4 กลเม็ดปรับพฤติกรรมลูกให้อยู่หมัด
- พูดกับลูกตรง ๆ หากคุณพ่อคุณแม่ได้ยินลูกพูดจาโอ้อวดหรือออกแนวข่มคนอื่นละก็ แนะนำให้พูดกับลูกไปตรง ๆ เลยค่ะว่า สิ่งที่ลูกพูดอาจจะทำให้คนที่เขาได้ยินเสียใจได้ และหนูก็คงไม่อยากให้เพื่อนเสียใจใช่หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ลูกมาเล่าให้ฟังว่า วันนี้คุณครูให้ระบายสี และภาพที่ลูกระบายนั้นสวยที่สุด และสวยกว่า (เอ่ยชื่อเพื่อน) เยอะมาก ๆ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรพูดกับลูกก็คือ ลูกระบายสีสวยนั้นดีมากเลยละค่ะ แต่คุณพ่อหรือคุณแม่ว่าหนูไม่ควรไปว่าคนอื่นนะจ้ะ เพราะถ้าเพื่อนเขาได้ยิน เขาจะเสียใจ และไม่อยากเล่นกับหนูอีกก็เป็นได้นะจ้ะ
- ใช้วิธียกตัวอย่างให้เห็น ตามเหตุการณ์ในข้อที่แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาสอนและอธิบายลูกเพิ่มเติมในมุมกลับกัน เพื่อให้เขาได้คิด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากหนูได้ยินเพื่่อนว่าหนูแบบนี้บ้าง หนูจะรู้สึกอย่างไรจ้ะ … เสียใจใช่หรือไม่ ดังนั้น ถ้าหากหนูรู้ว่าลูกระบายไม่สวย ทำไมหนูไม่สอนเพื่อนละจ้ะ เป็นต้น
- อย่าทำให้ลูกรู้สึกเสียหน้า ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่หรอกนะคะ ที่ไม่ชอบการถูกหักหน้า เด็ก ๆ ก็เช่นกันค่ะ หากลูกกำลังพูดจาคุยโม้อยู่ละก็ อย่าไปหักหน้าลูกหรือเบรกลูกกลางครันโดยเด็ดขาด เพราะการกระทำนั้น จะเป็นการทำให้ลูกเสียหน้า และสูญเสียความมั่นใจไปเลยก็ได้นะคะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่คงไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นแน่
- อย่าดุหรือต่อว่าลูก หากลูกว่าลูกพูดเกินความจริง แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ใช้คำพูดกับลูกดี ๆ ด้วยเหตุผล หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่รุนแรงและทำร้ายจิตใจค่ะ เพราะนั่นจะเป็นการทำลายทัศนคติเชิงบวกให้กับลูกโดยทันที นอกจากนี้ยังกลายเป็นแผลใจของลูกเลยก็ว่าได้นะคะ
อย่างไรก็ดี หากไม่อยากให้ลูกมีพฤติกรรมดังกล่าวแล้วนั้น นอกจาก 4 วิธีที่ได้กล่าวไป การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกนี่ละค่ะ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้น หากไม่อยากให้ลูกเป็น ก็จงอย่าทำให้ลูกเห็นกันนะคะ
เครดิต: Health and Trend
อ่านต่อเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่