แม้ธรรมชาติของเด็กจะชอบเล่น แต่จากการสำรวจพบว่า เด็กรุ่นใหม่กำลังขาดกิจกรรมทางกายอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในเขตเมือง ปัจจุบันเด็กไทยใช้เวลาอยู่หน้าจอเฉลี่ยวันละ 3.1 ชั่วโมงต่อวัน แถมยังมีภาวะเฉื่อยและเนือยนิ่งมากขึ้น (Sedentary) ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ และขาดทักษะในการเข้าสังคม ผลสำรวจการมีกิจกรรมทางกายระดับประเทศ โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เปรียบเทียบปี พ.ศ. 2555 และ 2557 พบกว่ากลุ่มเด็กไทยมีกิจกรรมทางกายลดลงจากร้อยละ 67.6 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 63.2 ในปี 2557
อ้างอิง
- โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทยรอบที่ 3 พ.ศ. 2557 โดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
- 4 Health tips for Active play USDA 2012, U.S. Department of Agriculture USDA is an equal opportunity provider and employer. Revised May 2012
เด็กที่ไม่ออกมาเล่น เสี่ยงจะเจอสิ่งเหล่านี้
1. ปัญหาสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง
มีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงกว่า และมีโอกาสเป็นผู้ใหญ่ที่มีภาวะเฉื่อยชาเนือยนิ่งสูงต่อไป
2. พัฒนาการจะล่าช้ากว่า
ทั้งนี้ผลการศึกษา 287 ชิ้น ในกลุ่มเด็กแคนาดาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 ในโรงเรียนต่างๆ 10 กว่าแห่ง พบว่าโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ Action School in British Columbia ที่จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวและขยับตัวอย่างเพียงพอ มีสัดส่วนของเด็กที่ทำคะแนนสอบมาตรฐานสูงกว่าโรงเรียนที่เด็กไม่ได้เข้าโครงการ
อ้างอิง Active Education Growing Evidence on Physical activity and Academic Performance. 2015 Active living Research. Research brief January 2015
ข้อดีของการ “เล่น” ที่คุณอาจไม่รู้
- หน่วยงานด้านสุขภาพในอังกฤษและอเมริกาบอกตรงกันว่า การออกแรงขยับตัวอย่างเพียงพอ ทำให้ผลการเรียนดีขึ้นถึงร้อยละ 40
- เด็กที่ออกมาเล่นมีโอกาสเกิดภาวะอ้วนลดลง ร้อยละ 10
- ลดโอกาสการเข้าถึงปัจจัยเสี่ยง เช่น บุหรี่ ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น
- ค่าใช้จ่ายรักษาสุขภาพลดลง
- ลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ มะเร็ง และเบาหวาน
อ้างอิง Sport for All, Play for Life: A Playbook to Get Every Kid in the Game. By Sports & Society Program with support from the Robert Wood Johnson Foundation. Published by the Aspen Institute.
ข้อมูลจาก แผ่นพับ “มาเล่นกันเถอะ” ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kidactiveplay.com | Facebook Social Marketing Thaihealth
ภาพ: Shutterstock