ลูกเดินเขย่งเท้า ผิดปกติหรือไม่? คำถามนี้อาจจะเกิดขึ้นเมื่อลูกๆของคุณอยู่ในช่วงวัย 1-3 ขวบ ซึ่งนั่นก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีคุณแม่หลายคนเห็นลูกชอบเดินเขย่งเท้าแล้วไม่สบายใจ ลองมาดูวิธีการ และคำแนะนำจากคุณหมอกัน อย่าเพิ่งตื่นตระหนกตกใจไป ปัญหาลูกเดินเขย่งเท้าอาจไม่ได้ใหญ่โตอย่างที่คิด
เด็กที่มีพฤติกรรมการเดินเขย่ง จะหยุดเดินเขย่งไปเองโดยธรรมชาติเมื่อเขาอายุย่างเข้า 5 ขวบ การเดินเขย่งไม่จะส่งผลกระทบใดๆต่อการพัฒนาการหรือระบบประสาทแต่อย่างใด
สาเหตุที่ ลูกเดินเขย่งเท้า
ซึ่งสำหรับในเด็กวับ 1-3 ปี เวลาเดินลงน้ำหนักปกติสักครู่หนึ่งจึงเขย่งเท้า หรือเขย่งเท้าเดิน (toe walking) ตลอดเวลา เป็นเพราะมีสาเหตุ ดังนี้
1. นิสัยของเด็กเอง (Habit)
2. เส้นเอ็นของส้นเท้าสั้นมาแต่กำเนิด (Congenital short heelcord)
3. กล้ามเนื้อน่องทำงานมากเกินไป (Overactive tricep surae หรือ Idiopathic toe walking)
4. โรคออทิซึม (Autism) เด็กออทิสติก มีลักษณะผิดปกติดังนี้
– พัฒนาการช้าด้านภาษา ไม่หันหาเสียง ไม่ทำตามคำสั่ง ไม่พูด
– พัฒนาการผิดปกติด้านสังคม ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เช่น ไม่มองหน้า ไม่สบตากับผู้อื่น ไม่ชี้นิ้วบอกความต้องการ ไม่มีจินตนาการ (เล่นสมมติไม่เป็น) ไม่สนใจเล่นกับเด็กอื่น เด็กจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ แยกตัวเอง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม มีความสนใจหมดมุ่นเฉพาะอย่าง และสนใจเฉพาะส่วน ทำกริยาซ้ำๆ เล่นซ้ำๆ เช่น หมุน ตัวเอง หมุนล้อรถ เรียงของ ฯลฯ
5. อัมพาต เนื่องจากสมองได้รับบาดเจ็บ (Cerebral palsy) เด็กจะมีประวัติการคลอดลำบาก พัฒนาการช้า
โดยทั้งนี้ยังมีงานวิจัยที่ได้มีผู้ปกครองเข้ามาร่วมมากกว่า 1,400 คน มีการจัดงานวิจัยในเมือง Blekinge Country ในตอนใต้ของประเทศสวีเดน ซึ่งได้มีการตรวจเช็คประจำวันของเด็กอายุ 5.5 ปี จะมีการสอบถามจากพ่อแม่ทีเข้าร่วมเกี่ยวกับการเดินเขย่งของลูก ผลสรุปจากงานวิจัยมีดังนี้
- ระยะหนึ่งของเด็ก เกือบ 5 % จะมีพฤติกรรมการเดินเขย่ง เมื่อเขาย่างเข้าสู่วัย 5 ขวบถึง 5 ขวบครึ่ง อาจจะมีบางคนเดินเขย่งอยู่
- การเดินเขย่งจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กเริ่มเดินด้วยตัวเองได้คล่องแคล่ว เด็กบางคนเริ่มเดินเขย่งในปีแรกของการเดินของเขา
- ระยะเวลาการเดินเขย่งของเด็กทั่วไปคือ 1-2 ปีก่อนเขาจะเดินปกติ
- เมื่อเด็กอายุครบ 5 ขวบ หรือ 5 ขวบครึ่งแล้ว บางคนอาจจะยังติดเดินเขย่งอยู่ แต่ไม่นานก็จะเดินปกติได้ แต่สำหรับเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือระบบประสาท
อ่านต่อ >> “วิธีแก้ไขลูกเดินเขย่ง ตามสาเหตุ” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่