หนังสือสำหรับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป
ในวัยนี้เด็กจะเริ่มสนใจหนังสือเกี่ยวกับวิชาที่เรียนในห้องเรียน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาอังกฤษ และอื่น ๆ นอกจากวิชาที่เรียนแล้ว ยังมีหมวด ความรู้ทั่วไป เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เรื่องรอบตัว หรือหมวดเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ เช่น ไดโนเสาร์ ระบบสุริยจักรวาล เทศกาลประเพณีไทย ก็ได้รับความสนใจในวัยนี้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตหรือสอบถามลูกว่าสนใจหนังสือในหมวดไหน
นอกจากนี้เด็กวัยนี้ยังสนใจอัตชีวประวัติคนดัง นิยายอิงประวัติศาสตร์ นิทานพื้นบ้าน และตำนานต่างๆ หนังสือเหล่านี้จะทำให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ได้อ่าน และเปิดโอกาสให้เด็กเจอกับโลกใบใหม่ที่ตัวเองไม่เคยรู้มาก่อน ส่วนเรื่องแต่งนั้น อาจเป็นนวนิยายเล่มบางๆ ที่ให้ข้อคิดกับเด็กในการรับมือกับความท้าทายของชีวิต จะเป็นการดีหากตัวละครในหนังสือ มีวัยใกล้เคียงกับเด็ก เพราะจะมีประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกัน ทำให้เด็กมีอารมณ์ร่วมกับหนังสือเล่มนั้นมากขึ้น
เคล็ดลับการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน
เด็กจะมีนิสัยรักการอ่านเมื่อรู้สึกมีความสุขในขณะที่อ่านหนังสือ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรบังคับ หรือฝืนใจลูก และสามารถทำตามเคล็ดลับดังนี้
- ทำให้การอ่านเป็นเรื่องสนุก ลองใช้เสียงสูง ต่ำ ทำท่าทางและเลียนแบบเสียงสัตว์ต่าง ๆ ไปตามเนื้อเรื่อง ทำให้เด็กรู้สึกสนุก ตื่นเต้น ไปกับเรื่องที่เล่า
- อ่านจนเป็นกิจวัตร อาจใช้เวลาช่วงก่อนเด็กเข้านอน อ่านนิทานให้เขาฟัง จนเป็นความเคยชินในการอ่านหนังสือ
- ใช้หนังสือสร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก สร้างกิจกรรมในครอบครัวด้วยการอ่านหนังสือ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ และความอบอุ่นในครอบครัว อาจกอดลูกขณะอ่านนิทานให้ฟัง จะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกถึงความรัก ความอบอุ่นยิ่งขึ้น
- เลือกหนังสือที่ลูกสนใจ สังเกตว่าลูกชอบหนังสือประเภทไหน แล้วเลือกหนังสือที่ลูกชอบมาอ่าน เพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น สัตว์ กีฬา หรือการ์ตูน ที่ลูกชอบ
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านด้วยกัน ชวนลูกคุยและถามถึงเรื่องราวที่อ่านในหนังสือ เพราะเด็กจะเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ได้ เมื่อได้ยินบ่อยๆ หากเป็นเด็กเล็กอาจชอบให้อ่านเรื่องเดิมๆ ทุกวัน อย่าปฏิเสธ เพราะเด็กอยากเรียนรู้ และสามารถจดจำเรื่องราว คำพูดของตัวละครได้ ช่วยฝึกสมองด้านความจำ
- รับมือกับความซุกซนของเด็ก เด็กเล็กบางคนอาจสนใจการเล่นมากกว่า ไม่ควรบังคับเด็ก อาจพยายามใหม่ในวันถัดไป โดยหาวิธีหลอกล่อ เช่น เล่านิทานสั้นๆ โดยไม่มีหนังสือ โดยใช้น้ำเสียงให้เด็กรู้สึกสนใจ เป็นต้น
- ชี้ชวนให้ดูคำศัพท์ต่าง ๆ ถึงแม้เด็กจะยังอ่านคำศัพท์ไม่ออก แต่สามารถชี้ให้เด็กดูบ่อย ๆ หรือใช้ชุดคำศัพท์ที่มีรูปภาพประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจเด็ก จะช่วยให้เด็กสามารถจดจำได้ในที่สุด
- อย่าสร้างเงื่อนไขในการอ่าน อย่าทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีในการอ่านหนังสือ เช่น การกำหนดบทลงโทษ หรือการให้รางวัลหากเด็กยอมฟังการอ่านให้จบ ควรรอให้เด็กผ่อนคลาย หรือไม่อยู่ในอารมณ์หงุดหงิด เช่น หลังกินอิ่ม หลังเปลี่ยนผ้าอ้อม ก่อนนอนหลับ เป็นต้น
เวลาที่คุณพ่อคุณแม่อ่านนิทานให้ลูกฟัง เป็นช่วงเวลาดี ๆ ที่เด็กชอบและจดจำในวัยเด็ก เด็กบางคนกลายเป็นคนรักการอ่าน ทีมกองบรรณาธิการ ABK จึงหวังว่าบทความ หนังสือเด็ก ที่นำมาฝากนี้ คงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เลือกหนังสือได้เหมาะสมกับลูกของตัวกันนะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://book.mthai.com, https://www.taiwisdom.org, https://multimedia.anamai.moph.go.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่