อย่างไรก็ตาม มาตราดังกล่าวยังคงมีการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย และมีประเด็นที่ต้องโต้เถียงกันอยู่ เช่น แม้เราจะตระหนักดีว่าการสอบแข่งขันเพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ ของเด็กชั้นอนุบาล ที่จะเรียนต่อในชั้น ป.1 มีผลกระทบกับเด็กอย่างมาก รวมถึงผลกระทบต่อรูปแบบการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาล ที่ต้องผลักดันให้เด็กเก่งด้านวิชาการตั้งแต่เล็ก และขัดกับการพัฒนาที่เน้นการสร้างสรรค์จินตนาการมากกว่า แต่การออกกฎหมายไม่ให้มีการสอบแข่งขันเลย ก็หวั่นว่าจะเกิดช่องโหว่ที่กระทบกับผู้ปกครอง และเมื่อไม่มีกฎหมายบังคับโรงเรียนในการรับเด็กเข้าเรียน ก็จะเป็นช่องให้เด็กที่พ่อแม่ผู้ปกครองมีเงินจำนวนมาก สามารถการันตีที่นั่งเรียนให้กับเด็กได้
รศ.ดารณี ในฐานะอดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตฯ เกษตรศาสตร์ และสอนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้มานานกว่า 30 ปี ย้ำอีกว่า แม้ร่าง พ.ร.บ.ปฐมวัย จะมีมาตราที่ห้ามสอบ พร้อมกับบทลงโทษว่าหากโรงเรียนใดฝ่าฝืนเปิดสอบแข่งขัน จะมีโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท แต่ก็มีอีกเสียงจากคณะกรรมการเห็นว่า หากฝ่าฝืนเกิน 3 ครั้งก็ควรจะยึดใบอนุญาตโรงเรียนไปเลย ซึ่งบางส่วนก็เห็นว่าเหมาะสม และอีกบางส่วนก็เห็นว่ารุนแรงเกินไป แต่ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องผ่านการระดมความคิดเห็นกันอีก ก่อนจะเสร็จอย่างสมบูรณ์ ซึ่งขณะนี้ยังคงเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น
“ไปเรียนโรงเรียนดัง ๆ ที่แข่งขันกันแต่เรื่องของวิชาการมากกว่าการเล่นเพื่อเรียนรู้ เด็กที่ยังไม่พร้อมแต่เข้าไปเรียนได้ก็ต้องสอบตก และถามว่าเด็กจะมีความสุขหรือไม่ โรงเรียนที่ดัง ๆ ทั้งหลายก็ไม่ได้การันตีความสุขให้กับเด็ก เด็กสมควรที่จะต้องมารับความกดดันขนาดนี้หรือไม่” รศ.ดารณี ตั้งคำถาม
แล้วคุณพ่อคุณแม่ละคะ มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง ลองแชร์กันเข้ามาดูนะคะ
ขอบคุณที่มาของข่าว: Thai PBS และ Posttoday
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
- ลูกเก่งไม่สำคัญ เท่ากับ เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี!
- นี่คือ 4 ข้อฉุกคิด! กับ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ เพื่ออนาคตที่ดีของลูก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่