ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ a กับ b ต่างกันอย่างไร ? - Amarin Baby & Kids
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a กับ b

ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ a กับ b ต่างกันอย่างไร ?

Alternative Textaccount_circle
event
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a กับ b
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a กับ b

ไขข้อสงสัยของคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คน ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ a กับ b ต่างกันอย่างไร ? ทำไมถึงเรียกชื่อ”ไข้หวัดใหญ่” ไปเลยเฉย ๆ ไม่ได้  วันนี้เรามีคำอธิบายมาฝากค่ะ

 

 

ช่วงหน้าฝนแบบนี้ โรคที่ผู้ปกครองทุกคนรู้สึกหวาดกลัวที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น “โรคไข้หวัดใหญ่” เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคยอดฮิตติดดาวที่มีผู้ป่วยเด็กครองอันดับสถิติการป่วยกันมากที่สุดแทบจะทุกโรงพยาบาล  แต่คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยกันหรือไม่คะว่า เจ้าไข้หวัดใหญ่ที่ว่านี้ มีทั้งหมดกี่สายพันธุ์กันแน่  และในแต่ละสายพันธ์ุ์นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วทำไมเราถึงเรียกว่าไข้หวัดใหญ่เฉย ๆ ไม่ได้

ไข้หวัดใหญ่คืออะไร มีกี่สายพันธุ์ ?

ไข้หวัดใหญ่ เป็นอาการหนึ่งที่ร่างกายได้รับการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Influenza ที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน  ไข้หวัดใหญ่สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายสายพันธุ์ด้วยกันได้แก่

  1. สายพันธุ์ A
  2. สายพันธุ์ B
  3. สายพันธุ์ C

แต่สำหรับในสายพันธ์ C นั้น ถือว่ามีความรุนแรงน้อย อีกทั้งไม่ได้ทำให้เกิดการระบาดของโรคแต่อย่างใด จึงไม่นับรวมอยู่ในกลุ่มของไข้หวัดใหญ่ค่ะ ผิดกับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a กับ b ที่สามารถแยกย่อยออกได้ดังนี้

  • ไวรัส ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A (H1N1)
  • ไวรัส ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A (H3N2)
  • ไวรัส ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ B ตระกูล Victoria
  • ไวรัส ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata

ซึ่งสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดจนเป็นเหตุให้มีการเสียชีวิตนั้นก็คือ ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A ชนิด H1N1 นั่นเองค่ะ

ใครคือกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่?

  • เด็ก ที่อายุน้อยกว่า 2 ปี จนถึง 5 ปี
  • ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่อยู่ในระยะ 2 สัปดาห์หลังคลอด
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง

ทำความรู้จักกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่าง ๆ เพิ่มเติมคลิก!


เครดิต: Sanook และ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up