ลูกไม่ยอมไปโรงเรียน …เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นเมื่อเริ่มภาคการศึกษาใหม่ เนื่องจากเด็กๆ ต้องเปลี่ยนการดำเนินชีวิต จากที่เคยนอนดึก ตื่นสาย ไปเที่ยวกับครอบครัว ไปว่ายน้ำ หรือทำกิจกรรมต่างๆ กับพ่อแม่ และเพื่อนๆ กลายเป็นต้องไปโรงเรียนแต่เช้า เพื่อไปเรียนหนังสือ และมีการบ้านมากมายกลับมาทำที่บ้าน
สำหรับเด็กส่วนใหญ่ จะรู้สึกลำบาก หรือรู้สึกยุ่งยากเพียงช่วงเวลาสั้นๆ และพวกเขาจะกลับไปสู่กิจวัตรประจำวันที่ต้องไปโรงเรียนได้อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับเด็กบางคน ความกลัว และความกังวลที่ต้องกลับไปเรียนนั้นอาจเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำไปสู่การไม่อยากไปโรงเรียนได้ในที่สุด เด็กบางคนอาจถึงกับพูดว่า “เกลียดโรงเรียน” หรือ “วันนี้ไม่อยากไปโรงเรียน” เด็กที่ไม่อยากไปโรงเรียนอาจร้องไห้คร่ำครวญ ส่งเสียงกรีดร้อง หรืออ้อนวอนพ่อแม่เป็นชั่วโมงเพื่อที่จะขออยู่บ้านแทนการไปโรงเรียน เด็กอาจบ่นว่าไม่สบาย หรือหนีออกจากโรงเรียนเพื่อกลับมาที่บ้าน หากเด็กถูกบังคับให้ไปโรงเรียน หรือเด็กอาจขาดเรียนเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน
Must read : เทคนิคการปลุกลูกให้ตื่นนอนแต่เช้าอย่างมีความสุข
สาเหตุที่ ลูกไม่ยอมไปโรงเรียน
ปัญหาของการที่ลูกไม่ยอมไปโรงเรียนอาจเกิดขึ้นจากหลายๆ สาเหตุ แต่ปัจจัยโดยทั่วไปอาจมีสาเหตุมาจาก การเริ่มต้นของภาคเรียนใหม่ การย้ายไปเรียนโรงเรียนแห่งใหม่ หรือการที่โรงเรียนปิดเทอมเป็นเวลานาน แล้วมีการเริ่มภาคการศึกษาใหม่ ความเจ็บป่วย หรือ การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ก็อาจเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เด็กปฏิเสธการไปโรงเรียน
ครูเคทเพจ Kate Inspirer อธิบายว่า การที่ลูกไม่ยอมไปโรงเรียนอาจเกิดขึ้นจากหลายๆ สาเหตุ เช่น อาจเกี่ยวข้องกับโรงเรียน หรือที่บ้าน หรืออาจเกิดจากปัจจัยของตัวเด็กเองก็ได้
สาเหตุที่เกิดจากโรงเรียน เช่น โดนครูดุ หรือขู่ โดนเพื่อนว่า โดนเพื่อนแกล้งหรือหัวเราะเยาะ หรืออาจกลัวสถานที่ เช่น เพื่อนบอกว่าตรงนั้นตรงนี้มีผี มีแมงมุม ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่ต้องค่อยๆ หลอกถามเวลาอารมณ์ดี ให้เขาเล่าให้ฟัง
สาเหตุที่เกิดจากครอบครัว เช่น พ่อแม่ทะเลาะกัน หรือมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นที่บ้าน ทำให้ลูกเกิดความวิตกกังวล เช่น กลัวพ่อแม่เลิกกัน กลัวพ่อแม่ทะเลาะกัน กลัวพ่อแม่หายไป ฯลฯ หรือในกรณีที่พ่อแม่เลี้ยงลูกแบบใกล้ชิดเกินไป ลูกอาจไม่อยากห่างพ่อแม่ จึงไม่อยากไปโรงเรียนก็ได้
เด็กบางคนเติบโตมากับโลกเสมือนจริงในมือถือ จึงขาดทักษะทางสังคม ไม่รู้จะเล่นกับเพื่อนอย่างไร ไม่รู้จะคุยกับใครอย่างไร ทำให้ไม่อยากเล่นกับคนที่ไม่คุ้นเคย ยิ่งบ้านที่พ่อแม่สื่อสารทางเดียวคือสั่งกับสอน แต่ไม่เคยตั้งใจฟังลูกจริงๆ ยิ่งทำให้เด็กกลัวการพูดคุยกับคนมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตอาการและพฤติกรรมในด้านอื่นๆ ด้วยเช่น การรอคอย พฤติกรรมเมื่ออยู่กับเพื่อนหรือคนอื่นๆ ที่ไม่คุ้นเคย ภาษาและบทสนทนากับผู้อื่น เด็กบางคนเริ่มต้นบทสนทนาไม่เป็น เพราะส่วนใหญ่มีแต่ถูกถาม
เด็กบางคนยังช่วยเหลือตัวเองไม่เก่งทำให้กังวลใจเวลาเข้าห้องน้ำหรือทำอะไรไม่ทันเพื่อน ขาดความเชื่อมั่นในการทำอะไรโดยที่ไม่มีพ่อแม่อยู่ด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมความพร้อมของลูกด้านทักษะการดูแลตัวเองและทักษะทางสังคมก่อนที่จะเข้าโรงเรียน
ที่มา : ไทยรัฐ
Must read : 13 เกม สำหรับเด็ก 3 ขวบ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการเจ้าตัวเล็กก่อนเข้าเรียน
Must read : 5 สัญญาณเตือน “ลูกอาจมีปัญหาที่โรงเรียน”
Must read : วิธีตะล่อมถามลูก เวลาเขาอยู่โรงเรียน
10 วิธีรับมือ เมื่อ ” ลูกไม่ยอมไปโรงเรียน “
ตามการรายงานพิเศษเกี่ยวกับสุขภาพชิ้นล่าสุดที่มีชื่อว่า การจัดการกับความกังวล และความกลัว ของวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่า การปฏิเสธการไปโรงเรียนมักจะเกิดจากความกังวล โดยสาเหตุที่ซ่อนอยู่ภายในอาจมาจากโรคกลัวสังคม (social phobia) คือ ความกลัวที่เกิดจากสภาพทางสังคม หรือการแสดงออกต่อหน้าสาธารณชน หรือโรควิตกกังวลไปทั่ว กล่าวคือ การกลัวเกินเหตุ และกังวลไปกับหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่าง หรือโรควิตกกังวลเกี่ยวกับการแยกจาก เช่น กลัวการแยกจากพ่อแม่ผู้ปกครอง บางครั้งต้นตอของปัญหาก็เกิดจากความกลัวที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เช่น กลัวถูกเรียกในชั้นเรียน กลัวครู กลัวการโดนแกล้ง เป็นต้น และนี่คือคัมภีร์แนะนำวิธีรับมือที่คุณแม่ควรรู้ โดย นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กับ เทคนิคให้ลูกอยากและยอมไปโรงเรียนแต่โดยดี ดังนี้
1. ไม่หนีลูก เพราะไม่เช่นนั้นเขาจะรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง
2. เมื่อพ่อแม่ต้องไปจริงๆ ก็ขอให้กอดและหอมแก้มพร้อมบอกกับลูกว่าจะกลับมารับให้ตรงเวลา
3. พูดให้ลูกสบายใจ เช่น “รักลูกนะ สัญญาจะมารับตอนบ่าย”
4. การโต้ตอบรุนแรงมักไม่ได้ประโยชน์ เพราะอาการแบบนี้เป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กในวัยเปลี่ยนผ่าน จากชั้นอนุบาล เข้าสู่ชั้น ป.1 ลูกของคุณไม่รู้ว่าควรจะวางตัวอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้เวลาค่อนข้างมากอยู่ในโรงเรียน ยังไม่รวมการต้องอยู่ห่างจากแม่ และต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อีกมากมาย โลกของวัยประถม ยากกว่าที่คุณคิด
Must read : 8 วิธีป้องกันลูกจาก “โรคกลัวสังคม (ฮิคิโคโมริ ซินโดรม)”
อ่านต่อ >> “เทคนิคทำให้ลูกอยากและยอมไปโรงเรียนแต่โดยดี” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่