TQ (Thinking Quotient) ฉลาดคิดเป็น ทักษะที่ควรเตรียมพร้อมให้ลูก ช่วยลูกเก่ง ประสบความสำเร็จได้ไม่ยากในอนาคต ต้องเลี้ยงลูกอย่างไร
เลี้ยงลูกอย่างไรให้มี TQ (Thinking Quotient) ฉลาดคิดเป็น เก่งประสบความสำเร็จไม่ยาก
นักวิจัยยืนยันว่า IQ มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในชีวิต เช่น ในด้านการทำงาน การเรียน เพียงแค่ 20% เท่านั้น แต่คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและมีความสุข ล้วนมีความฉลาดในด้านอารมณ์และสังคม รวมถึง Q ในด้านอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกันด้วย ดังนั้นเราที่เป็นพ่อแม่จึงไม่ควรมุ่งหวังให้ลูกเป็นแค่เด็กเก่งที่คิดเลขเป็นหรือพูดได้หลายภาษา ลองมาดู TQ(Thinking Quotient) ความฉลาดอีกหนึ่งด้านที่จะทำให้ลูกดำรงชีวิตอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุขกัน
TQ คืออะไร?
TQ: Thinking Quotient แปลออกมาได้ตรงตัวก็คือ ความสามารถในการคิด คือการคิดที่เป็นประโยชน์ก่อคุณค่าด้วย ซึ่งในแง่ของการคิดมีผู้รู้ได้แบ่งการคิดออกเป็นหลายลักษณะที่สามารถก่อให้เกิดคุณค่าและนำไปใช้ได้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและงานต่าง ๆ เช่น การคิดเชิงสร้างสรรค์ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์แล้วนำมาคิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดประยุกต์ การคิดเชิงบวก ฯลฯ ได้อย่างเหมาะสม และผสมผสานความคิดต่าง ๆ ออกมาได้ดี ซึ่งคนที่มี TQ หรือฉลาดคิดเป็น จะเป็นคนที่แก้ปัญหาต่างๆ ในทุกสถานการณ์ได้ สามารถคิดไตร่ตรองสิ่งถูกผิด และคิดเลือกทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
เลี้ยงลูกอย่างไรให้มี TQ (Thinking Quotient)!!
1.ส่งเสริมทักษะทางการคิด
การคิด (Thinking skill) เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล แก้ปัญหาตัดสินใจ และสร้างแนวคิดใหม่ ๆ สำหรับเด็กเล็กแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมทักษะทางการคิดได้ของลูกได้ เช่น จากการเล่นและกิจกรรม มีของเล่นเสริมทักษะและจินตนาการมากมายที่จะช่วยให้เจ้าตัวเล็กได้ใช้ความคิดอย่างสร้างสรรรค์ เกิดจินตนาการในรูปแบบใหม่ ที่เรียกกว่า “การคิดนอกกรอบ” การพาลูกออกไปท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ เกิดการเชื่อมต่อคำถามจากความคิดสงสัย ทำให้คิดวางแผนหรือตัดสินใจว่าจะทำอะไร การสนับสนุนลูก ๆ ให้ได้ลองใช้ความคิด จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีต่อการส่งเสริม TQ ของลูก
(อ้างอิงจาก : www.sasimasuk.com)
Must Read!! ที่เที่ยวสำหรับเด็ก ปิดเทอมนี้ ทั้งสนุก ได้เรียนรู้ ใกล้กรุง!!
Must Read!! 10 พิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพ และใกล้กรุงเทพ เที่ยวสนุก ความรู้จัดเต็ม เด็กเข้าชมฟรี!!
2.สอนลูกให้คิดถึงปัญหาและสร้างวิธีแก้ปัญหา
อย่าเพิ่งรีบเข้าไปช่วยแก้ปัญหาสำหรับพวกเขา พยายามส่งเสริมหรือแนะนำให้ลูกหาวิธีที่จะบรรลุหรือแก้ไขผ่านการคิดอย่างสร้างสรรค์ เช่น วัยที่ควรสามารถช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว ก็ควรปล่อยให้ลูกได้ลองทำด้วยตัวเอง การทำงานบ้าน การเล่นเกมที่ต้องหาทางออก เป็นต้น การปล่อยให้ลูกได้ลองแก้ปัญหาด้วยตัวเอง จะช่วยกระตุ้นสมอง และสอนให้รู้ว่าพวกเขาสามารถทำงานผ่านอุปสรรคได้ด้วยตนเอง
Must Read !! ฝึกลูกทำงานบ้านให้อะไรมากกว่าที่คิด งานบ้านสร้างลูก!!
3.ตั้งคำถาม และพูดคุย
การพูดคุยหรือตั้งคำถามกับลูก ไม่ได้เป็นเพียงแค่การสื่อสาร หรือการได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันเท่านั้น แต่การที่พ่อแม่ได้พูดคุยหรือตั้งคำถามต่อสิ่งต่าง ๆ กับลูกในแต่ละวันนั้น ถือเป็นการกระตุ้นพัฒนาการการเรียนรู้ กระตุ้นให้เกิดความคิด เป็นเด็กช่างคิด ช่างสังเกต คุณพ่อคุณแม่สามารถตั้งคำถามกับลูกง่าย ๆ ด้วยคำถามใกล้ตัว “อะไร ทำไม ยังไง” เพื่อให้ลูกได้ลองคิดหาคำตอบและวิธีแก้ปัญหา หรือตั้งคำถามสร้างจินตนาการ ถามคำถามที่ดูเหมือนอยู่ในเทพนิยาย เป็นเรื่องสมมุติ เพราะการใช้จินตนาการก็เหมือนการบริหารสมองอย่างหนึ่ง ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดได้ คำถามสร้างสรรค์ที่พ่อแม่ใช้กับลูกจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาความคิดและความรู้สึกของตัวเอง และยังช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้จักตัวตนของลูกดีขั้นผ่านความคิดเห็นเหล่านั้น แม้กระทั่งการพูดคุยกับลูกตั้งแต่ในวัยเบบี๋ก็เป็นกุญแจสำคัญไปสู่การส่งเสริม TQ แม้ว่าลูกจะยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจสิ่งที่พ่อแม่กำลังพูด หรือยังไม่เข้าใจความหมายของคำ แต่การพูดซ้ำ ๆ ในที่สุดลูกก็จะใช้คำศัพท์ เกิดทักษะการฟัง ทักษะการพูด ซึ่งต่อยอดไปสู่ทักษะการเขียนและการอ่านได้ด้วย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ่านต่อ >>สอนลูกอย่างไรให้ฉลาดคิดเป็นTQ(Thinking Quotient)คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่