หากลูกของคุณแสดงอาการอ่อนเพลียจากความร้อนแต่ยังไม่พัฒนาไปสู่โรคลมแดด สิ่งแรกที่ต้องรีบทำ คือ นำพวกเขาออกจากความร้อนให้เร็วที่สุด พาลูกเข้าไปอยู่ในห้องปรับอากาศหรือพาไปอยู่ในที่ร่ม ถอดเสื้อผ้าออกบางส่วนเพื่อการระบายความร้อนของร่างกาย น้ำดื่มสำคัญต่อการป้องกันการขาดน้ำ หรือถ้าเป็นทารก คุณอาจให้นมแม่หรือนมผสมในปริมาณมากได้ ทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไปสามารถจิบน้ำหรือน้ำอิเล็กโทรไลต์แช่เย็นสำหรับเด็กได้ (สามารถสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับปริมาณที่เหมาะสมตามอายุและน้ำหนักของเด็ก) พยายามทำให้ลูกของคุณตัวเย็นลง คุณอาจแช่ตัวลูกในอ่างน้ำอุ่น หรือ ประคบเย็นที่ผิวหนัง โดยเฉพาะที่ศีรษะ คอ และใต้วงแขน หลังจากนั้น ควรให้เด็กสวมผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย หรือ ปล่อยให้ตัวเปลือยเปล่า หากดูเหมือนลูกของคุณอาการไม่ดีขึ้น หรือแสดงอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
การป้องกันการเสียชีวิตของเด็กจากอาการฮีทสโตรกในรถ
- ห้ามทิ้งเด็กไว้ในรถโดยไม่มีใครดูแลแม้ว่าหน้าต่างจะเปิดแง้มไว้บางส่วน หรือเครื่องยนต์กำลังทำงานและเครื่องปรับอากาศเปิดอยู่ ก็ตาม
- ตรวจสอบรถทั้งคันให้เป็นนิสัย ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ก่อนล็อคประตูและเดินออกไป และฝึกตัวเองให้ถามตัวเองเสมอว่า “ลูกอยู่ไหน”
- วางของใช้ส่วนตัว เช่น กระเป๋าเงินหรือกระเป๋าเอกสารไว้ที่เบาะหลัง เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้มองหาก่อนล็อครถ
- เก็บกุญแจรถให้พ้นมือเด็กและสอนเด็ก ๆ ว่ารถไม่ใช่พื้นที่สำหรับการเล่น
นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค มีข้อแนะนำถึงครูอาจารย์ พนักงานขับรถรับส่งนักเรียน และผู้ปกครอง ให้เตือนตนเองใน 3 ข้อควรจำ เพื่อป้องกันการลืมเด็กในรถ ดังนี้
- นับ : นับจำนวนเด็กก่อนขึ้นและหลังลงจากรถทุกครั้ง
- ตรวจตรา : ตรวจตราก่อนล็อดประตูรถ ตรวจดูให้ทั่วรถ อย่ามองข้ามเด็กที่นอนหลับ
- อย่าประมาท : อย่าทิ้งเด็กไว้เพียงลำพังแม้ช่วงเวลาสั้น ๆ อีกทั้งควรแนะนำเด็กให้รู้วิธีเอาตัวรอดด้วยการ “บีบแตรรถ” ขอความช่วยเหลือหากติดอยู่ในรถตามลำพัง
การป้องกัน ฮีทโสตรกในสภาพแวดล้อมทั่วไป
ผู้ปกครองสามารถทำตามขั้นตอนง่ายๆ เพื่อให้เด็กปลอดภัยจากอาการอ่อนเพลียจากความร้อนและโรคลมแดดได้ดังต่อไปนี้
- แต่งตัวให้ลูกน้อยของคุณด้วยเสื้อผ้าที่หลวมและน้ำหนักเบา สีอ่อน และระบายความชื้นมากกว่าผ้าฝ้ายหนาในวันที่อากาศร้อน
- ให้เด็กพ้นจากแสงแดดโดยตรง
- ถ้าเป็นไปได้ ให้ลูกน้อยของคุณอยู่ในที่ร่ม ในช่วงที่อากาศร้อนที่สุดของวัน
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกของคุณได้ดื่ม หรือมีน้ำดื่มเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าปกติ
- ควรให้เด็กๆ เพลิดเพลินกับกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเวลาที่อากาศเย็นกว่าของวัน เช่น ในช่วงเช้าตรู่หรือในตอนเย็น
ฮีทโสตรก หรือ ลมแดด อาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งและอาจถึงแก่ชีวิตได้ การทำความคุ้นเคยกับสาเหตุและอาการต่างๆ จะช่วยให้คุณปกป้องลูกน้อยและดูแลให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขท่ามกลางความร้อนได้ นอกจากนี้การสอนให้เด็กรู้จักวิธีการเอาตัวรอดในสถานการณ์ขับขัน เช่น การขอความช่วยเหลือเมื่อติดอยู่ในรถด้วยวิธีบีบแตรรถ หรือ วิธีอื่นๆ จะช่วยเสริมสร้างนิสัยที่ส่งผลดีต่อสุขภาพและความปลอดภัยของตัวเอง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างทักษะความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) ให้แก่เด็กๆ ได้อีกทางหนึ่งด้วยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.thaihealth.or.th/ , https://www.nhtsa.gov , https://www.emergencyphysicians.org/ , https://www.carlsonattorneys.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก