แม่ไม่ควรทำ เมื่อลูกชักจากไข้สูง
- ไม่ควรให้ลูกหนุนหมอน เพื่อป้องกันการสำลัก
- ไม่ต้องพยายามจับหรือกอดรัดให้ลูกหยุดชัก
- ไม่ควรเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น หรือแอลกอฮอล์
- ห้ามใช้ช้อนหรือวัตถุอื่นใด หรือนิ้วมืองัดปาก เนื่องจากทำให้เยื่อบุช่องปากเด็กฉีดขาดหรือฟันหักและหลุดเข้าอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- ห้ามป้อนยาหรือน้ำทางปาก ในขณะที่เด็กไม่รู้สึกตัว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สิ่งที่แม่ควรรู้เกี่ยวกับอาการชักจากไข้
- อาการชักจากไข้มีปัจจัยทางด้านพันธุกรรมเกี่ยวข้องด้วย เด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีประวัติการชักจากไข้จะมีโอกาสชักจากไข้สูงมากกว่าเด็กที่ครอบครัวไม่มีประวัติชักจากไข้
- โดยทั่วไปแล้ว การชักจากไข้สูงไม่ทำให้เกิดสมองพิการ เด็กจะมีความสามารถในการเรียนและสติปัญญา (IQ) เหมือนเด็กปกติทั่วไป
- การเกิดอาการชักซ้ำจากไข้ โดยทั่วไปโอกาสเกิดอาการชักซ้ำพบร้อยละ 30 และมักเกิดภายใน 2 ปีแรก
- การป้องกันการชักซ้ำ เมื่อเริ่มมีไข้ให้กินยาลดไข้พาราเซตามอล และเช็ดตัวลดไข้ แล้วพามาพบแพทย์ ส่วนการให้ยากันชักอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแล และผู้ปกครองต้องเข้าใจวิธีการบริหารยากันชักอย่างถูกต้อง
อาการชักจากไข้ดูเหมือนจะไม่กระทบต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูก หากอาการชักนั้นไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ หรือไม่ได้ชักติดต่อกันหลายครั้งใน 1 ชั่วโมง แต่เมื่อใดก็ตามที่ลูกมีอาการชักจากไข้ที่นานเกินกว่า 2-3 นาทีขึ้นไป ถือว่าอันตรายมากค่ะ เพราะสมองอาจขาดออกซิเจน และถ้าลูกกัดลิ้นตัวเองขณะชักลิ้นอาจขาดได้ ดังนั้นแนะนำว่าเมื่อลูกมีอาการไม่สบายเป็นไข้ให้รีบเช็ดตัว หมั่นเช็กอุณหภูมิบ่อยๆ หากไข้ยังขึ้นโดยไม่มีท่าทีว่าจะลดลง ให้รีบพาลูกส่งโรงพยาบาลทันที อย่าปล่อยให้ไข้ขึ้นสูงไปเรื่อยๆ เพื่อเลี่ยงภาวะชักจากไข้สูง
…ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ
อ่านต่อ บทความน่าสนใจ คลิก
ขอบคุณข้อมูลจาก
1อ.นพ.สรวิศ วีรวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาวะชักจากไข้ คืออะไร. www.si.mahidol.ac.th
phyathai.com , haamor.com , si.mahidol.ac.th
รวม 20 อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย แบบนี้..! กำลังป่วยเป็นโรคอะไร?