ถึงเวลาเปิดเทอมแล้ว คุณพ่อคุณแม่และโดยเฉพาะคุณหนูๆ คงพร้อมไปโรงเรียนกันแล้วสิ่งสำคัญอีกอย่างนอกเหนือจากความพร้อมในการไปโรงเรียนก็คือการดูแลสุขภาพร่างกายของลูกรักให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บกันด้วยนะคะ ได้หาโรคติดต่อที่เด็กๆ วัยอนุบาลเป็นบ่อยที่สุด มาฝากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อจะได้ระมัดระวังดูแลลูกรักของคุณ โรคเด็ก ช่วงเปิดเทอม จะมีอาการและวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
7 โรคเด็ก ช่วงเปิดเทอม ที่ต้องระวัง
1.โรค มือ เท้า ปาก
โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม เอ็นเทอโรไวรัส พบมากกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีหรือเด็กอนุบาล ซึ่งจะมาพร้อมกับหน้าฝนด้วย โดยให้สังเกตอาการดังนี้ มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย และหลังจากนั้น 2-3 วัน เด็กจะมีอาการเจ็บปาก กินข้าวไม่ได้ มีตุ่มใสสีแดงขึ้นบริเวณปากก่อนและตามด้วยมือ เท้า และ ลำตัว โรคนี้ไม่รุนแรงมาก
รักษาโรคได้ตามอาการ ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษาจำเพาะ เพียงแต่ให้การดูแลตามอาการ และเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล เป็นครั้งคราวเวลา มีไข้สูงห้ามให้ aspirin ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยสังเกตดูว่ามีปัสสาวะออกมากและใส จึงนับว่าได้น้ำพอเพียง ในช่วงที่มีอาการเจ็บแผลในปาก ให้เด็กกินอาหารเหลวหรือของน้ำๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด นม น้ำเต้าหู้ น้ำหวาน โดยใช้ช้อนป้อนหรือใช้กระบอกฉีดยา ค่อยๆ หยอดเข้าปาก ไม่ควรให้เด็ก (โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ) ดูดนมหรือน้ำจากขวด เพื่อบรรเทาอาการเจ็บในปาก อาจใช้วิธีให้เด็กอมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ดื่มน้ำหรือนมเย็นๆ กินไอศกรีมบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ (ผสมเกลือป่นครึ่งช้อนชาในน้ำอุ่น ๑ แก้วต้องมั่นใจว่าเด็กบ้วนคอได) วันละหลายๆ ครั้ง
อาการจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วันค่ะ ยกเว้นเด็กที่ติดเชื้อรุนแรงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้ตุ่มใสๆนี้เป็นหนอง อาการจะรุนแรง จนทำให้ปอดบวม สมองอักเสบ เยื้อสมองอักเสบ ถึงขึ้นเสียชีวิตได้ โรคนี้ติดกันง่ายมาก เพียงแค่สัมผัสสิ่งของต่างๆร่วมกันหรือ ไอใส่กัน ก็สามารถติดกันได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตหากมีอาการผิดปกติดังกล่าวต้องรีบพาลูกไปหาหมอทันที
2.โรคไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เด็กๆจะติดกันได้ง่ายในที่ๆมีคนเยอะๆ แออัดๆ อย่างเช่นบริเวณโรงอาหารของโรงเรียน โดยจะติดกันผ่านลมหายใจ การไอ จาม ละอองน้ำมูก น้ำลาย อาการคือ ไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดหัว เมื่อยตัว อ่อนเพลียมาก คัดจมูก เจ็บคอ
รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุมน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลงให้รับประทานยาพาราเซตามอล และยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ อาการแทรกซ้อนคือ โรคปอดอักเสบ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
3.โรคไข้หวัด
จะมีอาการไม่รุนแรงเท่าไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะเป็นบ่อยในช่วงหน้าฝน และหน้าหนาว เชื้อไข้หวัดจะมีหลายสายพันธุ์ เวลาเป็นแล้วหายร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโรคที่เคยเป็น แต่ก็อาจจะกลับมาเป็นได้อีก อาการคือ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ จาม คอแห้ง เจ็บคอ เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ไอ้แห้ง ไอมีเสมหะ โรคแทรกซ้อนที่มากับไข้หวัดคือ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ คุณพ่อคุณแม่ควรระวังเด็กอาจชักเพราะไข้ขึ้นสูง การรักษาไข้หวัดอยู่ที่การพักผ่อน ดื่มน้ำเยอะๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ (ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค) และให้ยารักษาไปตามอาการเท่านั้น