สอนลูกฉลาดและเป็นคนดี (3-6 ปี)
ในช่วงอายุ 3-6 ปี เทคนิค สอนลูกฉลาดและเป็นคนดี เด็กเริ่มเรียนรู้คุณลักษณะที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความนับถือตนเอง
สร้างความมั่นใจ เมื่อไปโรงเรียน
หากคุณแม่กำลังกังวลเมื่อลูกรักจะไปโรงเรียน (หลายคนบอกว่าตื่นเต้นมากกว่าเจ้าตัวเสียอีก) เรามีวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้ลูกก้าวไปสู่อีกสังคมได้อย่างมั่นใจ
วิธีฝึกลูกให้ออกจากบ้านเร็วขึ้น
ที่จริงแล้วลูกไม่ได้อืดอาดหรอก เพียงแต่เขาเคลื่อนไหวในความเร็วแบบเด็กๆ เท่านั้นเอง
สารพัดวิธีสร้างนักอ่านตัวจิ๋ว
โทนเสียงสร้างความสนุก การอ่านหนังสือเป็นจังหวะ มีเสียงสูง – ต่ำ จะช่วยพัฒนาทักษะด้านการพูดของลูก
ฝึกพัฒนาการด้านการอ่านของวัย 3-6 ปี
เริ่มจดจำคำที่เหมือนกันได้ เพราะเด็กในวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้หน้าตาของทั้งคำมากกว่าตัวอักษรแต่ละตัว
เมื่อเจ้าตัวเล็กขี้ลืม
ลูกชายเป็นเด็กขี้ลืมมาก พอถามว่าวันนี้ทำอะไรที่โรงเรียนบ้าง เขาก็ตอบว่าลืมไปหมดแล้ว เวลาที่ดิฉันบอกลูกไม่ให้ย่ำพื้นที่เพิ่งเช็ดไว้เสร็จใหม่ๆ เขาก็ยังลืม ทำไมลูกถึงจำอะไรไม่ได้เลยคะ
พูดเรื่องความปลอดภัย ให้ลูกเข้าใจง่าย
อยากให้ลูกรู้จักระมัดระวังตัว แต่จะพูดอย่างไรไม่ให้เขากลัวหรือตื่นตระหนกเกินไป
จะเรียนแล้วลูกยังสะกดชื่อไม่ได้เลย
ลูกสาวคนเล็กวัย 3 ขวบ 10 เดือนไม่ยอมจับดินสอเขียนหนังสือเลยค่ะ แต่ลูกก็ชอบจับสีเทียนระบายสีนะคะ จะพยายามกระตุ้นให้ลูกเขียนได้อย่างไรดี
4 วิธีสนุก ดึงดูดลูกจับดินสอเขียน
ขั้นต่อไปในการส่งเสริมการใช้คำและประโยคที่ดีให้ลูกวัยเรียนคือการเขียนคำศัพท์ มาพบ 4 วิธีสนุก ดึงดูดใจให้ลูกวัยอนุบาลเริ่มหยิบดินสอหรือปากกามาเขียนกันเถอะ!
สอนลูกเรียนรู้ศิลปะการ “ทักทาย”
ถ้าหากว่าทุกครั้งที่เจอคนแปลกหน้า ลูกยังคงแอบอยู่ข้างหลัง หรือพูดทักทายงึมงำๆ ฟังไม่ได้ศัพท์ ก็อย่าเพิ่งหมดหวังหรือเสียกำลังใจ
รับมือ! เมื่อลูกวัยอนุบาลวีนแล้วทำร้ายตัวเอง
เมื่อลูกโกรธหรือไม่พอใจอะไรสักอย่างแล้วทำร้ายตัวเอง เป็นเพราะอะไร และจะรับมืออย่างไรดีล่ะ มาดูกัน!
อย่าลงโทษลูกพร่ำเพรื่อ
หากคุณลงโทษลูกด้วยการตัด “สิทธิพิเศษ” ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่มีอะไรเหลือให้ตัดอีกต่อไป คุณจะทำอย่างไรดี?
ชวนเด็กๆให้มาเป็นนักสะสมกัน
การสะสมสิ่งของช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้มากมาย เช่น การรู้จักสะสมของตั้งแต่เด็กจะช่วยให้ลูกรู้ว่าเขาสนใจอะไรเมื่อโตขึ้น และทำให้เขารู้จักจัดการเก็บของให้เป็นระเบียบด้วย
ปล่อยให้ลูกอนุบาลตัดสินใจ…แค่ไหนถึงพอดี
พ่อแม่ควรทำให้ลูกรู้สึกว่าเขามีอำนาจควบคุมโลกใบน้อยๆ ของตัวเอง โดยให้โอกาสเขาได้ตัดสินใจเองบ้าง แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าจุดพอดีอยู่ตรงไหน หรือควรปล่อยแค่ไหน ลูกถึงจะไม่เสียเด็ก
บ้านเราพูดสองภาษา ดียังไงนะ?
สำหรับครอบครัวที่คุณพ่อรู้สึกสบายใจกับการพูดอังกฤษมากกว่า กับคุณแม่ที่พูดภาษาไทยเพราะเป็นภาษาของครอบครัว เป็นวัฒนธรรมที่แม่อยากส่งต่อให้ลูก อาจจะมีคำถามว่า “เราควรให้ลูกพูดภาษาเดียวดีกว่าไหม”
สอนลูกรู้จักอันตรายจากรถ
เวลาจะข้ามถนน แม้แต่เด็กที่ฉลาดที่สุดก็ยังไม่สามารถประเมินได้เลยว่า รถแล่นมาเร็วเท่าไรและอยู่ห่างแค่ไหน ดังนั้น ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่จึงควรป้องกันไว้ก่อน
เทคนิคฝึกลูกกระโดดเชือก
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจคิดว่า กระโดดเชือกเรื่องง่ายๆใครก็ทำได้ แต่พอลองหัดเจ้าตัวเล็กเข้าจริงๆ ถึงรู้ว่า กระโดดเองกับสอนลูกกระโดดนี่คนละเรื่องกันเลยนะ
ตอบคำถามเรื่อง “เพศ” อย่างไรดี
ให้ความสนใจเมื่อลูกถามคำถามเหล่านี้ โดยการบอกว่า “อืม ดีนะที่ลูกถามคำถามนี้” แทนที่จะบอกว่า “ทำไมหนูถามอย่างนั้น” หรือ “ไว้โตกว่านี้แล้วลูกจะรู้เอง” เพราะเป็นสิ่งดีที่ลูกรู้สึกสบายใจที่จะคุยกับคุณเรื่องนี้ ไม่ต้องรอให้ลูกเป็นฝ่ายตั้งคำถามก่อน พ่อแม่บางท่านอาจคิดว่าเมื่อลูกพร้อมจะเรียนรู้เรื่องเพศเขาก็จะตั้งคำถามเอง แต่สำหรับเด็กบางคน เขาอาจรู้สึกลำบากใจที่จะคุยเรื่องนี้ ซึ่งคุณไม่ต้องรอให้ลูกสงสัย แต่ค่อยๆ สอนไปทีละนิด จำไว้ว่า แม้ลูกจะไม่ถาม แต่เขาก็ควรได้รู้ค่ะ ไม่เป็นไรหากคุณจะไม่มีคำตอบให้ลูก หากคุณไม่รู้ ก็บอกว่าไม่รู้และจะไปหาคำตอบมาให้เขา หรือจะหาหนังสือมาอ่านเพื่อหาคำตอบไปพร้อมๆ กับลูกก็ได้ และหากคุณบอกข้อมูลอะไรที่ผิดพลาดไป ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพียงแต่กลับไปบอกลูกว่าคุณมีคำตอบที่ดีกว่ามาบอก ไม่เป็นไรเช่นกันถ้าคุณรู้สึกไม่สะดวกใจที่จะตอบคำถามลูก เพราะครอบครัวของคุณอาจไม่เคยพูดเรื่องนี้กับคุณเลย คุณสามารถบอกลูกได้ว่า “อืม แม่ไม่ค่อยรู้เรื่องผู้ชายผู้หญิงมากนักนะ เพราะยายไม่ค่อยเล่าอะไรให้แม่ฟัง แต่แม่ว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ แม่จะพยายามตอบเท่าที่รู้นะจ๊ะ” มองหาโอกาสเหมาะๆ ที่จะพูดคุยกับลูกเรื่องนี้ เช่น เมื่อเดินช็อปปิ้ง ขณะดูโทรทัศน์ หรือตอนอ่านหนังสือที่มีเรื่องของความสัมพันธ์ของชายและหญิง การสอนโดยใช้โอกาสเหล่านี้ทำให้ลูกได้เรียนรู้โดยไม่ต้องใช้วิธีการนั่งฟังเหมือนกำลังเรียนหนังสือ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ควรช่วยกันสอนลูก หลายๆ บ้านยกให้คุณแม่เท่านั้นเป็นฝ่ายตอบคำถามเรื่องเหล่านี้กับลูก แต่ที่จริงแล้วเด็กต้องการมุมมองจากทั้งคุณแม่และคุณพ่อ และทำให้ลูกเข้าใจว่าเรื่องเพศศึกษาเป็นสิ่งที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงพูดด้วยกันได้ บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
อยากฝึกลูกหัดเขียนเหรอ ไม่ยากเลย
เมื่อลูกลองจับดินสอเป็นครั้งแรก คุณอาจเห็นเจ้าตัวเล็กใช้วิธี “กำ” ด้วยมือน้อยๆ และยังไม่มีแรงพอจะเขียนเป็นตัวอักษร เรามีวิธีง่ายๆ ให้คุณสอนลูกจับดินสอเขียนมาฝากกัน