ลูกนอนกรนอาจเกิดจากโรคดังต่อไปนี้?
-
ลูกมีต่อมทอนซิลโต หรือต่อมอะดีนอยด์ ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองอยู่ด้านหลังของโพรงจมูกโต ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ด้านหลังของโพรงจมูก เป็นสาเหตุที่พบได้ในเด็ก หากเด็กมีการอักเสบ หรือมีอาการน้ำมูกไหลเรื้อรัง ครืดคราดในลำคอ เจ็บคอบ่อย ชอบสูดน้ำมูกหรือเสมหะลงคอ เสียงอู้อี้เป็นต้น
-
โรคไซนัสอักเสบหรือภาวะจมูกบวมอักเสบเรื้อรังอันเกิดจากโรคภูมิแพ้
-
ลูกป่วยเป็นโรคอ้วน ผนังที่คอหนาขึ้นส่งผลให้ช่องคอแคบลง
-
มีความผิดปกติของโครงกระดูกหน้าเช่น คางสั้น คางเล็ก หรือหน้าแคบเป็นต้น
-
ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือโรคทางสมอง และกล้ามเนื้อที่มีผลต่อการหายใจ
นอกจากโรคดังกล่าวแล้ว เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ยังส่งผลต่อพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการลดลงของฮอร์โมนที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ซึ่งจะมีการหลั่งสูงมากในเวลานอนหลับลึก เป็นต้น
ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย
หลักในการวินิจฉัยนั้น จะแม่นยำได้ต้องอาศัยประวัติของคนในครอบครัว การตรวจร่างกายตั้งแต่บริเวณศีรษะ ใบหน้า หู คอ จมูก ช่องปาก การตรวจปอด และหัวใจ หรือระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยการ X-rayบริเวณศีรษะด้านข้างเพื่อดูความกว้างของทางเดินหายใจ และหากทำได้ เด็กที่นอนกรนควรได้รับการตรวจการนอนหลับ (sleep test) เพื่อตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด ระบบหายใจ รวมถึงคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งสามารถทำในโรงพยาบาล หรือที่บ้านตามความเหมาะสมหรือตามคำแนะนำของแพทย์
หากไม่รักษาจะเกิดอะไรขึ้น คลิก!
หากไม่รักษาอาการดังกล่าว จะเกิดอะไรขึ้น?
ลูกอาจจะเกิดภาวะง่วงนอนผิดปกติ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคซึมเศร้า และโรคอื่น ๆ ตามมาภายหลังได้
ดูแลลูกที่ป่วยเป็นโรคนี้อย่างไร?
-
ปรับตารางการนอน โดยให้เด็กเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาสม่ำเสมอ พร้อมทั้งควบคุมอาหาร และให้ลูกออกกำลังกายเป็นประจำ
-
เด็กมีอาการน้ำมูกไหล ซึ่งน้ำมูกจะยิ่งเข้าไปอุดตัน ทำให้เด็กหายใจทางจมูกลำบาก ให้ทำการล้างจมูกลูก ด้วยน้ำเกลือ และหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้น้ำมูกเพิ่มขึ้น
-
หมั่นทำความสะอาดบ้าน ห้องนอน ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม และของใช้ในบ้าน
-
หากลูกมีอาการกรนมากขึ้น ให้จับลูกนอนในท่าตะแคง
-
หากพบว่าลูกมีอาการหยุดหายใจ แนะนำให้พบแพทย์ทันที เพราะลูกอาจจะต้องใส่เครื่องครอบ เพื่อช่วยหายใจขณะนอนหลับ เพราะเครื่องดังกล่าว จะมีส่วนช่วยในการเปิดทางเดินหายใจที่แคบนั้นให้กว้างขึ้น
-
ทำร่างกายของลูกให้อบอุ่น ลดดื่มน้ำเย็นหรือของเย็น อย่าให้หน้าอกโดนลมมากเกินไป
-
ให้ลูกหมั่นจิบน้ำบ่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายได้ดูซับน้ำเอาไว้ใช้ขณะนอน เพราะตอนนอนจมูกและเพดานจะแห้งลง อาจส่งผลให้เกิดเสียงกรนได้ง่าย
อ่านวิธีการรักษาได้ที่นี่!
เครดิต: Honestdocs