5. สร้างความสนุกของการไปโรงเรียนลองบันทึกภาพถ่ายของลูกที่โรงเรียน ทั้งตอนเล่นเครื่องเล่นที่สนาม อยู่กับคุณครูที่รัก การใช้ภาพเข้าช่วย จะทำให้ลูกรู้สึกสนุก และมองเห็นภาพรวมได้มากกว่าแค่คำพูดอธิบาย
6. “กอด” สร้างความมั่นใจทุกเช้าก่อนเดินทางไปโรงเรียนหรือก่อนแยกกันเมื่อส่งลูกถึงโรงเรียนแล้ว แนะนำให้คุณกอดลูกแน่นๆ แบบกระชับ (ไม่ใช่กอดแน่นจนเจ็บ) การกอดช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ลูกได้ไม่น้อย
Must read : แค่ “กอด” สุขภาพใจ+กาย ก็แข็งแรง
7. ลดความเครียดการต้องรีบเร่งตอนเช้าๆ จัดกระเป๋าหรือหาเสื้อผ้า อุปกรณ์ต่างๆ ก่อนออกจากบ้านไปโรงเรียน (ให้ทัน) อาจจะทำให้ลูกเครียด ไม่สบายใจ ดังนั้นการ เตรียมตัวก่อนนอน จะช่วยได้ไม่น้อย เช่น เตรียมเสื้อผ้า รองเท้า ถุงเท้า ตลอดจนกิ๊บที่จะติด หรือโบว์ผูกผมไว้ก่อน รุ่งขึ้น เด็กๆ ก็ไม่ต้องร้อนรนจนเกินไป
Must read : ชีวิตลูกต้อง (ฝึกให้) ลูกรับผิดชอบเองได้
8. หากพบว่าบางครั้งลูกร้องไห้กอดแขนขาเราแบบไม่อยากให้เราไปไหน ต้องกลับมาดูว่า เป็นเพราะปัญหาที่บ้าน หรือเพราะปัญหาที่โรงเรียน ซึ่งต้องปรึกษาหารือกับครู
9. หาของดูต่างหน้าเลือกของที่ลูกเห็นแล้วรู้สึกสบายใจขึ้น การต้องอยู่โรงเรียนคนเดียว ลูกอาจจะมีช่วงเวลาเหงาบ้าง อาจจะเป็นภาพครอบครัว ใส่ไว้ในล็อกเก็ตสวยๆ ให้ลูกห้อยคอไว้ดูแก้เหงา
10. ถ้าลูกร้องติดต่อยาวนานกว่า 2 อาทิตย์ ต้องหาสาเหตุโดยด่วน ทั้งครู และที่บ้าน ถ้าพยายามแล้วแต่ไม่ได้ผล ให้พาไปพบแพทย์
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า แต่ละช่วงวัยปัญหาการไม่อยากไปโรงเรียนจะมีความแตกต่างกัน เด็กเล็กจะเป็นเรื่องของการพลัดพราก ส่วนกลุ่มเด็กโตที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา ไม่ได้เกิดจากการต้องห่างไกลจากพ่อแม่ผู้ปกครอง แต่อาจเกิดจากความบกพร่องทางการเรียนรู้ เรียนไม่รู้เรื่อง มีปัญหาการอ่าน การเขียน การคำนวณ สมาธิสั้น ฯลฯ ซึ่งทำให้ท้อแท้หมดกำลังใจจะเรียนหนังสือต่อ
อย่างไรก็ตาม หากค้นพบว่าปัญหาการเรียนของลูกคือสิ่งใดและสามารถให้การช่วยเหลือแก้ไขแต่เนิ่นๆ สิ่งเหล่านั้นก็จะดีขึ้นทำให้เด็กสามารถปรับตัวดีขึ้น มีความสุขกับการไปโรงเรียน
ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรมีความเข้าใจ โดยเฉพาะการพัฒนาการตามวัย ซึ่งธรรมชาติของเด็กแต่ละช่วงวัยมีอารมณ์และความต้องการที่แตกต่างกัน อย่างเด็กเล็กๆ จะซึมซับบทบาทของพ่อแม่ เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น แต่ผู้ปกครองมักมีความกังวลถึงการร้องไห้งอแง ไม่อยากไปโรงเรียนซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ ที่เด็กวัยนี้มีความกังวลกับการที่ต้องห่างจากพ่อแม่ แต่เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งก็จะเรียนรู้ปรับตัวปรับใจ
ส่วนการเรียนรู้ของกลุ่มวัยรุ่น จุดหลักเป็นการค้นหาเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของตนเองว่าอยากจะเป็นอะไร ชอบอะไรซึ่งเกราะที่จะช่วยป้องกันสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพวกเขา คือ ต้องช่วยให้เขาค้นพบความสามารถ ความชอบของตนเองเพื่อให้เขาเกิดแรงจูงใจอยากจะทำสิ่งนั้นให้ดี
โดยพ่อแม่อาจจะเป็นพี่เลี้ยงอยู่ข้างๆ เป็นผู้ช่วยดูแลแนะนำการเรียนให้ค้นเจอความชอบของตนเอง เป็นการต่อยอดเตรียมตัวสู่ระดับมหาวิทยาลัย อีกทั้งช่วยลดความเครียดจากการสอบ ระบายความรู้สึกที่กดดันไม่ทำให้รู้สึกว่าอยู่คนเดียว ซึ่งเมื่อไหร่ที่เขามีความทุกข์ก็จะรู้สึกว่าไม่ได้ทุกข์อยู่คนเดียว หรือสามารถขอรับบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต ได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
อ่านต่อบทความอื่น่าสนใจ คลิก!
- 30 คำถามหลังเลิกเรียน ไขปริศนาปัญหาที่โรงเรียนลูก
- ควรรู้! 20 เรื่องสำคัญ ที่พ่อแม่ต้องบอกครู และคุณครูอยากบอกกับพ่อแม่
- เรื่องดีให้ข้อคิดสะกิดใจ ลูกสาวเอาลูกอมยัดหมอนทุกๆคืน สุดท้ายแม่มาเจอและเพิ่งรู้สาเหตุที่แท้จริง…
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thaihealth.or.th