อย่างไรก็ตาม อาการหลายอย่างเหล่านี้ อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคอื่นๆ นอกจากนี้ ผู้ติดเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการใดๆ เลย ระยะเวลาระหว่างการสัมผัสกับแหล่งที่ปนเปื้อนและการป่วยคือ 2 วันถึง 4 สัปดาห์ การเจ็บป่วยที่ต้องสงสัย มักเริ่มด้วยการมีไข้อย่างกะทันหัน นอกจากนี้การแสดงอาการของโรคอาจใช้เวลาไม่กี่วัน ไปจนถึง 3 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น หากไม่มีการรักษาที่เหมาะสม อาจต้องใช้เวลาหลายเดือนในการฟื้นตัว
ประเภทของโรคฉี่หนู
- ระยะแรก : แอนนิเทอริกซินโดรม (Anicteric syndrome) การเจ็บป่วยในระยะแรกมักไม่รุนแรง พบได้ถึง 90 เปอร์เซนของผู้ป่วยทั้งหมด ผู้ป่วยอาจมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน หรือท้องร่วง ผู้ป่วยอาจฟื้นตัวได้ระยะหนึ่งแต่กลับมาป่วยอีกครั้ง
- ระยะที่สอง : ไอเทอริก ซินโดรม (Icteric syndrome) ระยะที่สอง พบได้ประมาณ 10 เปอร์เซนของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งอาการของโรคจะรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจไตหรือตับวายหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยทั่วไป โรคฉี่หนูชนิดนี้จะกินเวลานานหลายสัปดาห์ อาการอื่นๆ อาจแตกต่างกันไปตามความรุนแรง และอาจรวมถึงดีซ่าน (ผิวหนังและตาเหลือง) ตาแดง ปวดท้อง และท้องร่วง กรณีการเสียชีวิตอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากหัวใจ ตับไต หรือระบบการหายใจของผู้ป่วยล้มเหลว
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคฉี่หนูแพทย์จำเป็นต้องพิจารณา แยกโรคฉี่หนู ออกจากโรคที่มีไข้ต่างๆ เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันของลักษณะทางคลินิกของโรคฉี่หนูกับการติดเชื้อ อื่น ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ลำไส้อักเสบ และไวรัสตับอักเสบเอ ซึ่งจำเป็นต้องมีดัชนีชี้วัดสูงในการวินิจฉัยโรค นอกจากนี้ การศึกษาในห้องปฏิบัติการ ใช้เพื่อวัตถุประสงค์สองประการ คือ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและเพื่อกำหนดขอบเขตของการตอบสนองของอวัยวะ และความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน การยืนยันในห้องปฏิบัติการของโรคฉี่หนูสามารถทำได้โดยการแยกเชื้อโรคหรือโดยการทดสอบทางซีรั่ม เพื่อตรวจหาโรคฉี่หนู แพทย์จะทำการตรวจหาแอนติบอดีที่ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อต่อสู้กับแบคทีเรีย
การรักษา
โรคฉี่หนูรักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลิน ไซโปรฟลอกซาซิน และเตตราไซคลิน เด็กที่เป็นโรคฉี่หนู ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและรับการรักษาและติดตามอาการแทรกซ้อน อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำในกรณีที่มีอาการรุนแรงขึ้น เด็กที่มีไข้เฉียบพลัน มักจะต้องได้รับการรักษาโดยด่วน ยาลดไข้ (ให้พาราเซตามอลหลีกเลี่ยงแอสไพริน) สามารถใช้สำหรับควบคุมอาการไข้ หากเด็กมีอาการโลหิตจางมีเลือดออกเป็นจุดตามผิวหนังและเยื้อบุอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยหนักในเด็ก
รูปแบบการรักษาด้วยยา ตามความรุนแรงของโรค
อาการไม่รุนแรง — สำหรับเด็กที่อาการไม่รุนแรง จะได้รับการรักษาด้วยยา ด็อกซีไซคลิน 2 มก./กก. ต่อวัน โดยแบ่งเป็นสองครั้ง (ไม่เกิน 200 มก. ต่อวัน) เป็นเวลา 7 วัน หรือยา Azithromycin : 10 มก./กก. รับประทานในวันที่ 1 [ขนาดสูงสุด 500 มก./วัน] ตามด้วย 5 มก./กก./วัน รับประทานวันละครั้งในวันถัดไป [ขนาดยาสูงสุด 250 มก./วัน])
อาการรุนแรง – สำหรับเด็กที่มีอาการรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเพนิซิลลิน (250,000 ถึง 400,000 หน่วย/กิโลกรัม ฉีดเข้าเส้นเลือดต่อวัน โดยแบ่งเป็น 4-6 ครั้ง [ขนาดสูงสุด 6 ถึง 12 ล้านหน่วยต่อวัน]), ด็อกซีไซคลิน (4 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำต่อวันใน แบ่งขนาดยาเท่าๆ กัน 2 ครั้ง (ขนาดสูงสุด 200 มก./วัน]), เซฟเทรียโซน (80 ถึง 100 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำวันละครั้ง [ขนาดสูงสุด 2 กรัมต่อวัน]) หรือเซโฟแทกซิม (100 ถึง 150 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำต่อวันในสามถึงสี่ครั้ง) แบ่งเท่าๆกัน) สำหรับเด็กที่ไม่สามารถทนทานต่อตัวยาข้างต้น Azithromycin เป็นทางเลือกที่ยอมรับได้ (10 มก./กก. ทางหลอดเลือดดำ ในวันที่ 1 [ขนาดสูงสุด 500 มก./วัน] ตามด้วย 5 มก./กก./วันทางหลอดเลือดดำวันละครั้งในวันถัดไป [ขนาดยาสูงสุด 250 มก./วัน]) ระยะเวลาในการรักษาอาการร้ายแรง มักใช้เวลาประมาณ 7 วัน
การป้องกัน
ความเสี่ยงในการเกิดโรคฉี่หนูจะลดลงได้อย่างมากหากหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่อาจติดเชื้อ เช่น ไม่ว่ายน้ำหรือลุยน้ำที่อาจมีการปนเปื้อนปัสสาวะของสัตว์ ชุดป้องกันหรือรองเท้าที่มิดชิด เช่นรองเท้าบูท ควรให้เด็กสวมใส่เสมอหากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำหรือดินที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อ นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรสอนไม่ให้เด็กๆ ลุยน้ำท่วมหรือเล่นในแอ่งน้ำนิ่ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และยังเป็นการเสริมสร้างทักษะความฉลาดรอบด้านที่สำคัญ สำหรับเด็กด้วย Power BQ ในด้านของ ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี HQ ได้อีกทางหนึ่งด้วยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.healthline.com , https://www.researchgate.net , http://www.leptospirosis.org , https://www.uptodate.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่