♥ หนูน้อยวัยอนุบาล
เด็กช่วงอายุ 3-5 ขวบเริ่มเข้าสู่วัยของการทำความรู้จักกับสังคม ของเล่นจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กเข้าสังคมได้ จึงควรปรับเปลี่ยนจากของเล่นที่เล่นคนเดียว กลายเป็นของเล่นที่มีโอกาสต้องแชร์กับคนอื่นมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตในโรงเรียน และเพื่อให้เด็กเข้ากับสังคมได้ง่ายขึ้น
- กระบะทรายและพลั่วของเล่น : กระเล่นกระบะทรายเป็นกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ประสาทสัมผัสของดินทรายที่มีความหยาบ เสริมสร้างความคิดและจินตนาการจากการขุด ปั้น หรือก่อกองทรายตามที่เขาต้องการ และยิ่งคุณพ่อคุณแม่พาไปเล่นที่ทะเลหรือกระบะทรายในสวนสาธารณะ เขาจะได้มีโอกาสพบปะและเล่นกับเพื่อนคนอื่นๆ ด้วย
- กล่องใส่ของ : การชวนลูกเล่นรื้อหาสิ่งของในกล่อง แข่งกันเก็บของใส่กล่อง หรือแยกสิ่งของใส่กล่องตามสีหรือตามหมวดหมู่แบบต่างๆ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างการทำงานประสานกันระหว่างมือและสายตาแล้ว ยังฝึกทักษะการสังเกต การจัดเก็บสิ่งของ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และทักษะการคิดวิเคราะห์วางแผนเพื่อเก็บของให้ลูกได้อีกด้วย
- จักรยานสามล้อ : เมื่อลูกน้อยเริ่มฝึกขี่จักรยานโดยเริ่มจากจักรยานสามล้อ ลูกน้อยจะได้พัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้ฝึกการดูทิศทางและกะระยะทาง และเมื่อลูกน้อยมีความแข็งแรงและเชื่อมั่นพอจะฝึกจักรยานสองล้อ เขาจะได้ฝึกการทรงตัวเพิ่มขึ้นอีก และยังได้ออกกำลังกายอย่างสนุกสนานอีกด้วย
- ของเล่นประกอบบทบาทสมมุติ : การเล่นบทบาทสมมุติ เช่น ครูนักเรียน พ่อแม่ คุณหมอกับคนไข้ คนซื้อกับคนขาย ฯลฯ นอกจากจะช่วยให้เด็กได้ใช้ความคิดและจินตนาการแล้ว ยังช่วยเสริมทักษะด้านสังคม เพราะเด็กต้องเล่นกับผู้อื่น ต่างคนต่างสวมบทบาทอาชีพหรือตัวละครและมีปฏิสัมพันธ์พูดคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เด็กได้เรียนรู้การปรับตัว การพูดคุย และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม
- ตัวต่อประเภทต่าง : ตัวต่อสามารถเล่นกับเพื่อนก็ได้เล่นคนเดียวก็ได้ หากเล่นคนเดียวเด็กจะได้ฝึกความคิด เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดเชื่อมโยงจากการใช้ตัวต่อประกอบกันให้กลายเป็นสิ่งอื่น หากเล่นกับเพื่อนเขาจะได้ฝึกการแบ่งปันชิ้นตัวต่อซึ่งกันและกัน หากได้ต่อร่วมกันก็จะได้ฝึกการวางแผนเพื่อให้พวกเขาต่อตัวต่อเป็นเรื่องราวหรือเล่นไปในทิศทางเดียวกัน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เลิกอ้าง “พ่อแม่ไม่มีเวลา” แล้วเริ่มสะสมเวลาเพื่อลูก
ทุกครอบครัวก็ต้องทำงานเหมือนกันหมด เวลาจะมีหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของพ่อแม่ เวลาเล็กๆ น้อยๆ บางทีพ่อแม่ก็คิดไม่ถึงว่าจะสามารถใช้สอนลูกได้ หมอเคยเห็นพ่อแม่ลูกเป็นครอบครัวนั่งไปในรถคันเดียวกัน พ่อก็จะขับรถเงียบๆ แม่นั่งเล่นโทรศัพท์ นั่นแหละคือเวลาน้อยนิดที่พ่อแม่ส่วนใหญ่บอกว่าไม่มี เราไปดูตามร้านอาหารที่มีพ่อแม่ลูกนั่งกินข้าว ทุกคนก็นั่งเล่นโทรศัพท์มือถือเหมือนกันหมด อันที่จริงเวลาเพียงน้อยนิดก็ทำให้มีประโยชน์มากขึ้นได้ถ้าพ่อแม่ใส่ใจยิ่งเราเอาไปใช้กับโทรศัพท์มือถือน้อยเท่าไร เราก็จะมีเวลากับตัวเองมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าพ่อแม่ทบทวนให้ดี มันจะมีเศษเสี้ยวของเวลาที่รวมเข้ามาเป็นเวลาที่มีประโยชน์กับลูกได้มากขึ้น เช่น เวลาที่เรานั่งรถไปด้วยกันทำไมเราถึงไม่พูดคุยกับลูก สอนเรื่องดีๆ ให้กับลูก เราฝึกให้ลูกรู้จักคิดคณิตศาสตร์หรือสอนภาษาอังกฤษให้กับลูกบนรถได้ แต่ทุกวันนี้เราเอาลูกไปเข้าโรงเรียน เอาลูกไปให้คนอื่นสอน เคยมีคุณแม่บ้านหนึ่งสังเกตรู้ว่าลูกสายตาสั้น เพราะได้พูดคุยและสอนลูกบนรถ แม่ถามเลขทะเบียนรถคันข้างหน้า แต่ลูกบอกว่ามองไม่เห็นทั้งที่แต่ก่อนเคยมองเห็น แม่ถึงรู้ว่าสายตาลูกมีความผิดปกติและพาลูกไปหาคุณหมอได้ทันท่วงที คุณแม่ท่านนี้รู้ความผิดปกติของลูกได้เพราะมีปฏิสัมพันธ์กับลูก ถ้าต่างคนต่างนั่งไปแม่ก็คงไม่มีทางสังเกตรู้
อย่างที่คุณหมอย้ำมาโดยตลอดว่า ของเล่นไม่สำคัญเท่ากระบวนการเล่นที่คุณพ่อคุณแม่ใช้เล่นกับลูก เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูตามร้านของเล่นทั่วไป ของเล่นบางชิ้นก็ไม่ได้บอกเราว่าของเล่นนั้นใช้เล่นกับลูกอย่างไรได้บ้าง บ่อยครั้งที่คำอธิบายบนกล่องจะเขียนไว้เพียงว่า “ของเล่นสำหรับเล่น” ซึ่งก็แน่ละ…ของเล่นมันต้องมีไว้เล่น มันไม่ได้มีไว้กิน เด็กเองเขาก็คิดไม่ได้หรอกว่าต้องเล่นอย่างไรของเล่นจึงจะมีประโยชน์ จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องเล่นไปด้วยกันกับลูก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว สอนให้ลูกรู้จักปรับตัวเข้าสังคม และเพื่อให้เขาได้เล่นของเล่นผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ที่คิดค้นโดยพ่อแม่ ซึ่งจะเสริมสร้างพัฒนาการของลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
- เผยรายชื่อ 10 ของเล่นอันตราย ประจำปี 2016
- วิธีเล่นสนุกสร้างเสียงหัวเราะ เสริมพัฒนาการให้กับลูกน้อยวัย 0-1 ปี
- “เล่นสมมติ” ดีต่อลูกเล็กครบทั้งกาย ใจ สมอง แถมสนุกไม่ธรรมดา!
เรื่อง All about Toys จาก ผศ. นพ. พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช