ก็ไม่ควรไว้วางใจ แต่เนื่องจากสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน มักชุลมุน วุ่นวาย ทำให้คนร้ายที่อาจจ้องมองลูกเราอยู่สามารถสร้างสถานการณ์ร้ายได้ง่าย ยิ่งหากว่าผู้ที่พาไปเผลอคลาดสายตาจากเด็กแม้แต่นิดเดียว ก็อาจเกิดเหตุการณ์ลักพาตัวโดยไม่คาดคิดได้
2. ไม่ปล่อยให้ลูกเล็กไปวิ่งเล่นตามลำพัง แม้จะใกล้บ้านก็ตาม
พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ของเด็ก ๆ ก็อาจคิดว่า ถ้าเด็ก ๆ จะ ออกไปวิ่งเล่นยังสถานที่ใกล้บ้าน ก็คงไม่เป็นไร เพราะมีคนรู้จักทั้งนั้นคอยดูลูกอยู่ มีแต่คนแถวบ้านที่คุ้นหน้าคุ้นตากัน แต่จากสถิติของมูลนิธิกระจกเงาที่พบว่า เด็กมักถูกลักพาตัวในที่ใกล้บ้าน และจากคนที่ไม่คาดคิด เพราะฉะนั้น ถ้าลูกจะไปเล่นแถวบ้าน ควรมีผู้ดูแลในสายตา หรือมีเพื่อนกลุ่มใหญ่ไปด้วยกัน เพื่อความปลอดภัยนะคะ
3. ไม่ให้ใครมารับลูกเล็กที่โรงเรียน เว้นแต่จะได้โทรศัพท์บอกครูทุกครั้งที่มีคนมารับแทน
แน่นอนว่า โรงเรียนเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ และญาติพี่น้อง ไว้ใจนำลูกของเราไปฝากไว้ คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่าน ก็ไปรับลูกที่โรงเรียนเอง แต่อีกหลาย ๆ ท่านอาจให้รถโรงเรียนไปรับ – ส่ง ทั้งนี้ หลายท่าน อาจให้คนอื่น ๆ มารับลูกแทน แต่จากสถิติของมูลนิธิกระจกเงาที่พบว่า คนใกล้ตัวมักเป็นคนที่ลักพาตัวเด็กไป ซึ่งเค้าอาจจะใช้ช่องที่เด็กรู้จักเค้า พาเด็กออกไปจากโรงเรียน แต่ไม่พากลับไปที่บ้าน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรโทรกำชับคุณครูทุกครั้ง ว่าใครจะมารับลูกแทนตัวเองค่ะ
4. ไม่ทิ้งลูกเล็กไว้กับญาติสูงอายุ ที่อาจดูแลเด็กเล็กวัยกำลังซนไม่ไหว 
เด็กวัยกำลังซนมักอยากรู้อยากเห็น เป็นวัยที่อยากออกไปเที่ยวเล่นโดยเฉพาะวิ่งเล่นบริเวณแถวบ้าน การฝากลูกไว้กับผู้สูงอายุที่บ้านแม้จะไว้ใจได้ว่าเป็นญาติที่ดูแลกันได้ แต่หากถึงเวลาที่เด็กออกไปวิ่งเล่น ผู้สูงอายุย่อมตามเด็กไม่ทัน เพราะเดินเหินไม่สะดวก เมื่อเด็กคลาดสายตาอะไรก็ย่อมเกิดขึ้นได้
5. ไม่ยอมให้ลูกรับของจากคนแปลกหน้า หมั่นสอนเด็กเล็กในเรื่องนี้
นอกจากคนใกล้ชิดที่ต้องระวังแล้ว แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ลูกระวังคนแปลกหน้า ห้ามรับของจากคนแปลกหน้าไม่ว่าจะเป็นอะไร โดยเฉพาะคนแปลกหน้าที่เอาของต่าง ๆ มาให้ลูก เช่น ขนม ของเล่น เงิน หรือสิ่งของต่าง ๆ เพื่อล่อลวงให้เด็ก เข้าใกล้ และจับเด็กไปในที่สุด
ลูกโดนลักพาตัว
5 ไม่! พ่อแม่ดูลูกให้ดี ก่อน ลูกถูกลักพาตัว

ขอบคุณภาพจาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อุทาหรณ์เด็กหาย ป้องกันลูกหนีออกจากบ้าน

6 แนวทางนำเสนอข้อมูลเด็ก ไม่ให้ ละเมิดสิทธิเด็ก

ระวังลูกหาย!! อย่าอายที่จะใช้ “เป้จูงลูก” เวลาออกนอกบ้าน

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up