ผลวิทยาศาสตร์ยืนยัน ลูกนอนหลับ มากน้อยมีผลกับสมอง - Page 2 of 3 - Amarin Baby & Kids
ลูกนอนหลับ

ผลวิทยาศาสตร์ยืนยัน ลูกนอนหลับ มากน้อยมีผลกับสมอง

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกนอนหลับ
ลูกนอนหลับ
ลูกนอนหลับ
เครดิต: Baby Center

 

เพราะอะไร ลูกนอนหลับ หรือไม่ถึงสำคัญ?

“การนอน” มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของเด็ก พบว่าฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะหลั่งมากในเวลากลางคืน หลังจากที่หลับไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ถ้านอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้การหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านความสูง
หากลูกนอนหลับได้ยาว ก็จะช่วยร่างกายในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ดังที่คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ด้วยตัวเองว่า ถ้าช่วงใดที่ไม่ไม่สบาย ร่างกายจะส่งสัญญาณให้เรามีความต้องการนอนมากกว่าปกติด้วยนั่นเอง นอกจากนี้การสร้างสุขนิสัยในการนอนที่ดีก็จะช่วยเรื่องต่าง ๆ ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น
  • การปลูกฝังให้ลูกเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา
  • เด็กบางคนที่นอนไม่พอในเวลากลางคืนติดต่อกัน จะเกิดภาวะอดนอนเรื้อรัง จริงอยู่ที่เด็กอาจจะไม่แสดงออกทางด้านร่างกาย แต่จะไปแสดงออกทางด้านพฤติกรรมแทน เช่น ซน ไม่อยู่นิ่ง ก้าวร้าว ขี้หงุดหงิด เป็นต้น

ตอนท้องแม่นอนดึก ลูกที่เกิดมาจะนอนดึกตามจริงหรือไม่?

สำหรับเรื่องนี้ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยศาสตร์สนับสนุนว่า เกี่ยวหรือไม่อย่างไร เพราะการนอนหลับของแม่นั้นถูกควบคุมจากสารเคมีในร่างกายร่วมกับปัจจัยภายนอก ยกตัวอย่างเช่น แสงสว่างหรือกิจกรรมที่ทำอยู่ในขณะนั้นมากกว่า
จริงอยู่ที่แม่ท้องจะสามารถสื่อสารกับทารกในครรภ์ได้ ไม่ว่าแม่จะทำอะไร ลูกก็สามารถรับรู้ได้หมด แต่ในทางวิทยศาสตร์นั้นคิดว่า การที่ลูกไม่ยอมนอนหลับนั้น น่าจะเกิดจากสิ่งแวดล้อมมากว่าพันธุกรรม เพราะด้วยธรรมชาติของครรภ์คุณแม่ั้น อบอุ่น เงียบสงบ อุณหภูมิคงที่ ทำให้ทารกในครรภ์นั้นหลับสบาย แต่พอคลอดออกมาแล้วนอนไม่หลับนั้น น่าจะเกิดจากปัจจัยภายนอกตามที่ได้กล่าวมาแล้วมากกว่า

 ลูกนอนหลับท่าไหนถึงจะปลอดภัย? คลิก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up