หนังสือนิทานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

รวมชุดหนังสือนิทานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

event

เล่มที่ ๔ วาดภาพตามพ่อ
เรื่องและภาพโดย คุณกฤษณะ กาญจนาภา และคุณวชิราวรรณ ทับเสือ

หนังสือนิทานเฉลิมพระเกียรติ

เล่มนี้ บอกกล่าวถึงพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปะของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และตั้งใจแสดงให้ทุกคนเห็นว่าไม่ว่าเราจะมีบทบาทหน้าที่ใดก็สามารถนำงานศิลปะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ผู้เขียนและผู้วาดมีความตั้งใจใช้ตัวหนังสือในเล่มให้น้อยที่สุด เพื่อให้เด็กได้ใช้จินตนาการให้มากที่สุด จึงเสนอภาพผ่านคุณลุงคนหนึ่งที่ทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องและมีความสุขทุกวัน โดยให้เรื่องราวและการกระทำต่างๆ เชื่อมโยงกับเด็กคนหนึ่งที่ซึมซับเรื่องราวรอบตัวที่น่าประทับใจ

โดยมีตัวอักษรน้อยที่สุดจากทุกเล่ม แต่เนื้อหาของภาพกลับมีสิ่งต่างๆ ให้ดูมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตัวละครหลักของเรื่อง ตัวประกอบ แม้กระทั่งสิ่งของเล็กน้อยๆ มีการเปลี่ยนตำแหน่ง ปรับเข้ามาตามยุคสมัย มีการแสดงจินตนาการผ่านผลงานของพ่อนักวาด

หนังสือนิทานเฉลิมพระเกียรติ

เล่มที่ ๕ เมฆน้อยของพระราชา
เรื่องและภาพโดย รศ.เกริก ยุ้นพันธ์

หนังสือนิทานเฉลิมพระเกียรติ

เล่มนี้ บอกกล่าวถึงพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้พระราชทานโครงการพระราชดำริ ‘ฝนหลวง’ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการทำเกษตร ด้วยความศรัทธาและความรักในพระองค์ท่านก่อเกิดแรงบันดาลใจปรากฏเป็นผลงานหนังสือ ‘เมฆน้อยพระราชา’

เครื่องบินบนท้องฟ้าโปรยฝุ่นขาวฟุ้งกระจาย กลับกลายเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆเปลี่ยนรูปร่างไปต่างๆ นานา พาให้ผู้คนมีความสุขจากฝนหลวงของพระราชา ชาวประชากล่าวคำสดุดี “ทรงพระเจริญ”


หนังสือนิทานเฉลิมพระเกียรติ

อ่าน 15 นาทีทุกวัน

เล่มที่ ๖ เรือใบใจกล้า
เรื่องและภาพโดย คุณวิภาวี ฉกาจทรงศักดิ์

หนังสือนิทานเฉลิมพระเกียรติ

เล่มนี้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาแต่งเกี่ยวกับการเล่นเรือใบ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงออกแบบและทรงต่อเรือใบประเภทม็อธไว้ 3 แบบคือ เรือใบมด เรือใบซูเปอร์มดและเรือใบไมโครมด โดยวิธีการสร้างเรือใบมดตามแบบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นวิธีที่ทรงคิดค้นขึ้นใหม่ให้สร้างง่าย ประหยัดและสะดวก ใช้เครื่องมือช่างไม้ธรรมดาๆ ก็สามารถทำได้ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคิด ทรง ‘ลงมือ ลงแรง’ ทำเป็นแบบอย่างนี้ ทรงสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกหลานคนไทยในทุกๆ ศาสตร์

สร้างเป็นเรื่องราวได้น่าประทับใจ ผู้เล่นเรือใบเป็นต้องรู้จักคิดและต้องรู้จริง นำส่วนต่างๆ ของเรือใบมาประกอบเป็นเรือใบแบบลองผิดลองถูก หลังจากทราบแล้วว่าส่วนต่างๆ ทำหน้าที่อะไร เรือใบก็ลงสู่ทะเล เรียนรู้ทางลม ฝ่าพายุคลื่น เหนื่อยก็พัก แล้วลุยแล่นต่อไป จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ รูปภาพ แต่ละภาพใช้ความพยายามสูงมาก ลากเส้นทีละเส้นและจุดทีละจุด

หนังสือนิทานเฉลิมพระเกียรติ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up