การ เลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัย ของลูกน้อย เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ซึ่งพ่อแม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเลือกของเล่นที่ไม่เหมาะกับวัย หรือของเล่นที่ยากเกินไปสำหรับเด็กที่เพิ่งเริ่มหัดเล่น ซึ่งพบว่าของเล่นที่ยากเกินความสามารถของเด็กจะทำให้ความตื่นเต้นในของเล่นใหม่ลดลงไปอีกด้วย
ของเล่นปกติช่วยเสริมพัฒนาการให้เด็กปกติเท่านั้นจริงหรือ!?!?
แม้ของเล่นปกติจะถูกออกแบบมาสำหรับการเล่นของเด็กปกติ แต่เราจะใช้ของเล่นเพื่อพัฒนาเด็กได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ พ่อแม่ต้องเป็นคนทำเอง กับเด็กพิเศษก็เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถประยุกต์ใช้ของเล่นสำหรับเด็กปกติเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกได้ อยู่ที่การนำลูกเล่นของพ่อแม่ให้สอดคล้องกับกลุ่มอาการของลูกด้วย เช่น เด็กออทิสติกคือเด็กที่มีบกพร่องเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ฉะนั้นเขาจะมีปฏิสัมพันธ์ดีขึ้นได้พ่อแม่ก็ต้องมาเล่นกับลูกด้วย แล้วสอนให้ลูกรู้ว่าเขาจะต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้คนอย่างไร ต่อให้เอาของเล่นอย่างดีมาให้เขามากมายแค่ไหน แต่หากวางไว้ให้เขาเล่นคนเดียว เขาก็จะพัฒนาได้ไม่ดี เด็กสมาธิสั้นก็เช่นกัน อาการของเขาคือควบคุมตัวเองไม่ได้และทำงานไม่สำเร็จ ถ้าพ่อแม่ไม่มานั่งควบคุมและเล่นไปกับเขา แล้วใครจะมาควบคุมเขาได้ เพราะฉะนั้นลูกจะทำงานสำเร็จไหมโจทย์ก็อยู่ที่พ่อแม่ ของเล่นไม่สามารถช่วยควบคุมกำกับลูกสมาธิสั้นให้จดจ่อจนงานสำเร็จได้แน่
Good to know.. การเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กทั้งที่เป็นเด็กพิเศษและเด็กปกติ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์อย่างของเล่น แต่ขึ้นอยู่กับกระบวนการซึ่งพ่อแม่ต้องเป็นคนสร้างเสริมให้ลูกเอง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การ เลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัย
ของเล่นอัตโนมัติทำลายสมองลูกจริงหรือ!?!?
A : ไม่จริงค่ะ ของเล่นจะส่งเสริมพัฒนาการลูกหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ว่าอ่านโจทย์ออกไหม ของเล่นสมัยนี้บางอย่างกดปุ่มก็เคลื่อนไหวเองได้ เหมือนของใช้ในบ้านอย่างเครื่องดูดฝุ่นไฟฟ้าที่เป็นโรบอททำงานอัตโนมัติ ซึ่งแค่กดปุ่มมันก็วิ่งดูดฝุ่นได้เอง วิ่งไปชนกำแพงก็ถอยได้เอง หรือวิ่งไปขอบทางก็ไม่ตกลงไป หากคุณพ่อคุณแม่ลองชวนลูกสังเกตลักษณะการวิ่งการทำงานของอุปกรณ์อัตโนมัติเหล่านี้ เช่น “ลองดูสิจ๊ะ มันต้องวิ่งไปตรงไหนนะมันถึงจะถอย” มันมีอะไรให้สังเกตและคิดต่อยอดได้มากมาย อาจชวนลูกสังเกตและคิดว่าทำไมมันถึงทำแบบนั้นได้ หรือชวนลูกจินตนาการว่าเราจะสร้างของใช้อะไรบ้างให้ทำงานอัตโนมัติได้แบบนี้ การตั้งคำถามจะทำให้เกิดโจทย์ท้าทายและการสร้างจินตนาการใหม่ๆ เด็กก็จะได้คิดต่อยอด เหมือนที่เดี๋ยวนี้มีคนคิดประดิษฐ์รถยนต์ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว นี่ก็เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากการคิดต่อยอดเช่นกัน
แล้วของเล่นหรือของใช้อัตโนมัติก็เป็นไปตามยุคสมัย ในอนาคตอาจหาซื้อของเล่นไขลานไม่ได้แล้ว ม้าก้านกล้วยเดี๋ยวนี้ก็แทบไม่เห็นแล้ว เพราะในเมืองก็ไม่มีต้นกล้วยให้ตัดแล้ว ก็จะมีของเล่นสมัยใหม่ที่เป็นระบบอัตโนมัติขึ้นมาแทนที่มากขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าพ่อแม่จะใช้โอกาสตรงนั้นสอนลูกได้อย่างไร โทรศัพท์มือถือก็เป็นระบบอัตโนมัติ คุณพ่อคุณแม่ก็ใช้สอนลูกได้ แต่เราต้องใช้อย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยให้ลูกเล่นจนติดหรือเล่นจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน อยากให้ลูกฉลาด พ่อแม่ต้องฉลาดก่อน หากอยากให้ลูกคิดเป็น แต่ตัวเองไม่คิดเลย ลูกก็ไม่รู้จะเรียนรู้จากใคร พ่อแม่จึงต้องคิดเป็น ต้องสร้างสรรค์ ต้องต่อยอดได้ แล้วลูกจะเรียนรู้จากวิธีคิดของพ่อแม่