ขึ้นชื่อว่า “ลูก”พ่อแม่ทุกคนย่อมมอบสิ่งที่ลูกต้องการได้ แต่ถ้าให้มากเกินไปจนเป็น โรคสำลักความรัก ละ!? ทำไมโรคนี้จึงน่าห่วง ไปทำความรู้จักพร้อม ๆ กันค่ะ
คุณพ่อคุณแม่สังเกตกันหรือไม่คะว่า เด็กสมัยนี้ มีความเป็นตัวของตัวเองสูงและเอาแต่ใจตัวเองมากกว่าเด็กในสมัยก่อน หลายครั้งก็มีความรู้สึกว่ามากจนเกินความพอดี จนสามารถทำให้เราเห็นได้ว่า เด็กบางคนเพียงแค่เอ่ยปาก ก็ได้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตัวเองอยากได้แล้ว หรือถ้าไม่ได้ แค่ลงไปนอนดิ้น ๆ ร้องกรี๊ด ๆ ก็สมความปรารถนาดังใจ โดยที่ไม่ต้องเหนื่อยและไม่ต้องรอ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำให้ ไม่ใช่ไม่รักนะคะ แต่รักมากจนไม่อยากให้ลูกเสียใจ … แต่หารู้ไม่ว่า ความรักที่ให้ลูกมากเกินไปจนเกินความดี หรือออกแนวล้น ๆ หน่อยนั้น อาจทำให้ลูกเป็น “โรคสำลักความรัก” โดยไม่รู้ตัว
โรคสักลัก “ความรัก” ที่ว่านี้คืออะไร วันนี้ทีมงานจะขอหยิบแนวคิดของ รองศาสตรจารย์นายแพทย์สุริยเดช ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มาฝากกันค่ะ
“จบดร.สูง แต่พูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง จบการศึกษาสารพัดปริญญาเลย แต่นั่งวงไหนก็แตกวงนั้น”
นายแพทย์สุิยเดช ได้พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ครอบครัวที่มั่งคั่งมีอันจะกิน ครอบครัวมีการศึกษาสุง และเป็นครอบครัวที่อยู่ด้วยกันไม่ได้หย่าร้าง สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือยเต็มที่ แต่ปรากฎว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือเลี้ยงลูกมีภูมิชีวิตต่ำ จนในที่สุดลูกอ้วน เอาแต่ใจ ปรนเปรอเต็มที่ ลูกต้องการอะไรให้ได้หมด ลูกต้องการติววิชากับสถาบันกาววิชา เงินไม่อั้น ซื้อคอนโด เช่าคอนโด ซื้อรถ ทำได้ทุกอย่าง ทั้งที่เป็นครอบครัวมีกิน อยู่ด้วยกัน แต่ “เลี้ยงลูกแบบสำลักความรัก”
แล้วกลายเป็นประเด็นว่า จะมีความเสี่ยง แล้วอันนี้เราเคยทำงานวิจัยเมื่อหลายปีที่แล้วเปรียบเทียบกันเลย ผลปรากฎว่า ครอบครัวประเภทแรกที่มีสภาวะยากลำบากทั้งหลายเลี้ยงลูกมีความเสี่ยงต่อยาเสพติด 1-2 เท่า แต่ในกลุ่มที่ใช้คำว่า “มีพร้อม” ทุกอย่าง แต่เลี้ยงลูกมีทุนชีวิตต่ำ กลับเสี่ยงต่อยาเสพติดมาก 3-10 เท่าตัว!!
นี่จึงกลายเป็นประเด็นที่เรากำลังชวนสังคมมองว่า ณ วันนี้ ไม่ใช่ว่าคุณจะมีบ้าน มีจะกิน ปรนเปรอลูกเต็มที่ แล้วแปลว่า ลูกทุกคนจะเป็นคนดี มันไม่แน่หรอก แล้วคำว่าทุนชีวิตคืออะไร คือทักษะชีวิตบวกจิตสำนึกต่อตนเองและต่อสังคม
ถ้าเลี้ยงลูกมีทักษะชีวิตบวกจิตสำนึกทั้งต่อตนเอง ต่อสังคมต่ำ จะเกิดสภาวะพฤติกรรมเสี่ยงในเด็กสารพัดรูปแบบเลย ต้องอยู่ที่กระบวนการให้พัฒนาลูกหลานมีทั้งบทบาททางกายภาพ สภาวะทางจิตใจ บทบาทในสังคม มีทักษะชีวิตและจิตสำนึกทั้งต่อตนเองและสังคม
ชมคลิปคุณหมอได้ที่นี่
ไม่มีใครอยากให้ลูกเสียใจหรอกจริงไหมละคะ แต่การที่เราจะแสดงออกถึงความรักให้ลูกเห็นด้วยการตามใจนั้น อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ถูกต้องเสียเท่าไร อย่าลืมนะคะว่า อนาคตเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น คงมีเพียงไม่กี่คนที่จะตามใจเขาแบบเรา หรือบางทีอาจจะไม่มีเลยเสียด้วยซ้ำ ดังนั้น อยากให้ลูกเติบโตมาอย่างแข็งแกร่ง เป็นคนดีทั้งต่อตัวเอง ครอบครัวและสังคมละก็ เริ่มปลูกฝังให้ลูกรู้จักความผิดหวังบ้างแล้วสอดแทรกคำสอน และกำลังใจให้พวกเขากันเถอะค่ะ
ขอบคุณที่มา: Thai PBS
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่