หมอเตือน! ลูกนอนกรน! เสี่ยงพัฒนาการถดถอย - Amarin Baby & Kids
ลูกนอนกรน

หมอเตือน! ลูกนอนกรน! เสี่ยงพัฒนาการถดถอย

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกนอนกรน
ลูกนอนกรน

ลูกนอนกรน! ฟังดูธรรมดา แต่หารู้ไม่ว่า เสี่ยงพัฒนาการถดถอย อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการป่วยเป็น 5 โรคร้าย!

 

 

เมื่อไหร่ก็ตามที่ “ลูกนอนกรน” ขอให้คุณพ่อคุณแม่อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะอาการดังกล่าว อาจส่งผลร้ายต่อพัฒนาการของลูก อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในอาการของ 5 โรคร้ายอีกด้วย!

คุณพ่อคุณแม่ทราบกันหรือไม่คะว่า ได้มีการศึกษาพบว่า 20% ของเด็กมีอาการนอนกรนนั้น 7-10% มีอาการนอนกรนทุกคืน และเด็กหลายรายที่นอนกรนนั้นมีสุขภาพดี แต่ประมาณ 2% พบว่ามีปัญหาในขณะหลับ  ส่วนใหญ่แล้วจะพบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 2 – 6 ปี เพราะเด็กในวัยนี้จะมีต่อมทอมซิล และต่อมอะดีนอยด์ ที่ทำให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ จนเกิดเป็นเสียงกรนที่มีผลกระทบโดยตรงทางด้านร่างกาย และพัฒนาการทางสมอง เด็กที่มีอาการหายใจลำบากขณะนอนนั้น อาจมีภาวะหยุดหายใจได้ในขณะหลับ หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA)

 โรคนอนหยุดหายใจชนิดอุดกั้น คืออะไร?

ในขณะที่ลูกกำลังนอนหลับ กล้ามเนื้อที่คอยทำหน้าที่ตึงตัวและช่วยขยายทางเดินหายใจช่องคอจะหย่อนตัวลง ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ทางเดินหายใจนั้นแคบลง แต่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหากับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าวนั้น ทางเดินหายใจจะตีบแคบลง ทำให้หายใจได้ลำบากขึ้น ซึ่งสมองจะรับรู้ภาวะนี้และสั่งการให้เพิ่มแรงในการหายใจ และเจ้าสิ่งนี้เองที่จะไปกระตุ้นให้สมองตื่นตัวเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อช่องคอกลับมาตึงตัวและเปิดทางเดินหายใจอีกครั้งนึง โดยวงจรดังกล่าวจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นสิบ ๆ ถึงร้อยครั้งในแต่ละคืน ทำให้รบกวนการนอนหลับและส่งผลให้สมองไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอขณะที่กำลังนอนหลับ
อาการที่น่าสงสัยว่าลูกอาจเป็นโรคดังกล่าวได้แก่
  • ให้ฟังและสังเกตเสียงกรนของลูกว่า เวลาที่เขาหลับแล้ว มีเสียงกรนแบบขาด ๆ หาย ๆ หรือมีการหยุดหายใจไปชั่วขณะบ้างหรือไม่
  • มีอาการสะดุ้งตื่นหลังเสียงกรน หรือเสียงกรนดังเฮื้อก คล้ายกับคนขาดอากาศหายใจ สังเกตว่ารอบริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำหรือไม่
  • ตอนช่วงกลางวัน เด็กมีอาการง่วงนอนเหมือนนอนไม่พอ หงุดหงิดง่าย ซนมาก ปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ๆ และพฤติกรรมเปลี่ยนไปโดยรวดเร็วบ้างหรือเปล่า
  • เหงื่อออกง่าย และหายใจเหนื่อยหอบตอนหลับ หน้าอกบุ๋ม คอบุ๋ม และท้องโป่ง

อ่านสาเหตุของการเกิดโรคได้ที่หน้าถัดไป


เครดิต: ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up