นิทานไทย นิทานพื้นบ้าน นิทานดี ๆ ได้ข้อคิดสอนใจ เข้าใจง่ายภายใต้วัฒนธรรมเดียวกัน สอนลูกตามค่านิยมแบบไทย ๆ กตัญญูรู้คุณ ตั้งมั่นในศีลในธรรม
นิทานไทย นิทานพื้นบ้าน สอนลูกง่ายเข้ากับวิถีไทย!!
วัฒนธรรมของแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง ค่านิยมของคนแต่ละพื้นที่ก็มีความละเอียดอ่อน มีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกัน เช่น คนไทยถือว่าหัวเป็นของสูง ในขณะที่ชาวตะวันตกไม่มีค่านิยมดังกล่าว หรือการพูดจาอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นธรรมเนียมปฎิบัติที่คนไทยยึดถือ และส่งต่อสอนลูกสอนหลานกันต่อ ๆ มา เป็นต้น
การเลือกนิทานให้ลูกก็เป็นส่วนสำคัญ เนื้อเรื่องที่ใช้ ข้อคิดที่ได้ หรือแม้แต่วิถีปฎิบัติของตัวละครในนิทานนั้น ก็มีส่วนในการปลูกฝังแนวคิด วิธีปฎิบัติให้แก่เด็กที่ได้รับสื่อนั้น ๆ นิทานไทย นิทานพื้นบ้าน จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีในการเลือกนิทานมา เล่าให้ลูกฟัง เพราะเนื้อหาที่เข้ากันได้กับวัฒนธรรมของไทย อีกทั้งค่านิยม วิถีชีวิตที่ทำให้เราเข้าใจได้ไม่ยากนัก
ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
- มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
- ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
- กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
- ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
- รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
- มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
- เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
- มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
- มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
- คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
รวม นิทานไทย นิทานคุณธรรม สอนค่านิยมแบบไทย ๆ
แก้วหน้าม้า
ขณะเดินทางกลับกรุงมิถิลา ระหว่างอยู่ในทะเลย เรือสำเภาของพระปิ่นทองถูกมรสุมพัดเข้าไปในถิ่นยักษ์ พระฤาษีบอกนางแก้วว่า พระปิ่นทองอยู่ในอันตราย นางแก้วฝากลูกไว้กับพระฤาษีแล้วแปลงร่างเป็นผู้ชายขึ้นเรือเหาะไปรบกับท้าวพาลราช เจ้าเมืองยักษ์ จนได้รับชัยชนะ
ปลาบู่ทอง
เศรษฐีทรก (ทาระกะ) มีภรรยา 2 คน คนแรกให้กำเนิดลูกสาว ชื่อ เอื้อย ส่วนภรรยาคนที่ 2 ให้กำเนิดลูกสาว 2 คน ชื่อ อ้ายและอี่ เอื้อยกับอ้าย แม้เป็นพี่น้องคนละแม่ แต่กลับมีใบหน้าละหม้ายคล้ายกันจนเหมือนเป็นคนเดียวกัน
วันหนึ่งนางขนิษฐา กับนายทรก ได้ออกเรือหาปลาด้วยกัน บังเอิญวันนั้นอากาศอบอ้าวหาปลาไม่ค่อยได้ จนกระทั่ง นายทรกหาได้ปลาบู่ตัวหนึ่ง แต่นางขนิษฐาแอบปล่อยปลาบู่ตัวนั้นไป เนื่องจากเห็นว่ามันกำลังท้อง นายทรกโกรธมาก คว้าไม้พายฟาดเมียตัวเองตกลงน้ำตาย
พอแม่ของเอื้อยตาย นางขนิษฐีก็ยิ่งกลั่นแกล้งเอื้อยต่าง ๆ นานา จนกระทั้งนางขนิษฐากลับชาติมาเกิดเป็น ปลาบู่ทอง เอื้อยรู้และดีใจมาก มาหาแม่ทุกวันที่ท่าน้ำหน้าบ้าน จนอ้าย กับอี่จับได้จึงแอบจับปลาบู่ทองมาให้แม่ฆ่าทำแกงกิน เหลือไว้แต่เพียงเกล็ดสีทอง
เอื้อยเสียใจ และได้นำเกล็ดปลาที่เหลือไปฝังดิน ไม่นานก็มีต้นมะเขือโตขึ้น ก็ถูกโค่นลงอีกด้วยฝีมือสามแม่ลูกเช่นเดิม ต่อมาในครั้งนี้แม่ของเอื้อยได้เติบโตใหม่กลายเป็นต้นโพธิ์ทองที่สวยงาม เลื่องลือไปจนท้าวพรหมทัตสนพระทัย และทรงนำเอื้อยกับต้นโพธิ์ทองเข้าวัง สร้างความไม่พอใจต่อขนิษฐีอย่างมาก จึงออกอุบายให้เอื้อยกลับบ้านมาแล้วจัดการเสีย จากนั้นให้อ้ายปลอมตัวเข้าวังเป็นมเหสีแทน
เอื้อยได้เกิดเป็นนกแขกเต้า และจากความช่วยเหลือของฤาษี ทำให้ได้กลับมาเป็นคนอีกครั้ง พร้อมกับลูก แต่แล้วความจริงก็ปรากฎ เพราะอ้ายไม่สามารถทำนิสัยที่ดี อ่อนหวาน เช่นเอื้อยได้ ท้าวพรหมทัตเมื่อสืบรู้ความจริงก็เดินทางไปรับเอื้อยกลับเข้าวัง และอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
ข้อคิดที่ได้ : คิดดี ทำดี ย่อมได้ดี
จันทโครพ
จันทโครพ เจ้าชายแห่งเมืองพาราณสีได้ไปฝึกวิชากับฤาษีจนสำเร็จ ฤาษีมอบผอบให้จันทโครพก่อนจะเดินทางกลับบ้าน พร้อมกำชับอย่างหนักแน่นว่าห้ามเปิดจนกว่าจะถึงบ้าน แต่ด้วยความสงสัยอยากรู้อยากเห็น จึงเปิดผอบออกดูระหว่างการเดินทาง นางโมราโผล่ออกมา สตรีที่สวยงดงาม แต่เป็นเหตุให้จันทโครพต้องพบกับโจรป่า และถูกฆ่าตาย นางโมราเมื่อเห็นจันทโครพตายแล้ว จึงหนีไปอยู่กับโจรป่า แต่พระอินทร์ได้เข้ามาชุบชีวิตจันทรโครพ และชี้ทางที่ไปเจอเนื้อคู่ นางมุจลินทร์ แต่ทั้งสองต้องพบกับยักษ์ที่เข้ามาแย่งชิงจันทรโครพ ต้องฝ่าฟันอุปสรรคจนท้ายที่สุดก็สามารถได้ครองคู่กัน
ข้อคิดที่ได้ : อย่าลบหลู่คำสอนของครูบาอาจารย์เพราะท่านอาบน้ำร้อนมาก่อนย่อมรู้ดีว่าอะไรควรและอะไรไม่ควร
อ่านต่อ>> นิทานไทย ได้แง่คิด ปลูกฝังวัฒนธรรมไทย คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่