เทคนิค สอนลูกฉลาดและเป็นคนดี ให้ลูกเป็นคนเก่งและเป็นคนดีของสังคม

พาลูกเข้าห้างยังไงไม่ให้เสียเงินโดยไม่ตั้งตัว

ถึงวัยที่ลูกไปไหนมาไหนมากับคุณได้มากขึ้น โดยเฉพาะสถานที่เสี่ยง (เสียทรัพย์) กับของล่อตาล่อใจ อย่าง ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือตลาด

ชวนตัวเล็กรู้จัก “เงิน” กันเถอะ

ถ้าอยากสอนเรื่องตัวเลขให้ลูก ไม่ต้องส่งลูกเรียนสถาบันเสริมทักษะก็ได้ แต่ให้สอดแทรกผ่านชีวิตประจำวัน

รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ดีจริงหรือ

แม้ว่าการ “ตี” จะใช้กันมาหลายชั่วอายุคน แต่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากกลับไม่เห็นด้วยเลยที่จะฝึกวินัยเด็กด้วยวิธีนี้

เจอคำถามยากจากลูกอนุบาล

“แม่ขา…ต้นไม้ต้นนี้ชื่ออะไรคะ?” หรือ “พ่อจ๋า ทำไมหลอดไฟถึงไม่ติด?” บางครั้งพ่อแม่อย่างเราๆ ก็ถึงกับไปตอบไม่ถูกเลยทีเดียว

สอนลูกให้รู้จักรับ

เด็กในยุคนี้ส่วนใหญ่เป็นศูนย์กลางความรักของครอบครัว หนูน้อยทั้งหลายจึงมักจะได้รับของขวัญมากมาย

ชวนจอมซ่าเรียนรู้โลกกว้าง

เมื่อออกลุยกับลูกวัยซนแล้ว ควรพึงระวังว่าอย่าคาดหวังผิดเรื่อง เราเพียงอยากให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ดังนั้นลูกก็ไม่จำเป็นต้องตอบถูก รู้หลักการจากคุณ รู้จักชื่อของทุกสิ่งทุกอย่างที่พบเห็นตามที่พ่อแม่คอยบอก

“อ่านให้ฟัง” หรือ “อ่านเอง” ถูกใจวัยช่างพูดทั้งนั้น

ถึงเวลาลูกเข้าโรงเรียนแล้ว ควรจะอ่านหนังสือให้ลูกฟังต่อไป หรือเน้นขีดๆ เขียนๆ ฝึกทักษะจริงจังไปเลยดี

วัย 3-5 ยึดโยงตนเองสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม


ควรอธิบายให้ลูกฟังด้วยเหตุผลซึ่งพฤติกรรมที่แสดงถึงการยึดโยงตนเองเป็นศูนย์กลางนี้จะค่อยๆ ลดน้อยลง

มาทดลองวิทยาศาสตร์กับลูกกัน ในห้องครัวที่้บ้านคุณเอง!

กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ที่แนะนำในหนังสือเล่มต่างๆ ล้วนน่าสนใจ แต่อุปกรณ์การทดลองกลับหาซื้อได้ยาก และดูซับซ้อนเกินความเข้าใจของลูกน้อย จนคุณพ่อคุณแม่หลายท่านพากันส่ายหัวให้การทดลองวิทยาศาสตร์ที่ดูจะวุ่นวายและไกลตัว รู้หรือไม่ว่าห้องครัวธรรมดาๆ สามารถแปลงเป็นห้องแล็บทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ สำหรับลูกน้อยได้เช่นกัน เพราะการทำอาหารซึ่งต้องใช้ทักษะในการผสมวัตถุดิบต่างๆ และแปลงวัตถุดิบให้มีสี ขนาด รสชาติ ผิวสัมผัส หรือรูปทรงที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ต่างจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์เลยสักนิด วันนี้จึงมีกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ในครัวอย่างง่ายๆ มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปทดลองกับคุณลูกกันค่ะ 1. น้ำแปลงร่าง การนำน้ำไปใส่ช่องแช่แข็งทำให้ของเหลวกลายเป็นของแข็ง และเมื่อนำน้ำไปต้มในหม้อ น้ำจะค่อยๆ ระเหยกลายเป็นไอจนหมด การทดลองนี้จะทำให้เด็กได้เรียนรู้สถานะของน้ำซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ 2. ตอกไข่ใส่ชาม ฝึกให้ลูกน้อยสังเกตและคิดหาคำตอบว่าไข่ฟองที่คุณแม่เตรียมไว้ให้เป็นไข่ดิบหรือไข่ต้ม โดยสังเกตจากการลองเขย่าว่าเกิดเสียงหรือไม่ การสัมผัสว่าเย็นเหมือนเพิ่งออกจากตู้เย็น หรืออุ่นเหมือนเคยผ่านการต้ม อาจลองกะเทาะดูเล็กน้อยว่ามีของเหลวไหลซึมออกมาหรือไม่ จะช่วยให้ลูกน้อยฝึกการสังเกต และเรียนรู้สถานะของไข่ที่ต้องผ่านความร้อนจึงจะกลายเป็นของแข็ง แตกต่างจากน้ำที่ต้องใช้ความเย็นเพื่อให้กลายเป็นน้ำแข็งนั่นเองค่ะ 3. น้ำตาลหวาน มะนาวเปรี้ยว แล้วอะไรนะที่มีรสเค็ม การทดลองนี้คือการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ เพื่อทายรสชาติของอาหารที่มีอยู่ในครัว คุณแม่อาจเริ่มจากให้ลูกน้อยใช้สายตามองและสัมผัสผลไม้สักชนิดหรือเครื่องปรุงสักอย่าง ให้ลองตั้งสมมติฐานหรือลองทายว่ามันน่าจะมีรสชาติอย่างไร จากนั้นลองฟังเสียงจากการเขย่าและดมกลิ่น แล้วทายรสชาติอาหารหรือเครื่องปรุงก่อนจะชิมสักเล็กน้อยกิจกรรมทดลองนี้จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสของลูกน้อยให้ทำงานเต็มที่ เสริมสร้างทักษะการสังเกต และเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการศึกษาค้นหาคำตอบในเรื่องต่างๆ ด้วยค่ะ   บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

3 เทคนิคสอนลูกน้อยจดจำตัวหนังสือ

ก. เอ๋ย กอไก่ ทำไมยากจัง ลูกน้อยวัย 3-5 ขวบ เป็นวัยอนุบาลซึ่งต้องเรียนรู้ตัวหนังสือเป็นครั้งแรก ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีตัวอักษรมากมายจนลูกน้อยจำไม่หวาดไม่ไหว วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาฝาก

เล่นศิลปะให้ปลอดภัยด้วยสีผสมอาหาร


วิธีผสมสีผสมอาหารให้กลายเป็นสีน้ำทำได้ง่ายๆ เพียงคุณแม่นำสีผสมอาหารมาผสมกับน้ำสะอาด เลือกผสมน้ำและสีตามความเข้มที่คุณแม่ต้องการ

พกจักรยานพับ เปิดโลกกว้างมุมใหม่ให้กับเด็กๆ

จักรยานพับไม่ใช่อุปกรณ์ที่เพิ่งมาฮิตกัน อุปกรณ์ชนิดนี้มีมานานแล้วและเพิ่มความสนุกให้กับทริปเดินทางเล็กๆ ได้ไม่น้อยเชียวแหละ

5 สาเหตุ บ่มเพาะความรุนแรงแก่เด็ก

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่คุณพ่อคุณแม่อาจนึกไม่ถึงว่าเป็นสาเหตุให้ลูกสะสมความรุนแรงในตัวโดยไม่รู้ตัว มีอะไรบ้าง กันไว้ดีกว่าแก้นะคะ

รู้ไหม? ลูกวัย 3-5 ขวบ ทุกลมหายใจคือการเล่น

วัยนี้เขาแข็งแรง มีพลังล้น (มาก) และเข้าใจอะไรมากขึ้นแล้ว แล้วเขาชอบเล่นแบบไหน พ่อแม่ควรเล่นหรือส่งเสริมเขาอย่างไร พบคำตอบได้ที่นี่!

สอนลูกเอาตัวรอด ให้ปลอดภัยยามคับขัน

ภัยร้ายในสังคมอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ เกิดความกังวลใจ เมื่อเจอสถานการณ์คับขัน การ สอนลูกเอาตัวรอด จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เขาอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย

3 ขวบ เริ่มสอนภาษาที่สองได้แล้ว

ช่วงเวลาที่ได้ผลสูงสุดของการพัฒนาการใช้ภาษาที่สองคือตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงก่อน 10 ขวบ แถมข้อดีของการเรียนรู้ภาษาที่สองในวัย 3-5 ขวบก็คือ เด็กๆ ไม่กลัวความผิดพลาด ไม่กลัวพูดผิด

เรียนรู้วิธีเป็นเพื่อนกับ “เด็กพิเศษ”

เด็กอายุ 5 – 7 ขวบเป็นช่วงวัยที่เริ่มอยากรู้หรือสงสัยเพื่อนในห้องเรียน หรือเห็นเด็กในโรงเรียนที่ไม่เหมือนเขา “เด็กพิเศษ” เช่น เพื่อนที่เดินไม่ได้ เป็นออทิสติก หรือมีปัญหาแบบอื่นๆ

keyboard_arrow_up