ทั้งนี้ผลวิจัยดังกล่าวที่ว่า ช่วยลูกทำการบ้าน = ทำลายชีวิตลูก นั้น ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยก่อนหน้านี้ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำวิจัยในนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและพบว่า … การเข้าไปยุ่งกับงานที่ได้รับมอบหมายของลูกๆ มากจนเกินไป ตั้งแต่การปรับแก้รายงานเรื่อยไปจนถึงการทำแทนให้ทั้งหมด
พฤติกรรมดังกล่าวของพ่อแม่ จะส่งผลให้นักศึกษารายนั้นๆ ไม่ใส่ใจในการเรียน มักมีอาการหดหู่ ซึมเศร้า และความพึงพอใจในชีวิตลดน้อยลง อย่างมีนัยสำคัญ
ที่มาจาก : นสพ.มติชนรายวัน
แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะห้ามคุณพ่อคุณแม่ไม่ให้เข้าไปยุ่งกับการบ้านของลูกเลยซะทีเดียว เพราะบางครั้งคุณก็อาจจะได้เห็นลูกนั่งขมวดคิ้วกลุ้มอยู่กับการบ้านเลขสุดหิน ซึ่งนั่นก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่พลอยเครียดไปด้วยทุกที … แต่พอจะช่วยสอนก็กลายเป็นเข้าไปจัดการทำแทน >> แถมที่ร้ายกว่านั้น บางทีการบ้านบางวิชาก็ยากจนพ่อแม่ที่ห่างโรงเรียนมานานอย่างเราๆ ยังไม่เข้าใจ ซึ่งก่อนที่ทั้งลูกน้อยและคุณพ่อคุณแม่จะเครียดจนปวดหัวจี๊ด Amarin Baby & Kids มีเทคนิคให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยลูกทำการบ้านได้อย่างราบรื่น โดยไม่เข้าไปจัดการจนเกินไปมาฝาก ดังนี้ค่ะ
5 เทคนิค ช่วยลูกทำการบ้าน อย่างราบรื่น
1 หาตัวช่วย
รีบตรงดิ่งไปที่ร้านหนังสือ ตอนนี้มีตำราและคู่มือการสอนสำหรับทุกชั้นปีออกมามากมาย เปิดอ่านดูสักบท เลือกเล่มที่อธิบายแล้วเข้าใจง่ายที่สุด ลองสุ่มอ่านดูสักหัวข้อก่อน ถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจขนาดไปอธิบายต่อให้ลูกฟังได้ก็ถือว่าโอเค ทีนี้เวลาลูกไม่เข้าใจตรงไหนเปิดคู่มือช่วยได้ทันที (แต่ต้องไม่ใช่การลอกคำตอบจากคู่มืออย่างเดียวนะ) ไม่แน่ลูกอาจไม่ต้องพึ่งคอร์สสอนพิเศษเลย ?? ก็มีติวเตอร์ส่วนตัวอยู่ที่บ้านแล้วนี่นา
2 เป็นกองกำลังเสริม
การบ้านเดี๋ยวนี้ไม่ได้เป็นแค่คำถามข้อๆ ให้เขียนตอบอีกแล้ว แต่ยังมาในรูปของโครงงานสารพัด ถึงแม้ว่าหลักๆ คนที่ต้องทำงานเหล่านี้ก็คือลูก แต่คุณช่วยอำนวยความสะดวก เช่น ไปเดินซื้ออุปกรณ์ด้วยกัน หรือเสนอความคิดเห็นเรื่องการออกแบบ และหาข้อมูลเพิ่มเติมมาให้ แล้วปล่อยให้เขาจัดการต่อเอง
3 ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะ
เด็กแต่ละคนมีวิธีเรียกสมาธิไม่เหมือนกัน ขณะที่น้องเกลชอบนั่งคิดเลขเงียบๆ คนเดียว เด็กชายแพท พี่ชายจอมเซี้ยวกลับเขียนเรียงความเรื่องอาชีพในฝันได้ลื่นไหลกว่าเมื่อเปิดเพลงฟังไปด้วย ฉะนั้นลองสังเกตลูกดูว่าเขาชอบแบบไหน แล้วช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมดีกว่า