8 คำพูดที่ลูกไม่อยากได้ยิน จากปากพ่อแม่ - Amarin Baby & Kids
คำพูดที่ลูกไม่อยากได้ยิน

8 คำพูดที่ลูกไม่อยากได้ยิน จากปากพ่อแม่ พูดแบบนี้โตไปลูกแย่แน่!

Alternative Textaccount_circle
event
คำพูดที่ลูกไม่อยากได้ยิน
คำพูดที่ลูกไม่อยากได้ยิน

5.”ลูกน่าจะทำได้มากกว่านี้นะ”

การที่ลูกตั้งใจจะพยายามทำอะไรบางอย่าง แต่กลับถูกคุณพ่อคุณแม่มองว่าทำไม่ได้ หรือมีคำพูดประชดประชัน คำพูดแบบนี้ทำให้ลูกขาดเป้าหมาย หมดกำลังใจ แล้วก็รู้สึกไม่ดีเอามาก ๆ เมื่อมีปัญหาอะไรก็จะไม่อยากพึ่งพาพ่อแม่เพราะกลัวถูกซ้ำเติม ทำให้อาจหันเข้าหาเพื่อนหรือคนอื่น

คำที่ลูกไม่อยากได้ยิน
คำที่ลูกไม่อยากได้ยิน

6.พูดจาตะคอกเสียงดัง

เวลาคุณพ่อคุณแม่โมโหระดับเสียงพูดที่ปกติอาจจะเพิ่มเดซิเบลขึ้น เสียงตะคอกส่งผลทำห้ลูกกลัว ตกใจ และเป็นการสร้างพฤติกรรมที่ทำให้ลูกซึมซับและเลียนแบบ เมื่อลูกโมโหก็อาจทำให้ลูกขึ้นเสียงดังใส่พ่อแม่ได้เช่นกัน

7.”จะไปไหนก็ไป!”

การตวาดและไล่ลูกด้วยอารมณ์ชั่ววูบของคุณพ่อคุณแม่ เหมือนฟ้าผ่าลงในใจลูก ซึ่งทำให้ลูกมองว่าพ่อแม่ไม่สนใจ ส่งผลทำให้ลูกแสดงพฤติกรรมต่อต้านและก้าวร้าว

คำพูดที่ไม่ควรพูดกับลูก

8.”ทำตัวแบบนี้แม่โกรธมากนะ”

ในความเป็นเด็กที่มีความไร้เดียงสา บางการกระทำอาจจะไม่รู้ว่าอะไรถูกหรือผิด และเป็นผลทำให้พ่อแม่โมโห ตวาดใส่ลูก แต่ในฐานะผู้ปกครองแทนที่จะแสดงความโกรธเคืองในสิ่งที่ลูกทำ สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งตำหนิลูก แล้วอธิบายว่าสิ่งที่ลูกทำจะส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไร การสอนลูกอย่างมีสติจะกระตุ้นให้ลูกเข้าใจถึงความรู้สึกของอื่น มีเหตุผลมากขึ้น

“5 ให้” หยุดพูด หยุดทำร้ายลูกโดยไม่ได้ตั้งใจ

จะเห็นได้ว่าคำพูดบางประโยคสร้างขึ้นมาเพื่อทำร้ายจิตใจลูกและส่งผลต่อพฤติกรรมด้านลบในอนาคตได้ มีผลสำรวจของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากจำนวนผู้ให้ข้อมูล 2,280 ครัวเรือน พบว่าความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในปี 2560 ส่วนใหญ่เกิดจากการทำความรุนแรงด้านจิตใจ โดยการดูถูก บังคับ พูดจาด่าทอ และทำให้อับอาย ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดถึง 32.3% ดังนั้นสิ่งที่สามารถลดปัญหาในด้านนี้ให้กับเด็ก ๆ ได้คือ วิธีการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ในด้านลบทั้งคำพูดและการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการดุด่า ตะคอก บังคับ ข่มขู่ ดูถูก เปรียบเทียบ เพิกเฉย หรือการลงโทษลูกด้วยวิธีรุนแรง และใช้ด้านบวกในการอบรมสอนลูก ส่งเสริมให้ลูกได้รับพัฒนาการดี ๆ ด้วยวิธี

1.ให้ความมั่นใจ เปลี่ยนจากคำพูดดูถูกประชดประชัน มาเป็นแสดงความชื่นชมยินดีเมื่อลูกทำได้ ส่งเสริมให้กำลังใจเมื่อลูกผิดพลาด ไม่ซ้ำเติม เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกและทำให้ลูกเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น

2.ให้ความไว้ใจ ให้ลูกได้ลองคิด เลือกเอง เปิดโอกาสให้ลูกได้ทำในสิ่งที่ชอบตามความถนัด ไม่ตัดสินใจแทนลูก ไม่คาดหวัง เพื่อให้ลูกได้กล้าคิด กล้าแสดงออก และเติบโตเป็นคนที่เชื่อมั่นในตัวเอง

3.ให้ความเข้าใจ พยายามรับฟังเหตุผลของลูกก่อนที่จะตัดสินว่ากล่าวลูก แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยเหตุผล เมื่อเกิดปัญหาก็ร่วมกันหาวิธีแก้ไข ไม่ดุด่าหรือบังคับ เพื่อให้ลูกกล้าที่จะพูดความจริงกับพ่อแม่ และเห็นว่าพ่อแม่คือที่ปรึกษาที่ดีสุด

4.ให้ความเห็นใจ พยายามเข้าใจความรู้สึกลูก ต้องเข้าใจว่าลูกยังคงเป็นเด็กที่มีประสบการณ์มาเพียงไม่กี่ปี อย่าตัดสินด้วยความคิดว่าลูกโตแล้วเพียงอย่างเดียว มองลูกด้วยความเห็นใจ ความรัก และปฏิบัติต่อลูกอย่างให้เกียรติว่าเด็กก็คือมนุษย์ที่เติบโตมาเหมือนกับคุณพ่อคุณแม่เช่นกัน

5.ให้ความสงบ ด้วยการไม่ตะคอกลูก ไม่ใช้อารมณ์รุนแรง เมื่อคุณพ่อคุณแม่ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ใช้สติก่อนพูดและลงมือทำ เด็กก็จะซึมซับพฤติกรรมที่ดีจากพ่อแม่ รู้จักควบคุมอารมณ์เป็น เมื่อลูกโตขึ้นก็จะรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในสิ่งต่าง ๆ ได้ดีเช่นกัน

ในฐานะคนเป็นพ่อแม่สิ่งที่พูดกับลูกนั้นส่งผลต่ออิทธิพล ความเชื่อ และพฤติกรรมของลูกมาก ดังนั้นการใช้คำพูดด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลและพูดแต่สิ่งดี ๆ กับลูก ก็จะส่งให้เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดี รู้สึกเป็นที่รัก มีความภาคภูมิใจในตัวเอง รู้จักคุณค่าในตัวเอง รู้จักใช้เหตุผล มีความเคารพผู้อื่น มีพฤติกรรมดี ๆ ไม่ก้าวร้าว ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลดีต่อตัวเด็กและคุณพ่อคุณแม่ด้วย ทั้งนี้นอกจากภาษาพูดดี ๆ แล้ว การแสดงความรัก การโอบกอด หอมแก้ม ฯลฯ ก็เป็นภาษากายที่ควรใช้ควบคู่ไปกับการเลี้ยงลูกให้ได้ผลดี ท้ายที่สุดแล้วคือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องการให้ลูกเติบโตมาเป็นอย่างไรก็ไม่ควรทำเป็นตัวอย่างไม่ดีกับลูกนะคะ.

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.cities.trueid.netwww.aboutmom.co

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก !

9 คำพูดที่ไม่ควรพูดกับลูก บั่นทอนจิตใจลูกถึงโต!

12 คำพูดของพ่อแม่ ที่มักหลุดปาก ทำลูกเสียใจ!!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up