รับมือเจ้าหนูจำไมจอมดื้อ วัย 3-5 ขวบ

รับมือเจ้าหนูจำไมจอมดื้อ วัย 3-5 ขวบ

Alternative Textaccount_circle
event
รับมือเจ้าหนูจำไมจอมดื้อ วัย 3-5 ขวบ
รับมือเจ้าหนูจำไมจอมดื้อ วัย 3-5 ขวบ

นึกถึงเด็กที่กำลังเล่นอยู่บนหาดทราย เดินเล่นและสำรวจสิ่งต่างๆ เพียงลำพัง แต่เมื่อเจอคนแปลกหน้ากลับวิ่งหาพ่อแม่” นี่คือภาพที่บอกเล่าว่าลูกวัยนี้ต้องการเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็ยังต้องการความรักและความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยจากพ่อแม่ด้วย

ภาพแบบนี้คงพอบอกได้ว่าพฤติกรรมแต่ละอย่างของลูกวัยนี้ ทำให้พ่อแม่ปวดหัวได้ง่าย มาดูกันว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างและมีวิธีรับมือได้อย่างไร ก่อนจะกวนอารมณ์คุณให้ขุ่น

“เมื่อคืนเจอนางฟ้าจริงๆ นะ!”

ลูกน้อยวัยนี้มักจะพูดคุยโม้ให้โอเวอร์ไว้ก่อน ขอแนะนำว่า คุณแม่ไม่ควรรีบร้อนไปตำหนิ เพราะลูกน้อยยังไม่รู้หรอกว่านั่นคือการโกหก เขาเพียงแต่พูดตามสิ่งที่เขาจินตนาการเท่านั้น แทนที่จะต่อว่าจนเสียใจเสียอารมณ์ จินตนาการถึงนางฟ้าด้วยกัน และค่อยๆ อธิบายความจริงหรือจะแนะนำเสริมว่าถ้าลูกอยากเจอนางฟ้าจริงๆ ต้องเป็นเด็กดีอย่างไรบ้าง เพียงเท่านี้จะได้ช่วยเสริมจินตนาการพร้อมกับได้สอนเขาไปในตัว แบบไม่ขุ่นมัวด้วยค่ะ

“เอามานี่ จะทำเอง!”

วัยนี้จะรั้นทำอันนั้นอันนี้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เพราะเป็นเด็กเอาแต่ใจหรอกค่ะ แต่เป็นธรรมชาติของเด็กวัยนี้ที่เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองสูง “แทนที่จะห้ามไปเรื่อย แต่ก็ห้ามไม่ได้จนคุณของขึ้น ลองพิจารณาว่าถ้าสิ่งที่ลูกน้อยอยากทำนั้นไม่เป็นอันตราย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ก็ปล่อยให้เขาได้ทำได้เล่นเต็มที่ เพราะลูกวัยนี้จะได้เรียนรู้จากการเล่นมากที่สุดเลย”

“ทำไม?”

“ทำไมอันนั้นเป็นอย่างนั้นล่ะ” “ทำไมอันนี้ต้องเป็นอย่างนี้ด้วย” “ทำไม ทำไม ทำไม…” เป็นคำถามที่ลูกน้อยถามคุณแม่ได้ทั้งวันไม่เบื่อ มีทั้งที่ถามด้วยความสงสัยจริงๆ และถามทั้งที่รู้คำตอบอยู่แล้ว ถามจนคุณแม่ตอบไม่ไหว คำแนะนำคือ ถ้าคุณพ่อคุณแม่อดทนและตอบคำถามเป็นเรื่องราวได้ ลูกน้อยจะได้เรียนรู้ทั้งภาษา เนื้อหาที่ถูกต้อง และยังเสริมสร้างจินตนาการให้ลูกน้อยได้ด้วย แต่ถ้าไม่รู้ก็บอกได้ว่า “ไม่รู้สินะ” หรือถ้าไม่ไหวก็บอกเขาได้ว่า “แม่ขอพักก่อนนะ”

“ไม่อยากไปโรงเรียน”

ลูกน้อยวัยนี้งอแงเอาแต่ใจเหลือเกิน ไม่อยากไปโรงเรียนก็โวยวาย ไม่ได้ดั่งใจก็ร้องไห้งอแง คุณแม่ต้องรองรับทุกอารมณ์ของลูกน้อยจนชักจะมีอารมณ์ (หงุดหงิด) ขึ้นมาบ้างแล้ว วิธีแก้ไขอาการงอแงของลูกวัยอนุบาลที่ดีที่สุด คือให้รางวัลเมื่อเขาทำความดี แทนที่จะซื้อของเล่นให้เขาโดยไม่มีเหตุผล ซื้อของเล่นเก็บไว้ก่อน แล้วค่อยนำมาให้เมื่อเขาทำความดีหรือเชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่เป็นพิเศษและงดรางวัลเมื่อเขาทำสิ่งไม่ดีโดยไม่จำเป็นต้องลงโทษด้วยความรุนแรง

 

บทความโดย : กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

ภาพ : Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up