รับมือ พฤติกรรมเด็ก เปลี่ยน-ตัวร้าย-ให้กลายเป็น "นางฟ้า" - Amarin Baby & Kids
พฤติกรรมเด็ก

รับมือ พฤติกรรมเด็ก เปลี่ยน-ตัวร้าย-ให้กลายเป็น “นางฟ้า”

Alternative Textaccount_circle
event
พฤติกรรมเด็ก
พฤติกรรมเด็ก

ทีมกองบรรณาธิการ ABK ขอแชร์เคล็ดลับ รับมือ “พฤติกรรมเด็ก” ลูกกริ๊ดลั่น-ดิ้นตัวงอ ให้อยู่หมัด!! เปลี่ยน “ตัวร้าย” ให้กลายเป็น “นางฟ้า” แม่จ๋า!! เข้าใจหนูหน่อย!!

รับมือ พฤติกรรมเด็ก เปลี่ยน-ตัวร้าย-ให้กลายเป็น “นางฟ้า”

ทำไมหนูถึงกลายเป็น “ยัยตัวร้าย”

พฤติกรรมลูก
พฤติกรรมลูก

เริ่มเป็นตัวของตัวเอง (แต่ไม่มีเหตุผล) – เด็กในวัย 2-3 ขวบ จะสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น การทานอาหารได้เอง เดินได้เอง วิ่งได้เอง พูดในสิ่งที่ต้องการพูดได้เอง จึงมีความคิดเป็นของตัวเอง ทราบความต้องการของตัวเองว่าต้องการอะไร แต่ยังไม่คิดถึงเหตุและผลของการกระทำนั้น ๆ ที่จะตามมา

ข้อจำกัดเรื่องภาษา – ด้วยความที่ลูกยังเล็กเกินไป ลูกก็เลยยังไม่รู้จะสื่อให้คุณพ่อคุณแม่ทราบได้อย่างไรว่า อาการที่ลูกเป็นนั้น เป็นเพราะลูกหิว ลูกร้อน ลูกหงุดหงิด หรือแม้แต่ง่วงนอน ลูกรู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นไม่ดี และด้วยสาเหตุดังกล่าวยิ่งส่งผลทำให้พวกเขาหงุดหงิดเพิ่มมากขึ้น

เถียงเก่ง (แต่คุมตัวเองไม่ได้) – ลูกจะเริ่มเรียนรู้ว่าสามารถเถียงกลับได้เมื่อมีอารมณ์โกรธ จึงเริ่มที่จะแสดงอารมณ์โกรธด้วยการเถียง การกริ๊ด หรือการดิ้นตัวงอ แต่ลูกยังไม่รู้ว่าพฤติกรรมที่ใช้แสดงอารมณ์อยู่นั้น เป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรแสดงออกมา และควรควบคุมอารมณ์อย่างไร

อยากทำบางสิ่งบางอย่างแต่ทำไม่ได้ – ยกตัวอย่างเช่น ลูกอยากที่จะเขียนหนังสือ อยากผูกเชือกรองเท้า หรืออยากติดกระดุมเสื้อเอง แต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร พอพวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะทำ แต่กลับทำไม่ได้เลยยิ่งส่งผลทำให้หงุดหงิด และร้องโวยวายมากขึ้น

มองตัวเองเป็นศูนย์กลาง อยากได้ความรักมากที่สุด – เด็กวัยนี้ รับรู้มาตลอดว่าทุกคนให้ความรักและความสำคัญเพราะพวกเขาเด็กที่สุด แต่เมื่อไรก็ตามที่มีน้อง หรือมีเด็กคนอื่น หรือบุคคลอื่นมาทำให้ความสำคัญของเขาลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ ลูกก็จะยิ่งแสดงความไม่พอใจออกมา เนื่องจากเกิดอาการหึงหวง และรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญลดน้อยลงด้วย เป็นต้น

อยากรู้ อยากลอง ไม่รู้จักกลัว – ลูกจะรู้จักการตอบโต้กลับ จึงอยากรู้ว่าหากลองทำแบบนี้ พ่อแม่จะทำอย่างไรนะ? ลูกจึงแสดงพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างที่ดูเหมือนจะกำลังท้าทายคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะต้องเข้าใจว่าสิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่นั้น คือการลองใจพ่อแม่นั่นเอง

ไม่สบายตัว – เมื่อไรก็ตามที่ลูกรู้สึกว่าตัวเองไม่สบายตัว ยกตัวอย่างเช่น อยู่ในอากาศที่ร้อนหรือหนาวจัด ง่วงนอนหรือนอนไม่พอ หรือแม้แต่หิวละก็ ลูกก็จะไม่สามารถบอกคุณพ่อคุณแม่ให้เข้าใจได้ ดังนั้น จึงเกิดเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่ารักนี้ขึ้น

ภารกิจ เปลี่ยน “ยัยตัวร้าย” ให้กลายเป็น “นางฟ้า”

ลูกดื้อ
ลูกดื้อ

เมื่อทราบถึงสาเหตุที่ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การกริ๊ดลั่นบ้าน การดิ้นตัวงอ พ่อแม่จึงมีภารกิจ เปลี่ยน พฤติกรรมเด็ก เหล่านี้ ให้ลูกมีพฤติกรรมและการแสดงออกที่เหมาะสม มาดูกันว่าต้องทำอย่างไรกันบ้าง?

  1. ลูกเริ่มงอแง อย่าเปิดฉากด้วยคำต่อว่า หันมาหายใจลึก ๆ คุมอารมณ์แม่ให้นิ่ง

ก็เหมือนเวลาเราทะเลาะกับใครก็ตาม เมื่ออีกฝ่ายนึงต่อว่า แสดงอารมณ์โกรธ อีกฝ่ายที่โกรธอยู่แล้วก็จะยิ่งโกรธมากขึ้น แถมยังโกรธเพิ่มจากคำพูดที่ฝ่ายแรกต่อว่ามาอีก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องคุมอารมณ์ให้นิ่งให้ได้ก่อนค่ะ หากยังคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ อนุญาตให้ตัวเองเดินหนีออกมาก่อน ก่อนที่จะต่อว่าลูกออกไปจนเรื่องราวบานปลาย เมื่ออารมณ์เย็นลง ค่อยเดินกลับไปพูดคุยกับลูก

2. ตั้งเงื่อนไข บอกให้เข้าใจ “ถ้าหนูร้องเอาแต่ใจ แม่ไม่สนใจทันที”

ต้องมีการตั้งกฎ กติกา กันให้ชัดเจน คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกให้เข้าใจถึงกฏ กติกา การอยู่ร่วมกันกันก่อนว่า หากมีการทะเลาะกันเมื่อไหร่ ควรจัดการกับสถานการณ์เหล่านี้อย่างไร สิ่งใดที่จะทำให้เหตุการณ์แย่ลง การที่หนูร้องโวยวายเอาแต่ใจ จะทำให้เหตุการณ์แย่ลง ทำให้พูดคุยกันด้วยเหตุและผลไม่รู้เรื่อง ดังนั้น เมื่อหนูเริ่มร้องไห้ โวยวายเมื่อไหร่ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะทำคือการไม่สนใจและเดินหนี คุณพ่อคุณแม่ควรทำให้ได้ตามที่ตกลงกันจริง ๆ เพราะจะทำให้ลูกรู้ว่าเมื่อข้ามเส้นไปร้องเอาแต่ใจเมื่อไหร่ ลูกจะไม่ได้รับความสนใจ และจะไม่ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ

สอนลูก
สอนลูก

3. ตั้งกฎให้ลูก แล้วบอกกับตัวเองให้จริงใจ “เห็นน้ำตาไหลแค่ไหน ต้องไม่ใจอ่อน”

เมื่อตั้งกฎ กติกา ให้ชัดเจนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องทำตามกฎที่ตั้งไว้อย่างจริงจัง ควรตกลงกันเองก่อนว่าห้ามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใจอ่อน ไม่ใช่ว่าคุณแม่ไม่ยอม แต่พอคุณพ่อเห็นลูกร้องไห้อ้อนวอน ก็กลับยอม ไปบอกคุณแม่ให้ หยวน ๆ ไปเถอะ แบบนี้ก็ไม่ได้นะคะ เพราะลูกจะรู้ทันทีว่าต้องทำแบบไหน กับใคร แล้วจะได้รับสิ่งที่ต้องการ กฎ กติกาที่ตั้งไว้ จะไม่สามารถทำได้ทันที

4. ลูกไม่ใช่ศัตรู

ต่อให้ลูกอารมณ์ร้ายแค่ไหน อย่างไรก็ตาม เค้าก็คือลูกของเรา อย่าเผลอมองลูกเป็นศัตรู เพราะต้องการเอาชนะลูกให้ได้ เพราะสุดท้าย ต่อให้คุณพ่อคุณแม่เอาชนะลูกได้ คนที่เสียใจที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่เองนะคะ ดังนั้น เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ให้คุณพ่อคุณแม่มอบอ้อมกอดที่อบอุ่น พร้อมทั้งคำปลอบโยนเสียงหวาน ที่เปรียบเสมือนน้ำเย็นชโลมใจ ให้ลูกสงบลง

3 อาการ “สุดเหวี่ยง” รับมืออย่างไรดี?

พฤติกรรมเด็ก
พฤติกรรมเด็ก

มาพบกับ พฤติกรรมเด็ก สุดเหวี่ยง ที่มักเจอกันเป็นประจำ พร้อมวิธีการรับมือกันค่ะ

เหวี่ยงแล้วนะ อยากเอาให้ได้

วิธีรับมือ – เมื่อลูกต้องการของสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรเก็บสิ่ง ๆ นั้น ให้พ้นจากสายตาลูก อย่าวางสิ่งนั้นไว้ใกล้ ๆ เพื่อกระตุ้นความอยากของลูก

เหวี่ยงงอแง เรียกร้องความสนใจ

วิธีรับมือ – บอกให้รู้ว่ายังไม่ว่าง ใช้คำสั่งสั้น ๆ อยากให้ทำอะไรคะ? (แต่เมื่อคุณพ่อคุณแม่ว่างแล้ว ก็ควรหาเวลามาอยู่กับลูกด้วยนะคะ เพราะพฤติกรรมเหวี่ยงแบบนี้ คือลูกต้องการอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ค่ะ)

เหวี่ยงดื้อรั้น ไม่ทำตาม

วิธีรับมือ – ให้ตัวเลือกแบบจำกัด ไม่ ก. ก็ ข. คุณพ่อคุณแม่ควรบอกเหตุผลว่าถึงไม่ทำตาม แล้วให้ตัวเลือกว่าหากทำตามแล้วจะเป็นอย่างไร หากไม่ทำตามแล้วจะเป็นอย่างไร แล้วให้ลูกได้เลือกเอง ลูกจะรู้สึกว่าลูกได้เลือกทางของตัวเองแล้ว ไม่มีใครมาบังคับให้ทำ

วัยทอง 2 ขวบ
วัยทอง 2 ขวบ

ด้านแพทย์หญิงสินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี ได้กล่าวถึงพฤติกรรมนี้ว่า การแสดงออกเช่นนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการลูก คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยนี้ควรที่จะเข้าใจมากกว่า การดุด่า ว่าทอ หรือตบตีลูก

เนื่องจากพวกเขา เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง อยากรู้อยากเห็น มีความต้องการที่จะควบคุมทุกอย่าง อยากมีอิสระ และพยายามที่จะทำอะไรก็แล้วแต่ที่เกินความสามารถของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ยังไม่โตพอที่จะรู้จักควบคุมตัวเองได้ดีพอ และเมื่อไรก็ตามที่เหนื่อย หิว หงุดหงิด หรือกลัว ความก้าวร้าวก็เริ่มทวีคูณมากขึ้นตามไปด้วย

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เปลี่ยน “พ่อแม่” เป็นโค้ชชีวิต เสริมภูมิต้านทานอุปสรรคให้แก่ลูก

9 วิธีสอนลูกไม่ให้แกล้งเพื่อน หรือไปทำร้ายคนอื่น

พ่อแม่ปรับวิธีเลี้ยงลูกด่วน! 7 พฤติกรรมเด็ก ที่ควรพบจิตแพทย์

ลูกติดจอ ติดมือถือ แก้ได้ด้วยกฎ 3 ต้อง 3 ไม่

 

อ้างอิง: แพทย์หญิงสินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up