4. แจ้งความ คือ การจัดการทางกฎหมายที่ดีที่สุด ไม่ควรปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนวล เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และให้เจ้าหน้าที่ตรวจตราสอดส่องพื้นที่บริเวณนั้น ๆ มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นตกเป็นเหยื่ออีก
- หากไม่ทราบว่าจะช่วยเหลือลูกได้อย่างไรจึงจะดีที่สุดควรปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านนี้โดยตรง เพื่อให้ช่วยเยียวยา บำบัดสภาพจิตใจให้ลูกได้ทันท่วงที โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
- สภาทนายความ : เว็บไซต์thaiitlaw.com เบอร์โทร 0-2629-1430
- มูลนิธิเพื่อนหญิง: เว็บไซต์ or.th โทร 0-2513-1001
- ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก : เว็บไซต์ มูลนิธิเด็กorg/th เบอร์โทร 0-2412-1196
- มูลนิธิปวีณาฯ: เว็บไซต์ or.th เบอร์โทร 0-2577-0500-1 , 0-2577-0496-8
- มูลนิธิผู้หญิง: เว็บไซต์ org/ เบอร์โทร 0-2433-5149 , 0-2434-6774
- สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี (บ้านพักฉุกเฉิน): เว็บไซต์ apsw-thailand.org/socialworker_TH.htm เบอร์โทร 0-2929-2301-5
- มูลนิธิมิตรมวลเด็ก เบอร์โทร 0-2245-9904, 0-2245-8072
- ศูนย์ประชาบดี เบอร์โทร 1300
นอกจากนี้ อีกคำถามที่คุณพ่อคุณแม่อดกังวลใจไม่ได้ ก็คือ หากลูกของเราที่ถูกละเมิดทางเพศยังเด็กอยู่มาก เขาจะจำความได้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง แล้วจะเกิดผลกระทบอะไรต่อลูกในอนาคตบ้างหรือไม่?
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้มีข้อมูลที่น่าสนใจในหนังสือคู่มือ อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็กทางเพศ โดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมูลนิธิมิตรมวลเด็ก และศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิเด็ก 2537 จัดทำขึ้น โดยอธิบายว่า เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศจะได้รับผลกระทบมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับบุคลิกของเด็ก และประเภทของการถูกกระทำ โดยแบ่งเป็น
- กรณีที่ไม่รุนแรงเช่น การให้เด็กดูอวัยวะเพศ ใช้คำพูดลามกเล้าโลม กรณีนี้ อาจทำให้เด็กมีปัญหาด้านอารมณ์ และจิตใจชั่วครั้งชั่วคราว ได้แก่
- อาย กลัว สับสนตกใจง่าย
- รู้สึกผิด กระวนกระวาย
- กลัวถูกรังเกียจ
- ระแวงผู้ใหญ่และคนแปลกหน้า
- สนใจเรื่องเพศผิดปกติ หรือชอบจับคลำอวัยวะเพศของผู้อื่น
- กรณีรุนแรงคือผู้ล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กเป็นพ่อ แม่ ญาติใกล้ชิด หรือเด็กถูกกระทำโดยวิธีรุนแรง อาจมีผลต่อเด็กด้านต่าง ๆ คือ
2.1 ด้านร่างกาย ทำให้ร่างกายของเด็กมีบาดแผล ฟกช้ำ เนื่องจากการถูกทำร้าย หรือมีปัญหาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์
2.2 ด้านอารมณ์ ทำให้เด็กฝันร้าย ซึมเศร้า กังวล กรีดร้อง หรือพยายามทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย และหวาดกลัวผู้ล่วงเกินทางเพศ หรือผู้ที่มีลักษณะคล้ายผู้ล่วงเกิน หรือบางกรณีก็อาจคลอเคลียกับบุคคลดังกล่าวนี้มากผิดปกติ
2.3 ด้านพฤติกรรม เด็กอาจมีอาการซึมเศร้า ผลการเรียนแย่ลง ก้าวร้าว หนีออกจากบ้าน ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่าย หรือหวนกลับไปสู่พฤติกรรมต่ำกว่าวัยของตนอย่างกะทันหัน อาจหันไปพึ่งเสพยาเสพติด สำเร็จความใคร่ด้วยตนเองบ่อยผิดปกติ ยั่วยวนหรือสำส่อนทางเพศ
อย่างไรก็ตาม อาการต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากผลกระทบที่เด็กได้รับเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์ล่วงละเมิดไปแล้วหลายปี ทำให้บางครั้งนานจนดูเหมือนว่า เหตุการณ์นั้นไม่น่าจะมีผลอะไรต่อเด็ก แต่จริง ๆ แล้ว เรื่องราวต่าง ๆ ยังฝังอยู่ในใจของเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองต้องหมั่นเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลูกอยู่เสมอ เพราะลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้อาจเกิดขึ้น เมื่อลูกย่างเข้าสู่วัยรุ่น หรือเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว หากลูกของคุณเกิดโชคร้ายเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นเอาใจใส่ ปลอบใจ และดูแลสภาพจิตใจของลูกให้ดีที่ดีสุด และที่สำคัญควรจะแจ้งความ เอาผิดผู้กระทำผิดทางกฎหมาย เพื่อไม่ให้เด็กคนแล้วคนเล่าต้องตกเป็นเหยื่อของใครอีก
สำหรับหัวอกของคนเป็นพ่อแม่ ไม่มีใครอยากให้ลูกตกอยู่ทั้งในฐานะของผู้กระทำผิดทางเพศและผู้ถูกกระทำ(เหยื่อ) ดังนั้นการดูแลลูกโดยให้ความรัก ความใกล้ชิด การดูแลเอาใจใส่ รวมถึงการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูก และการปิดกั้นหนทางที่ลูกจะทำผิดหรือตกเป็นเหยื่อตามคำแนะนำจากบทความทั้งหมดนี้ จะสามารถช่วยให้ลูกของเราพ้นจากปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศได้อย่างแน่นอน อย่าละเลยหรือไม่ใส่ใจด้วยเห็นว่าไม่สำคัญเพราะถ้าเกิดเหตุขึ้นแล้วเราจะไม่สามารถเรียกมันกลับคืนมาได้เลย
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- อย่าละสายตาจากลูกน้อยแม้แต่วินาทีเดียว
- เผยพื้นที่เสี่ยงภัย 217 จุดในกทม. พ่อแม่รีบเช็คด่วน! บริเวณไม่ปลอดภัยกับลูกและตัวเอง
- สอนลูกให้ปลอดภัยจากคนแปลกหน้า
- ระวังภัยจากการล่อลวงเด็ก และแก๊งลักเด็ก
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th , baby.kapook.com