ลูกตาบอดสี รักษาได้ไหม อะไรคือสาเหตุของอาการ และจะรักษาได้หรือไม่ ไปหาคำตอบกันค่ะ
“ตาบอดสี” หรือเรียกอีกอย่างว่า Color Blindness เป็นที่ตาของผู้ป่วยแปรผลหรือแปลภาพสีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง เป็นอาการที่ไม่จำกัดว่าจะต้องเพศอะไร วัยไหน เพราะแม้แต่เด็กเล็ก ๆ ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่อาจจะเห็นว่าสีของต้นไม้นี้เป็นสีเขียว แต่ลูกกลับมองเป็นสีอื่น ก็เป็นได้ เรียกได้ว่าอาการดังกล่าวนั้นไม่ควรมองข้ามเลยละค่ะ เพราะมันสามารถกระทบถึงการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
อะไรคือสาเหตุ?
สาเหตุของตาบอดสีนั้น สามารถเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด โดยถ่ายทอดผ่านทางกรรมพันธุ์ และจะพบมากในเพศชายประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ หากเปรียบเทียบกับเพศหญิงนั้น สามารถพบได้เพียง 0.4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หลัก ๆ แล้วสาเหตุของการที่ลูกตาบอดสีนั้นได้แก่
- เป็นมาแต่กำเนิด มีเรื่องของกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยโครโมโซม X ทำให้เพศชายถ้ามีหน่วยพันธุกรรม X ที่ทำให้เกิดตาบอดสี ก็จะแสดงอาการของตาบอดสีออกมา ในขณะที่เพศหญิงถ้าหน่วย X นี้ผิดปกติเพียงหนึ่งหน่วย ก็ยังสามารถมองเห็นได้ปกติเห็นปกติได้ ถ้าหน่วย X อีกตัวหนึ่งไม่ทำให้เกิดตาบอดสี
- ความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม x และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ x-linked recessive จากแม่ไปสู่บุตรชาย เพราะเหตุนี้ตาบอดสีส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กผู้ชาย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากมารดา ในเพศหญิงพบน้อยกว่าเพศชายประมาณ 16 เท่า หรือคือเป็นประมาณร้อยละ 0.4 ของประชากร ขณะที่ตาบอดสีทั้งหมด จะพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของประชากร และเป็นการมองเห็นสีเขียวบกพร่องเสียประมาณร้อยละ 5 ของประชากร
- กลุ่มที่มีความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด ตาทั้ง 2 ข้างจะมีอาการมองเห็นสีผิดปกติเหมือนกัน คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ที่สามารถเห็นสีได้ปกติ จะต้องมีเซลล์รับแสงสีที่จอประสาทตาครบทั้ง 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน และมีปริมาณเม็ดสีในเซลล์ที่ปกติ รวมทั้งระบบประสาทตาและการแปลผลที่เป็นปกติด้วย
- ส่วนความผิดปกติของเม็ดสี และเซลล์รับแสงสีน้ำเงินนั้น ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม 7 จึงมีการถ่ายทอดแบบ autosomal dominant ซึ่งจะพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้น้อย
คลิกดูวิธีการตรวจสอบว่าลูกนั้นตาบอดสีหรือไม่
เครดิต: baby.haijai.com