เมื่อลูกมี นิสัยเด็กขี้อิจฉา แก้ไขอย่างไร ? - amarinbabyandkids
นิสัยเด็กขี้อิจฉา

เมื่อลูกมี นิสัยเด็กขี้อิจฉา แก้ไขอย่างไร ?

Alternative Textaccount_circle
event
นิสัยเด็กขี้อิจฉา
นิสัยเด็กขี้อิจฉา

นิสัยเด็กขี้อิจฉา การมีครอบครัวที่อบอุ่น พ่อแม่ พี่น้องรักใคร่กลมเกลียวกัน เป็นสิ่งที่ทุกครอบครัวปราถนา แต่บางครั้งเรื่องหยุมหยิมกวนใจก็เกิดขึ้นได้ ยิ่งโดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกหลายคน มักมีปัญหาพี่น้องอิจฉากัน ไม่พี่อิจฉาน้อง ก็น้องอิจฉาพี่ ซึ่งหากปล่อยปัญหานี้ไว้อาจติดตัวลูกไปจนโตได้ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีวิธีแก้พฤติกรรม นิสัยเด็กขี้อิจฉา มาให้ทราบค่ะ

 

นิสัยเด็กขี้อิจฉา เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใดบ้าง ?

1. มีสมาชิกใหม่เกิดขึ้นในครอบครัว

การมีอีกหนึ่งสมาชิกใหม่เข้ามาในครอบครัว ย่อมเป็นไปได้ว่าลูกคนโตที่ก่อนจะมีน้อง เขาได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ และคนรอบข้าง แบบที่ไม่เคยต้องแบ่งความรักที่ได้รับให้กับใคร แต่พอมีน้องใหม่เข้ามาในครอบครัว ทุกคนต่างให้ความสนใจ แน่นอนว่าลูกคนโต อาจคิดว่าน้องที่เกิดมานั้นจะมาแย่งเอาความรักที่เคยได้รบจากทุกคนไปจากเขาหมด ความรู้สึกกลัว ความรู้สึกน้อยใจจึงก่อตัวเกิดขึ้นในใจเด็กเงียบๆ เมื่อถูกสะสมนานวันเข้าก็กลายเป็นความอิจฉาขึ้นในที่สุด

2. การถูกเปรียบเทียบ  

การที่เด็กสองคนมักถูกพ่อแม่ หรือคนในครอบครัว พูดชมหรือเปรียบเทียบให้เห็นว่าใครเก่งกว่าใคร หรือใครสวยกว่าใคร ฯลฯ ก็อาจนำมาซึ่งความเกลียดชังขึ้นในใจเด็กได้ ว่าที่เขาไม่เก่ง ไม่ดีพอ เลยทำให้พ่อแม่ไม่รักไม่สนใจ ซึ่งการพูดเปรียบเทียบเช่นนี้ไม่ได้ทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้น แต่กลายเป็นเด็กรู้สึกว่าถูกตำหนิในเรื่องเดิมซ้ำๆ  ซึ่งก็จะนำไปสู่ความรู้สึกอิจฉาขึ้นในใจเด็ก

3. รักเหมือนกัน แต่ปฏิบัติต่างกัน

เมื่อคนในครอบครัวพยายามให้พี่น้องได้อะไรเหมือนกันโดยไม่นึกถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคนว่ามีนิสัย หรือความรู้สึกนึกคิดอย่างไร ก็สามารถก่อให้เกิดความอิจฉาขึ้นในใจเด็กได้เหมือนกัน  เช่น การที่พ่อแม่บอกลูกคนเล็กว่า “นี่คือตุ๊กตาหมีตัวใหญ่ที่หนูอยากได้ และบอกลูกคนโตว่านี่เป็นตุ๊กตาแบบเดียวกันสำหรับลูก” การที่พ่อแม่ให้ด้วยความรัก ซึ่งแทนที่ลูกคนโตจะพอใจ เขาอาจระแวงว่าน้องได้ของเล่นที่แพงกว่าและดีกว่า  หรือลูกคนโตอาจรู้สึกว่าที่พ่อกับแม่ซื้อให้แบบเดียวกัน เพราะว่าจะได้ไม่บ่นว่าพ่อแม่รักน้องมากกว่า  แทนที่ลูกคนโตจะคิดว่าที่ซื้อให้เพราะรู้ว่าเขาชอบ

4. พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน

บางครั้งพ่อแม่ก็ไม่รู้ตัวว่า สิ่งที่พ่อแม่ทำกับลูกสองคนนั้นต่างกัน เช่น การเอาใจใส่ให้ความรักกับลูกชาย มากกว่าลูกสาว (บางครอบครัวเห่อลูกชายมากว่าสาว) การที่พ่อแม่ทำแบบนี้แน่นอนว่าจะส่งผลให้เด็กเกิดความรู้สึกน้อยใจ เก็บกดเอาไว้จนกลายเป็นความอิจฉาริษยาและรู้สึกเกลียดชังพี่น้องกันเอง และรวมถึงกลายเป็นเกลียดคนรอบข้างไปด้วย

5. พี่น้องทะเลาะกัน

การทะเลาะกันของเด็กๆ ที่เป็นพี่น้องกัน ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากลูกทะเลาะกันจนเกินเลยทำให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โต และเกิดความไม่ยอมกัน พ่อแม่ควรยื่นมือเข้าไปไกล่เกลี่ย แต่หากพ่อแม่ให้ความไม่เป็นธรรมกับใครคนใดคนหนึ่ง ตำหนิอีกฝ่ายมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดความอิจฉา ไม่พอใจขึ้นกับอีกฝ่ายได้

อ่านต่อ >> “จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีนิสัยเด็กขี้อิจฉา” คลิกหน้า 2 

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up