ลูกฉี่รดที่นอน

ทำไงดี? ลูกฉี่รดที่นอน พร้อม 4 สาเหตุ 4 วิธีแก้ไขให้สำเร็จ

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกฉี่รดที่นอน
ลูกฉี่รดที่นอน

สถาบันสุขภาพเด็กเผย ลูกฉี่รดที่นอน ไม่ใช่เรื่องปกติ อาจส่งสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจของลูกได้ พ่อแม่จึงไม่ควรมองข้าม

ทำไงดี? ลูกฉี่รดที่นอน พร้อม 4 สาเหตุ 4 วิธีแก้ไขให้สำเร็จ

การปัสสาวะรดที่นอนเป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็ก ซึ่งจะถือว่าเป็นความผิดปกติต่อเมื่อเกิดขึ้นในเด็กที่ควรจะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้แล้วแต่เด็กยังควบคุมไม่ได้ คือเป็นในเด็กที่มีอายุอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป โดยการปัสสาวะรดที่นอนเกิดขึ้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เป็นเวลาติดต่อกัน 3 เดือน และไม่ได้เป็นผลมาจากการใช้ยา เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือเกิดจากโรคทางกาย เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น ส่วนมากจะมีอาการลดลงและหายเองเมื่อโตขึ้น อาจมีสาเหตุจากปัญหาการควบคุมกระเพาะปัสสาวะในเด็ก กระเพาะปัสสาวะที่มีขนาดเล็ก ปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ หรืออาจเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ได้ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ร่างกายต้องขับน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย ฉี่ราดในเด็กเป็นอาการที่รักษาและป้องกันได้

4 สาเหตุทำไมลูกปัสสาวะรดที่นอน?

ทำไม? ลูกฉี่รดที่นอน ทั้ง ๆ ที่ก่อนนอนคุณพ่อคุณแม่ก็พาเขาเข้าห้องน้ำ และสอนให้เรียกเวลาปวดปัสสาวะแล้ว  แต่ก็ยังมีกรณีที่ทำที่นอนเปียกเลอะเป็นประจำ  วันนี้ ทีมแม่ ABK มาเผย 4 เหตุผล ที่ทำให้ ลูกฉี่รดที่นอน

ลูกฉี่ราด
ลูกฉี่ราด
  1. ปกติเด็กจะฉี่รดที่นอนอยู่แล้ว

เด็ก ๆ ราว 5 ล้านคนในสหรัฐฯ ยังคงฉี่รดที่นอน ซึ่งร้อยละ 20 เป็นเด็กวัย 5 ขวบ   ร้อยละ 10 เป็นเด็กวัย 7 ขวบ  และร้อยละ 5 เป็นเด็กวัย 10 ขวบ (ข้อมูลจาก American Academy 0f Pediatrics)  แม้ว่าการฉี่รดที่นอนจะดูเป็นเรื่องน่าอายที่เด็กมักถูกปลูกฝังมา จึงทำให้เด็กไม่กล้าบอกคุณพ่อคุณแม่เวลาปวดขึ้นมา และเมื่อฉี่รดที่นอนแล้วก็ไม่กล้าบอกกลัวถูกตำหนิ  ซึ่งเกิดเป็นอาการเก็บกด เขินอายอย่างหนึ่ง  แต่หากเด็กที่เติบโตมาในความเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กที่จะมีเหตุฉี่รดที่นอนเกิดขึ้นบ้าง  เพียงแค่นำผ้าปูที่นอนไปตากซัก  เด็กก็จะไม่รู้สึกผิด  ไม่รู้สึกเครียด  ไม่รู้สึกกังวล  และเมื่อเขาเติบโตเข้าใจเหตุผลแล้วก็อธิบายว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้และให้ลูกช่วยเก็บทำความสะอาด  ถือเป็นการสอนเรื่องวินัยเชิงบวก

2. ฝันร้าย

ระหว่างวันเด็กอาจจะเล่นสนุกผ่านกิจกรรมนอกบ้าน หรือจากที่โรงเรียน ทำให้ลูกเก็บมาคิด และเหตุการณ์คับขันบางอย่างอาจทำให้เขากลัว กังวล และอาจบีบคั้น  จึงเกิดฉี่รดที่นอนอย่างไม่รู้ตัว

  1. ไม่กล้าลุกไปเข้าห้องน้ำ

เด็กส่วนใหญ่ที่ถูกปลูกฝังเรื่องความมืดจะมีความกลัวอยู่ลึก ๆ และจะไม่ค่อยอยากไปเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืน  บางบ้านของคนไทยอาจจะไม่ได้ออกแบบห้องน้ำให้อยู่ใกล้ห้องนอน

  1. ดื่มน้ำน้อยเกินไป

การเข้าใจผิดว่าไม่ให้ลูกดื่มน้ำก่อนนอนเลย เพื่อไม่ให้ฉี่รดที่นอนนั้น เป็นความเข้าใจที่ผิด  เพราะขณะนอนหลับร่างกายต้องใช้น้ำมาช่วยปรับสมดุลร่างกาย  และหากไม่ได้ดื่มน้ำก่อนนอนสักนิดหน่อยเมื่อร่างกายโหยหาน้ำก็จะทำให้เสียสมดุล กระตุ้นให้ปวดปัสสาวะเพื่อให้เจ้าตัวได้ตื่นไปเข้าห้องน้ำ และจะรู้สึกหิวน้ำ หาน้ำมาดื่ม

แม้ภาวะปัสสาวะรดที่นอนส่วนมากจะหายได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น ซึ่งเมื่อลูกและพ่อแม่ได้ร่วมกันแก้ไข โดยมองว่าปัญหาดังกล่าว เป็นเรื่องพัฒนาการในการควบคุมการขับถ่าย โดยจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษหรือตำหนิ แต่ควรแสดงความเข้าใจ และเป็นกำลังใจ รวมถึงการปรับพฤติกรรมโดยใช้แรงจูงใจทางบวก ทีมแม่ ABK จึงขอนำ 4 เคล็ดลับช่วยลูกไม่ให้ลูกฉี่รดที่นอน จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มาฝากค่ะ

4 เคล็ดลับช่วยลูกไม่ให้ ลูกฉี่รดที่นอน

ฉี่รดที่นอน
ฉี่รดที่นอน
  1. ทำความเข้าใจ

จากสาเหตุที่เราได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า ลูกฉี่รดที่นอน เป็นเรื่องปกติ และพัฒนาการการควบคุมการขับถ่ายจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อลูกมีอายุมากขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่รู้สึกแย่หรือกังวลมากจนเกินไป เพราะเมื่อเรารู้สึกไม่ดี จะทำให้ลูกรับรู้ได้ และรู้สึกได้ว่าการกระทำนี้เป็นการกระทำที่ผิดร้ายแรง ทำให้ลูกเกิดความกลัวและกังวลจนไม่กล้าบอกเมื่อปวดปัสสาวะกลางดึกได้

2. ไม่ลงโทษหรือตำหนิ

เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีความเข้าใจว่าการที่ลูกฉี่รดที่นอนเป็นเรื่องปกติแล้ว เมื่อลูกฉี่รดที่นอนจริง คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ความตำหนิ ต่อว่า หรือลงโทษ เพราะการกระทำเหล่านี้ จะทำให้ลูกฝังใจ เสียใจ จนเกิดภาวะเครียดได้ และภาวะเครียดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะฉี่รดที่นอนที่ผิดปกติได้ การสร้างวินัยเชิงบวก เป็นวิธีแก้ที่ดีกว่าการลงโทษ โดยคุณแม่อาจจะทำตารางเพื่อติดสติกเกอร์ดาวสะสมแต้ม ในวันที่ไม่ปัสสาวะรด เพื่อเป็นกำลังใจ และมีการมอบรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อสะสมได้ทุก 10 แต้ม เป็นต้น

3. ฝึกกระเพาะปัสสาวะ

การฝึกกระเพาะปัสสาวะ คือการให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ ในช่วงกลางวันและเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะให้เด็กฝึกกลั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ร่วมกับปรับอาหารและเครื่องดื่ม โดยปรับให้เด็กดื่มน้ำมากขึ้นในช่วงเช้าถึงบ่ายและลดการดื่มน้ำในช่วงเย็นโดยเฉพาะช่วง 2 ชม.ก่อนเข้านอนควรมีการจำกัดปริมาณน้ำ (ไม่ควรให้ลูกไม่ดื่มน้ำตอนกลางคืนเลย ให้คุณพ่อคุณแม่จำกัดปริมาณน้ำเท่านั้น)

4. ใช้เครื่องปลุกเตือนปัสสาวะรด

ติดตั้งสัญญาณเตือนบนที่นอน เมื่อตัวรับสัญญาณบนที่นอนเริ่มเปียกจะมีสัญญาณดังปลุกให้ลูกตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำต่อได้ เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในปัจจุบัน แต่ในประเทศไทยเครื่องมือดังกล่าวยังใช้ไม่แพร่หลาย อีกทั้งมีราคาค่อนข้างสูง

ลูกปัสสาวะราด
ลูกปัสสาวะราด

การฉี่รดที่นอนไม่ใช่เรื่องผิดปกติสำหรับเด็ก  เด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบส่วนใหญ่มักเคยฉี่รดที่นอนทั้งนั้น เมื่อคุณทราบถึงสาเหตุของการฉี่รดที่นอนแล้ว สามารถฝึกลูกให้เข้าห้องน้ำก่อนนอนเป็นกิจวัตร จิบน้ำก่อนนอนบ้าง และหากมีอาการบ่อยติดกันหลาย ๆ ครั้งต่อสัปดาห์ติด ๆ กัน จนส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว ทั้งในด้านจิตใจและความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง  อาจทำให้เกิดโรคที่มาจากอาการปัสสาวะรดได้ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติของโครงสร้างของระบบการขับถ่ายปัสสาวะ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน เบาจืด เป็นต้น

อาการฉี่ราดแบบไหน ที่ควรพาลูกไปพบแพทย์

  1. มีอาการอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะบ่อยหรือไม่ค่อยปัสสาวะ มีอาการปวดหรือรู้สึกเครียดในขณะปัสสาวะ อุจจาระราด รู้สึกกระหายน้ำตลอดเวลา มีไข้สูง 38 องศาเซลเซียส ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น เกิดขึ้นร่วมกับอาการฉี่ราด
  2. อาการฉี่ราดที่ทำให้เกิดปัญหาต่อทั้งครอบครัวและตัวเด็ก ทั้งในด้านจิตใจและความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง
  3. เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และยังคงมีอาการฉี่ราดเป็นประจำ
  4. มีอาการฉี่ราดเกิดขึ้นหลังจากที่ไม่ได้พบอาการมาระยะเวลาหนึ่ง

สำหรับครอบครัวที่ลูกมีอาการฉี่ราดดังกล่าว ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ให้ช่วยแก้ปัญหาต่อไปค่ะ

 อ่านต่อ บทความน่าสนใจ คลิก

ฝึกลูกนอน (เร็วและเป็นเวลา) จำเป็นไหม? พร้อมวิธีฝึกลูกให้หลับเร็ว

5 เคล็ดลับสร้างนิสัย “การนอนของทารก” ให้มีประสิทธิภาพ

วิธีเลิกผ้าอ้อม ฝึกลูกใน 5 ขั้นตอน ได้ผลจริง! โดย พ่อเอก

จัดฟันเด็ก พาลูกไป จัดฟัน อายุเท่าไหร่ ดีที่สุด?

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, พบแพทย์

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up