วิธีการปั้นลูกให้เป็น "เด็ก 3 ภาษา" - Page 2 of 3 - Amarin Baby & Kids
เด็ก 3 ภาษา

วิธีการปั้นลูกให้เป็น “เด็ก 3 ภาษา”

Alternative Textaccount_circle
event
เด็ก 3 ภาษา
เด็ก 3 ภาษา
เด็ก 3 ภาษา
เครดิตภาพ: พ่อเอก-จิรัฏฐ์ สิริเฉลิมพงศ์

 

ในวันนี้เรามีวิธีการฝึกลูกให้เป็นเด็ก 3 ภาษาได้ง่าย ๆ ไม่ยากจากคุณพ่อเอก บล็อกเกอร์ชื่อดังมาฝากกันด้วยนะคะ คุณพ่อจะมีวิธีการอย่างไร อยากทราบแล้วไปอ่านบทความของคุณพ่อกันเลยค่ะ

ผมคิดว่าหลาย ๆ ครอบครัว คิดไว้ว่าอยากให้เจ้าตัวเล็กสามารถพูดได้หลาย ๆ ภาษา แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรดี และก็ไม่รู้ว่าวิธีที่ทำถูกต้องไหมเราคงได้ยินหรือได้อ่านเจออยู่เรื่อย ๆ เรื่องที่ว่าเด็กเกิดมาพร้อมกับความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษาได้หลายๆภาษาโดยไม่สับสนและเป็นการเรียนรู้ตามธรรมชาติ แต่เราก็คงแอบกังวล ไม่ได้ว่ามันจะเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า“เด็กจะไม่สับสนแล้วกลายเป็นพูดช้าหรือ?” น่าจะเป็นหนึ่งคำถามในใจ ของครอบครัวใครต่อใคร ครอบครัวเราเองก็เคยสงสัย แต่ตอนนี้ไม่แล้วฮะ
ปูนปั้นในวัย 2 ขวบ เกือบครึ่งตอนนี้ สามารถสื่อสารพูดคุยได้ 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ ภาษาจีนกว้างตุ้ง พูดคุยได้ในระดับที่ ปะป๊าอย่างผมก็ไม่สามารถจะเข้าใจได้ เวลาที่เจ้าปูนปั้นพูดภาษาจีนกวางตุ้งกับคุณยาย เพราะปูนปั้นสามารถโต้ตอบกับคุณยายได้โดยไม่มีคำไทยให้ผมเดาความ และเช่นกัน เมื่อถึงคิวปูนปั้นพูดภาษาอังกฤษกับผม ก็ทำเอาคุณยายต้องทำหน้างงเหมือนกัน

ขั้นตอนการฝึกนั้นไม่ยากเลย สามารถลองไปปรับใช้กันดูได้คือ

  • เริ่มต้นที่ คุณพ่อกับคุณแม่แบ่งกันว่าใครจะสื่อสารภาษาอะไรกับปูนปั้น: ภรรยากับผมตกลงกันตั้งแต่ตอนตั้งท้องเจ้าปูนปั้นเลยว่าใครจะสื่อสารภาษาไหนกับปูนปั้น โดยเราตกลงกันว่าหม่าม๊าจะใช้ภาษาไทยในการพูดคุยกับปูนปั้น ส่วนปะป๊าจะใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นตั้งแต่ปูนปั้นลืมตาออกมาดูโลก ปูนปั้นก็จะได้ยิน 2 ภาษาเลยตั้งแต่วันนั้น
  • ต่อมาก็ เพิ่มเติมภาษาที่ 3-4-5 ได้ตามต้องการ: คุณยายก็จะเป็นผู้ที่ พุดคุยกับปูนปั้นเป็นภาษากวางตุ้ง แม้จะไม่ใช่ตั้งแต่เกิดแต่มาเพิ่มเติมภายหลัง เนื่องจาก ครอบครัวเราอยู่กัน 3 คน พ่อ แม่ ลูก พอคลอดครบ 4 เดือนหม่าม๊าต้องกลับไปทำงาน เราก็ต้องเอาเจ้าปูนปั้นเข้าเนอร์สเซอร์รี่ และคุณยายจะเป็นคนขับรถไปรับกลับบ้านตอนเย็น ซึ่งคุณยายก็จะพูดกวางตุ้งกับเจ้าปูนปั้นตลอดทางกลับบ้าน ตั้งแต่วัยประมาณ 4 เดือน
  • เราต้องเก่งภาษาขนาดไหน: เรื่องนี้ไม่ต้องกังวลเลย เพราะผมเองไม่เคยศึกษาต่างประเทศ ดังนั้นภาษาอังกฤษของผมสำเนียงไทยจ๋าเลยฮะและผมคิดว่าการจะพูดผิดสอนผิดไวยกรณ์ ไปบ้างก็อย่าได้ไปกังวลหนักหนาเลย เพราะขนาดภาษาไทย ตอนที่เราหัดพูดสมัยเด็ก ๆ ก็ไม่ได้ถูกไวยากรณ์อะไรมากมาย แต่มันจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งตามธรรมชาติและจากการเรียนรู้ในและนอกห้องเรียน

อ่านเรื่องราวเพิ่มเติม คลิก!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up