ทำไมลูกร้องไห้ 7 เหตุผลที่จะทำให้แม่เข้าใจลูกมากขึ้น - Amarin Baby & Kids
ทำไมลูกร้องไห้

แม่รู้ไว้! ทำไมลูกร้องไห้ 7 เหตุผลของการงอแงที่จะทำให้แม่เข้าใจลูกมากขึ้น

Alternative Textaccount_circle
event
ทำไมลูกร้องไห้
ทำไมลูกร้องไห้

4.ลูกกำลังเครียด

คุณพ่อคุณแม่ทราบมั้ยค่ะว่าความจริงแล้วเด็กสามารถเกิดภาวะเครียดได้ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น คุณพ่อคุณแม่ตั้งกฏเกณฑ์กับลูกมากไป ตั้งคาดหวังกับลูกสูงเกินไป ในเด็กเล็กอาจเครียดเพราะพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ ปล่อยให้ลูกเล่นคนเดียว ฯลฯ ซึ่งความเครียดของลูกอาจจะเกิดจากการกระทำของพ่อแม่โดยไม่รู้ตัว ความเครียดจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกร้องไห้ได้ ยิ่งลูกเครียดมากก็จะส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมตามมาได้ เช่น ขาดความมั่นใจในตนเอง มีความวิตกกังวล หรือมีความกลัว ขี้หงุดหงิด ขี้แย นอนไม่หลับ ฝันร้าย พฤติกรรมก้าวร้าว ดื้อดึง เกเร เป็นต้น ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเกิดภาวะเครียด คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสรรค์กิจกรรมให้ลูกได้ผ่อนคลาย มีเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เล่นกีฬา ออกกำลังกาย กินข้าว ยอมรับในความสามารถและความชอบของลูก ไม่ควรบังคับลูกฝืนทำในสิ่งที่ยังไม่พร้อม คอยช่วยเหลือและรับฟังเหตุผลของลูก เมื่อลูกไม่เครียด มีความสุข ก็จะทำให้เจ้าตัวเล็กอารมณ์ดี ไม่ทำให้ลูกงอแงได้ง่าย

5.ลูกเรียกร้องความสนใจ

เด็กในวัย 2-3 ขวบ จะเข้าใจว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของคุณพ่อคุณแม่ที่คิดว่าพ่อแม่ต้องให้ความสนใจตนเองตลอด เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่สนใจ ไม่ได้รับความรักและความเอาใจใส่มากเพียงพอ ก็จะร้องไห้สะอึกสะดื้น หรือกรีดร้องตะโกนเสียงดัง เพราะเด็กรู้ว่าการร้องไห้เป็นวิธีที่ดีในการดึงดูดความสนใจ อยากให้แม่มาโอ๋ แต่ถ้าคุณแม่กลับโมโหและออกคำสั่งว่า “หยุดร้องไห้” อาจจะไปกระตุ้นอารมณ์ให้ลูกร้องไห้หนักมากเข้าไปอีก ทางแก้ของปัญหานี้คือ คุณแม่ควรใจแข็งเมื่อลูกร้องไห้ อย่าเพิ่งรีบเข้าไปโอ๋ เพื่อให้ลูกรู้ว่าการร้องไห้แบบนี้ไม่ได้ผล ขณะเดียวกันก็หาอะไรอย่างอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจแทน และค่อย ๆ สอนว่าพฤติกรรมที่ลูกแสดงออกนั้นไม่น่ารัก และควรจะแสดงออกอย่างไรถึงจะเหมาะสม ขณะเดียวกันคุณแม่ควรหาเวลาเล่นกับเจ้าตัวเล็กเพื่อให้ลูกรู้สึกถึงความสนใจ ความรักจากแม่ในทุก ๆ วัน

ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ

6.ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ

เด็กอายุประมาณ 2-3 ขวบแม้จะเริ่มพูดได้ แต่ก็ยังใช้วิธีร้องไห้เพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ดังนั้นเมื่อเด็ก ๆ ต้องการอะไรและไม่ได้ตามที่ต้องการในตอนนี้ น้ำตาแห่งความผิดหวังและความสิ้นหวังจะเกิดขึ้นในคราวเดียว วิธีเข้าใจลูกในเรื่องนี้ คุณแม่ต้องเข้าใจว่าลูกยังเล็ก และไม่เข้าใจเหตุผลที่พ่อแม่อธิบายได้ทั้งหมด ดังนั้นคุณแม่ต้องพยายามหนักแน่นหากตั้งใจที่จะปฏิเสธลูก จากนั้นให้เข้าไปกอดโดยไม่โวยวาย ไม่ดุด่า ไม่ใช้อารมณ์สั่งให้หยุดร้องไห้ เมื่อลูกร้องไห้จนเหนื่อยและหยุดร้อง ลูกก็จะลืมในสิ่งที่ต้องการขณะนั้นไปได้เอง และเมื่อลูกอารมณ์ดีจึงค่อยสอนถึงเหตุผลว่าทำไมลูกถึงไม่ได้สิ่งที่ต้องการเพื่อให้ลูกเข้าใจและรับมือกับความรู้สึกเมื่อลูกไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการในครั้ง ๆ ต่อไปได้

7.เมื่อลูกถูกบังคับ

เมื่อเจ้าตัวเล็กไม่อยากทำบางสิ่งที่พ่อแม่บอกให้ทำ การบังคับลูกเกินไปในสิ่งที่ลูกยังไม่พร้อม เช่น บังคับให้ลูกกินข้าว บังคับให้ลูกอ่านหนังสือ บังคับให้ลูกเรียนเสริมในวิชาที่ไม่อยากเรียน บังคับให้ลูกแบ่งปันในขณะที่ยังไม่พร้อม บังคับให้ลูกนอน บังคับให้ลูกเลิกเล่น ฯลฯ เมื่อลูกถูกบังคับคุณแม่ก็จะเห็นต่อมน้ำตาที่เกิดจากความเศร้าของเจ้าตัวเล็กแตกทันที ซึ่งความบังคับที่เกิดจากความหวังดีของพ่อแม่อาจส่งผลเสียต่อพฤติกรรมลูกมากกว่า เพราะบางเรื่องสำหรับเด็กเล็กก็อาจยังไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับให้ลูกต้องทำในทันที แต่ควรจะหาวิธีในการฝึกหัด ค่อย ๆ สอนลูกแทนวิธีการบังคับด้วยคำพูดที่อ่อนโยน การสอนลูกเป็นสิ่งสำคัญแม้จะรู้ว่าลูกรู้สึกเศร้าหรือโกรธ เพื่อลูกจะได้เข้าใจและเรียนรู้ในการควบคุมอารมณ์ในครั้งต่อ ๆ ไปได้

เมื่อลูกร้องไห้ เป้าหมายของคุณแม่อาจไม่จำเป็นต้องทำให้ลูกหยุดร้องไห้เสมอไป การปล่อยให้ลูกได้หลั่งน้ำตาเล็กน้อยถือเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ของเจ้าตัวเล็ก ดังนั้นเมื่อแม่รู้สาเหตุว่า “ทำไมลูกของฉันถึงร้องไห้” สิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งคือ การตำหนิลูกหรือพูดให้ลูก “หยุดร้องได้เดี๋ยวนี้” เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกเสียใจมากกว่าเดิม หรือใช้วิธีตีซ้ำซึ่งจะส่งผลเสียต่อจิตใจและอารมณ์ของลูกยิ่งกว่าเดิม

นักวิจัยค้นพบว่าคนเราจะรู้สึกดีขึ้นหลังจากร้องไห้ และถ้าหากการร้องไห้นำไปสู่การแก้ไขหรือทำความเข้าใจที่ดีขึ้นก็จะส่งผลดีต่อตัวเด็ก นอกจากนี้วิธีจัดการเมื่อลูกร้องไห้คุณแม่ลองหากิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ชวนทำอย่างอื่น พยายามที่จะไม่ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานจนเกินไป และพูดชมเชยวันไหนที่ลูกร้องแป๊บเดียวหยุด ลูกจะเริ่มเข้าใจว่าพ่อแม่อยากให้เขาร้องไห้แป๊บเดียว ซึ่งเด็กก็จะพยายามเรียนรู้ในการปรับตัวให้ดีขึ้นได้นะคะ.

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :  www.verywellfamily.comwww.aboutmom.co

อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ :

11 ประโยค ปลอบใจลูก ที่พ่อแม่ควรพูดยามลูกร้องไห้

10 วิธีทำให้ลูกหยุดร้องไห้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up