ทำไมเด็กไม่ควรใส่ “หน้ากากผ้า” เหมือนกันไปโรงเรียน - Amarin Baby & Kids
หน้ากากผ้า

ทำไมเด็กไม่ควรใส่ “หน้ากากผ้า” เหมือนกันไปโรงเรียน

account_circle
event
หน้ากากผ้า
หน้ากากผ้า

หน้ากากผ้า แบบไหนเด็กควรใส่ไปโรงเรียนดี หลังกระแสวิจารณ์หนักในโลกโซเชียลเมื่อโรงเรียนกำหนด “สีหน้ากาก” ที่เด็กต้องใส่ให้ถูกระเบียบ แพทย์ชี้ ใส่หน้ากากเหมือนกันอาจได้ไม่คุ้มเสีย

จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟสบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ภาพกระดานแสดงตัวอย่างของหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้าและ Face shield ที่เหมาะกับเครื่องแบบนักเรียน ซึ่งควรเป็น หน้ากากผ้า สีพื้นไม่มีลวดลาย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในโลกออนไลน์ถึงความเหมาะสมและจุดประสงค์ของการให้เด็กใส่หน้ากากไปโรงเรียน ภายหลังนายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ ได้ชี้แจ้งแล้วว่าทางกระทรวงไม่มีข้อบังคับใดๆเกี่ยวกับหน้ากากเพราะจุดมุ่งหมายหลักของการใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าก็เพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19ในกลุ่มเด็กนักเรียน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเด็กนักเรียน ครู อาจารย์ หรือบุคลากรทางการศึกษาสามารถเลือกใส่หน้ากากได้ตามความเหมาะสม

 

แม้จะไม่ใช่ข้อกำหนดที่โรงเรียนต้องทำแต่คุณพ่อคุณแม่หลายคนยังสับสนและไม่แน่ใจว่า ควรซื้อหน้ากากแบบไหนให้ลูกใส่ไปโรงเรียนดี เพจ Doctor กล้วย ได้แสดงทัศนคติถึงประเด็นดังกล่าว และระบุถึงเหตุผลว่า“ทำไมเด็กๆจึงไม่ควรใสส่หน้ากากเหมือนกัน” ว่า

เหตุผลที่ ทำไมถึงไม่ควรให้เด็กนักเรียนใส่หน้ากากอนามัยเหมือนกัน และสถานศึกษาไม่ควรออกกฎแบบนั้นเพราะว่า

1.เด็กจะแลกเปลี่ยนหน้ากากอนามัยกันโดยไม่รู้ตัว นึกภาพเด็กทั้งโรงเรียนใส่สีเดียวกัน สลับกันบันเทิงเริงใจเลยครับ อันตรายในการส่งต่อเชื้อให้เพื่อนๆมากๆ ข้อนี้สำคัญที่สุดอย่าออกกฎว่าต้องเหมือนกันมันอันตราย

2.หน้ากากอนามัยที่มีลวดลายสีสันจะจูงใจให้เด็กๆอยากใส่การใส่หน้ากากอนามัยมันลำบากอยู่แล้ว ให้เด็กๆมีอิสระไดเลือกหน้ากากเอง อย่าคิดว่าความแตกต่างคือความไร้ระเบียบเลย

3.สิ้นเปลืองมากเด็กๆจะต้องไปหาซื้อหน้ากากอนามัยตามสีที่กำหนด เราต้องการให้เด็กใส่ ก็อย่าเพิ่มภาระอีกเลย

การใส่หน้ากากอนามัยคือการเคารพรับผิดชอบต่อสังคมอยู่แล้ว…สอนเขาเถอะครับ ขอให้เด็กๆใส่ แอดก็ดีใจแล้ว อย่าเอาระเบียบสีไร้สาระมาบังคับเลย หวังว่าสถานศึกษาที่คิดจะออกระเบียบเรื่องนี้เปลี่ยนใจเถอะครับ… ขอแค่เด็กทุกคนใส่หน้ากากอนามัยมาโรงเรียนหมอก็ยิ้มแล้ว

เลือก หน้ากากผ้า หน้ากากอนามัยอย่างไรให้เหมาะกับลูก

เมื่อเปิดเทอมแล้ว ลูกต้องใส่หน้ากากอนามัยไปโรงเรียนทุกวัน และอาจจำเป็นต้องใส่ “ตลอดทั้งวัน” เพราะเด็กๆมักเล่นกันเป็นกลุ่มและอยู่ใกล้ชิดกันมาก โดยเฉพาะเด็กอนุบาลหรือประถมต้น หากมีใครติดเชื้อจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว แต่การจะฝึกให้เด็กอดทนใส่หน้ากากได้ทั้งวันอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทั้งรู้สึกอึดอัด น่ารำคาญ การเลือกซื้อหน้ากากให้เหมาะกับวัยของลูก จะช่วยให้ลูกใส่หน้ากากได้ง่ายขึ้น

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัยได้ให้คำแนะนำการเลือกใช้หน้ากากและวิธีการสวมใส่ของเด็กแต่ละวัย ดังต่อไปนี้

เด็กแรกเกิด – 1 ขวบ ไม่ใครใส่หน้ากากให้เด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า ระบบทางเดินหายใจของทารกยังไม่แข็งแรงพอ และหายใจทางจมูกเป็นหลัก หายใจทางปากไม่เป็น เมื่อหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปไม่พอ มีโอกาสที่จะเกิดการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ได้ เป็นอันตรายต่อระบบประสาท ขณะที่การใส่ Faceshield อาจทำให้ขอบพลาสติกบาดใบหน้าและดวงตาได้

MUST READ : หมอเตือน! อย่าใส่ Face shield ให้ทารกแรกเกิด เสี่ยงกระทบต่อระบบประสาท

เด็กเล็กอายุ 1-2 ขวบ เด็กส่วนใหญ่ยังถอดหน้ากากเองไม่เป็น จึงไม่ควรให้ใส่เป็นเวลานาน และควรอยู่ในการดูแลของผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เด็กขาดอากาศหายใจได้

เด็กวัยอนุบาล – ประถมต้น สามารถสวมใส่และถอดหน้ากากเองได้เมื่อรู้สึกอึดอัด ยกเว้นเด็กที่มีร่างกายบกพร่อง เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีความบกพร่องทางสมอง คุณพ่อคุณแม่ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ส่วนประเภทของหน้ากากสำหรับเด็ก สามารถใส่ได้ทั้งหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ surgical mask แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ต้องกำชับลูกให้แน่ใจว่าไม่นำมาใส่ซ้ำ  แต่หากใช้หน้ากากผ้าควรเลือกชนิดที่ทำจากผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่จำเป็นต้องใช้หนา 2 -3 ชั้นเพื่อไม่ให้ลูกอึดอัดเกินไป

MUST READ : วิธีทำหน้ากากผ้าง่ายๆ ให้ลูก จาก “ผ้ามัสลิน” กันโควิด-19 ดีสุด!

นอกจากการใส่หน้ากากแล้ว คุณพ่อคุณแม่และโรงเรียนต้องดูแลความสะอาด และทำตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด- 19 ทั้ง การล้างมือ ทำความสะอาดโต๊ะ ห้องเรียน จำกัดการร่วมกลุ่ม ทำระยะห่างทางสังคม และสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องปลูกฝังและฝึกฝนให้ลูกๆดูแลสุขอนามัยของตัวเองจนเป็นนิสัย เพราะเด็กๆมักหยิบของเล่นตลอดเวลา และไม่อาจใส่หน้ากากตลอดทั้งวัน การล้างมือบ่อยๆจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากการสัมผัสได้มากขึ้น


แหล่งข้อมูล www.bangkokbiznews.com  www.komchadluek.net   เพจDoctor กล้วย

 

7 ประเทศดูแลเด็กๆ อย่างไรเมื่อ โรงเรียนเปิดเทอม 2563

6 โรคที่มากับหน้าฝน ในเด็กที่ต้องระวัง รู้เท่าทันป้องกันลูกป่วย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up