สังเกตอาการสมาธิสั้นในวัยประถม - Amarin Baby & Kids

สังเกตอาการสมาธิสั้นในวัยประถม

Alternative Textaccount_circle
event

สมาธิสั้น เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในเด็กวัยก่อน 7 ขวบ ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออารมณ์ จิตใจ พฤติกรรม การเรียน มีวารสารบางแห่งตีพิมพ์ว่าอาการสมาธิสั้นในเด็กนี้หายได้เองในวัยรุ่น แต่ก็ยังไม่ได้มีการแพทย์ออกมายืนยันอย่างชัดเจน ลองมาดูกันว่าอาการแบบไหนเข้าข่ายสมาธิสั้นบ้าง

1. มีอาการซน (hyperactivity)

อาการซนในที่นี้หมายถึงเด็กที่ซนมากกว่าปกติ ไม่สามารถอยู่นิ่งๆ เงียบๆ คนเดียวได้ เล่นคนเดียวไม่ได้ อยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องเคลื่อนไหวบิดตัวอยู่ตลอดเวลา นั่งไม่ติดที่ลุกเดินบ่อยๆ ไม่ว่าจะในห้องเรียนหรือที่บ้าน และชอบพูดคุย ปีน อยู่ตลอดเวลา ห้ามเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง

2. การขาดสมาธิ (attention deficit)

เด็กกลุ่มนี้จะไม่มีสมาธิในห้องเรียน ไม่มีสมาธิในการเล่น ทำอะไรผิดพลาดบ่อย ขี้ลืม จำรายละเอียดที่คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูบอกไม่ได้ ถูกสิ่งอื่นดึงความสนใจได้ง่าว

3. การขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (impulsivity)

เด็กกลุ่มนี้จะมีอาการตื่นตัวง่าย คล้ายคนขวานผ่าซาก ไม่เชิงว่าไม่มีกาลเทศะ แต่เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ชอบขัด

 

หากคุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่าลูกเราอาจจะเป็นเด็กสมาธิสั้นจริงๆ สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่คลินิกเด็กของโรงพยาบาลชั้นนำทั่วไป ซึ่งหากลูกไม่ได้เป็นเด็กสมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่จะได้วางใจได้ว่าลูกของเราแค่ซนเฉยๆนะ!

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up