7.ต้องนำเสนออย่างมีความสุข
ทุกครั้งที่คุณพ่อคุณแม่หยิบหนังสือมาอ่าน ขอให้เป็นเวลาแห่งความสุข ไม่ใช่หยิบมาแล้วอารมณ์เสีย แต่ต้องแสดงท่าทางที่เป็นสุข เพื่อที่ นักอ่านตัวน้อย จะได้มีความสุขใจในการหนังสือไปด้วย
8.ต้องหากิจกรรมสนุกๆ มาประกอบ
การอ่านหนังสืออย่างเดียวอาจไม่ถูกใจลูก ดังนั้นก่อนการอ่าน ระหว่างการอ่าน หรือหลังการอ่าน ถ้าพ่อแม่เตรียม และทำกิจกรรม หรือเล่นกับลูก ก็จะสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านได้ง่ายขึ้น เช่น ทายปัญหาอะไรเอ่ย หรืออื่นๆ ที่สำคัญอย่าลืมตุ๊กตา ของเล่น หรือเกมต่างๆ ที่ควรนำมาอ่านไปเล่นไป อ่านไปร้องไป หรืออ่านไปเต้นไป นั่นจะทำให้ลูกไม่เบื่อ และสนุกกับการอ่านหนังสือร่วมกับพ่อแม่
9.ต้องชอบต่อยอดทางความคิด
เวลาคุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือ หรือนิทานให้ลูกฟังต้องตั้งคำถาม และเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดอยู่เสมอ เช่น ไก่มีกี่ตา นับสิลูก แล้วหนูมีกี่ตาลูก เอ้ามีตาเท่ากับไก่เลย เป็นต้น นี่จึงถือเป็นการต่อยอดทางความคิดขณะเล่านิทาน เจอช่องไฟตรงไหนที่เหมาะสมให้รีบต่อยอดทันที แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกเบื่อได้
10.ต้องไม่คิดถึงวัย
เวลาอยู่กับลูกพ่อแม่ต้องสลัดวัยที่เป็นอยู่ทิ้ง แล้วสวมบทบาทให้ใกล้เคียงกับลูก หรือทำตัวร่วมสมัย ร่วมวัยกับลูก เล่นเป็นเล่น ร้องเป็นร้อง คลานเป็นคลาน วิ่งเป็นวิ่ง โดดเป็นโดด เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้อง และเป็นเพื่อนเล่นที่ดีของลูกได้ เชื่อว่า เพื่อลูกคุณต้องทำได้ครับ
11.ต้องใช้เวลาพอดี
การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ต้องใช้เวลาที่ไม่นานมากจนเกินไปจนทำให้ลูกเบื่อ หรือสั้นเกินไปจนทำให้ลุกหงุดหงิด ต้องสังเกตท่าทีของลูกว่า ยังต้องการฟังอยู่หรือเปล่า ถ้ายังต้องการฟังก็ควรอ่านไปเรื่อยๆ แต่ถ้าลูกเริ่มสนใจสิ่งอื่น ก็ควรจะยุติการอ่าน ไม่ควรฝืนลูกให้นั่งฟังต่อไป
12.ต้องมีระเบียบชีวิต
การอ่านหนังสือต้องทำทุกวัน หรือทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะอ่านหนังสือร่วมกันหลังจากรับประทานอาหาร ปิดโทรทัศน์ตอน 1 ทุ่ม แล้วอ่านหนังสือร่วมกัน หรืออ่านหนังสือก่อนนอนทุกวัน ดังนั้นถ้าทำเป็นประจำ ลูกจะเกิดความเคยชิน และปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย มีวินัย ใส่ใจการอ่าน ไม่นานเห็นผลแน่
การสร้างลูกรักให้เป็น นักอ่านตัวน้อย ไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มต้นได้จากครอบครัว ส่วนอีก 7 อย่า ที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูกนั้นมีอะไร สำคัญอย่างไรต่อการสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่าน ไปดูกันเลยค่ะ