การทดลองที่ 4: การเดินทางของน้ำ
อุปกรณ์: แก้วน้ำ 2 ใบ สีผสมอาหาร หรือน้ำหวาน และกระดาษทิชชู
วิธีทดลอง: ผสมสีกับน้ำในแก้วใบหนึ่ง นำไปวางคู่กับแก้วเปล่าอีกใบ จากนั้น ม้วนกระดาษทิชชูให้หนาๆและยาวพอที่จะจุ่มปลายทั้งสองข้างลงในแก้ว ที่เหลือแค่รอให้น้ำเดินทางครับ
หลังจากทิ้งไว้นานเกือบ 2 ชั่วโม (ผมใช้วิธีตั้ง Time lapse แล้วให้ลูกชายดูผ่านวีดีโอ Time lapse เอาครับ) ลูกเข้าใจได้เลยครับว่าน้ำจากแก้วหนึ่งไปยังแก้วอีกใบได้อย่างไร
การทดลองที่ 5: เป่าลูกโป่งด้วยปากขวด
อุปกรณ์: ลูกโป่ง, ขวดพลาสติก, น้ำส้มสายชู และเบกกิ้งโซดา
วิธีทดลอง: ใส่เบกกิ้งโซดาลงในลูกโป่งสัก 2-3 ช้อนชาครับ จากนั้นเทน้ำส้มสายชูลงในขวดพลาสติกประมาณเศษ 1-2 ส่วน แล้วเอาลูกโป่งมาครอบไว้บนปากขวดครับ ค่อยๆจับลูกโป่งตั้งขึ้นเพื่อให้เบกกิ้งโซดาลงไปผสมกับน้ำส้มสายชู ไม่นานลูกโป่งก็จะค่อยๆพองตัวใหญ่ขึ้นครับ
การทดลองนี้สอนให้ลูกรู้จักปฏิกิริยาทางเคมีแบบง่ายๆ ผ่านการ ทดลองวิทยาศาสตร์ ในบ้านที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นการทำปฏิกิริยากันระหว่างเบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชู ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่เบากว่าอากาศ เมื่อมีก๊าซปริมาณมากๆจึงดันให้ลูกโป่งพองตัวใหญ่ขึ้น ซึ่งแน่นอนลูกชายผมไม่เข้าใจครับ เค้าเข้าใจแค่ว่า ฟองๆในขวดพลาสติกน่ะมันทำให้ลูกโป้งใหญ่ขึ้น
จากกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ที่บ้าน ลูกชายผมดูสนุกและสนใจมากๆครับ ก็ดีใจที่ลูกชายให้ความสนใจ แต่ความยากของกิจกรรมไม่ใช่การทดลองครับ แต่เป็นการจะอธิบายวิทยาศาตร์แบบนี้ให้ลูกชายผมเข้าใจในวัยของเค้าได้ง่ายที่สุดครับ
สอนลูกให้สนุกกับวิทยาศาสตร์ดีอย่างไร
ภาพของนักวิทยาศาสตร์ในชุดกราวสีขาว ใส่แว่นหนาเตอะอาจทำให้การทดลองวิทยาศาสตร์กลายเป็นเรื่องวิชาการและดูไม่น่าสนุก แต่ความจริงแล้วการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จะช่วยพัฒนความคิด กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นรอบตัว ซึ่งเหมาะกับเด็กวัยอนุบาล เพื่อช่วยให้ลูกเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว แถมหลายเรื่องยังเป็นสิ่งมหัศจรรย์สุดว้าวจนต้องตะลึง มาดูกันดีกว่า การชวนลูก ทดลองวิทยาศาสตร์ ช่วยเสริมทักษะด้านใดบ้าง
- ทักษะการสังเกต เด็กๆจะใช้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างรวมกัน ไม่ว่าจะเป็น ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง สอนให้ลูกน้อยเป็นคนช่างสังเกตและตั้งคำถาม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนเมื่อโตขึ้น
- ทักษะแยกประเภท เด็กๆ จะได้ฝึกจัดกลุ่ม แยกประเภทสิ่งต่างๆรอบตัวว่ามีความเหมือน แตกต่างกัน หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เช่น ลักษณะ รูปทรง สีสัน แสง เสียง ขนาด เป็นต้น ต่อยอดไปเป็นทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
- ทักษะการวัด เด็กจะได้ลองชั่ง ตวง วัดสิ่งต่างๆ ซึ่งสร้างประสบการณ์ให้ลูกน้อยรู้ว่าของที่แตกต่างกันนั้น หนัก เบา ใหญ่ เล็กอย่างไร
- ทักษะการสื่อความหมาย เมื่อเด็กได้ทดลองวิทยาศาสตร์ด้วยตัวเองแล้ว พวกเขาจะต้องหัดถ่ายทอดผลการทดลองให้คนอื่นได้รับรู้ ช่วยความสามารถด้านการรับรู้ข้อมูล การแสดงอารมณ์ สีหน้า ความรู้สึกอย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้ลูกได้ทดลองทำอะไรด้วยตัวเองจนสำเร็จช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ กล้าแสดงออก และกล้าตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญยังเป็นช่วงเวลาที่คนในครอบครัวได้ทำกิจกรรมสนุกๆร่วมกันมากขึ้นด้วย
บทความน่าสนใจอื่นๆ
ลูกมีแววเป็นนักตรรกศาสตร์ : คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รึเปล่า
10 ข้อ เลี้ยงลูกให้ฉลาด วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้ว
คณิตศาสตร์ สอนลูกน้อยอย่างไรให้เรียนเก่ง?
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณพ่อเจ้าของกระทู้ในเว็บไซต์ pantip http://www.108kids.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่