เสริมสร้างความภูมิใจให้ลูก ด้วย 5 เทคนิคง่ายๆ - amarinbabyandkids
เสริมสร้างความภูมิใจให้ลูก

5 เทคนิค เสริมสร้างความภูมิใจให้ลูก

Alternative Textaccount_circle
event
เสริมสร้างความภูมิใจให้ลูก
เสริมสร้างความภูมิใจให้ลูก

5 เทคนิค เสริมสร้างความมั่นใจให้ลูก

พลังด้านบวกย่อมดีต่อตัวของเด็กๆ เสมอค่ะ ดังนั้นเพื่อให้ลูกได้เติบโตขึ้นมาอย่างคนที่มีความภาคภูมิใจและมั่นใจในตนเอง ผู้เขียนขออนุญาตนำคำแนะนำสำหรับพ่อแม่ในการส่งเสริมลูกในเรื่องนี้ จาก อ.พญ.สิรินัดดา  ปัญญาภาส ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล[1] มาให้ได้ทราบแล้วนำไปปฏิบัติกันดังนี้ค่ะ…

  1. เริ่มตั้งแต่แรกเกิด โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก พ่อแม่ควรให้เวลา ความรัก ความอบอุ่น ความใกล้ชิดผูกพัน เช่น ให้นมเมื่อเด็กหิว ปลอบเมื่อเด็กหงุดหงิดไม่สบายตัว เล่นด้วยเมื่อเด็กต้องการ เหล่านี้ช่วยให้เด็กรู้สึกดีกับตนเองที่ได้รับการตอบสนองหรือรับความรักจากคนอื่น
  2. วัย 1-3 ขวบ เด็กเริ่มฝึกฝนและต้องการทำบางอย่างด้วยตัวเอง พ่อ แม่ควรให้โอกาสเด็กได้ลงมือทำเอง เพราะเมื่อเขาทำสำเร็จ เขาจะเกิดความมั่นใจ ภูมิใจในตัวเองและมองตัวเองเป็นคนที่มีความสามารถ
  3. วัยอนุบาลและวัยเรียน พ่อแม่ควรมอบหมายงานง่ายๆ ที่เหมาะกับวัยให้เด็กทำด้วยตัวเอง  หรือให้เด็กมีกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น จิตอาสาแบ่งปัน ทำงานร่วมกับผู้อื่น
  4. การสื่อสารและบรรยากาศที่ดีในครอบครัวสำคัญสำหรับเด็กทุกวัย พ่อแม่ควรแสดงท่าทีหรือให้คำชื่นชมอย่างพอประมาณเมื่อเด็กทำสิ่งที่ดี  หากเด็กทำสิ่งที่ไม่ดีควรชี้แนะและให้กำลังใจอย่างสร้างสรรค์ ควรหลีกเลี่ยงการตำหนิต่อว่าเด็กซ้ำๆ เพราะจะทำให้เขามองตัวเองไม่ดีจนขาดแรงจูงใจ หากเป็นเช่นนั้นควรแก้ไขความรู้สึก ความเข้าใจที่ผิดๆของเด็กด้วย
  5. สุดท้ายคือการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ในขณะที่พ่อแม่ชื่นชม เห็นข้อดีของเด็กหรือของผู้อื่นนั้น เด็กจะค่อยๆ เรียนรู้ ซึมซับ การมองคุณค่าของผู้อื่นไปด้วย[1]

 

บทความแนะนำ คลิก >> สร้างความมั่นใจให้ลูกเมื่อพ่อแม่ต้องแยกทาง

จากคำแนะนำของคุณหมอทั้ง 5 ข้อนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปปรับใช้กับลูกๆ ได้ค่ะ เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่เติบโตขึ้นมาเป็นคนที่ขาดความมั่นใจ และความภูมิใจในตัวเองกันค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

7 เทคนิคช่วยลูกขี้อาย ให้กล้าแสดงออก
อาการลูกติดแม่ มากไปแก้ไขอย่างไรดี?

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1อ.พญ.สิรินัดดา  ปัญญาภาส ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. www.si.mahidol.ac.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up