แต่ถ้าคุณแม่สังเกตว่าลักษณะการเดินของลูกไม่ดีขึ้น หรือมีอาการที่เข้าได้กับลักษณะดังต่อไปนี้ ก็ควรพาเขาไปรับคำปรึกษาจากคุณหมอเฉพาะทางเพื่อการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพได้เลยค่ะ
1. อายุมากกว่า 3 ขวบและเคยเดินแบบปกติมาก่อน เพราะลูกอาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากเซลล์ประสาทผิดปกติ ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม อาจมีประวัติว่าคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน
2. คลำเจอก้อนที่บริเวณหลังเข่า ซึ่งเป็นเนื้องอกที่ไปรบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อขา
3. มีประวัติคลอดยากหรือขาดออกซิเจนตอนคลอด ซึ่งมักมีพัฒนาการด้านอื่นผิดปกติด้วย
4. ตรวจร่างกายพบความผิดปกติของกระดูกสันหลัง มีปานจำนวนมาก หรือมีเนื้องอกที่ผิวหนัง
5. ความตึงตัวของเอ็นร้อยหวายมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นมาแต่กำเนิด มักมีอาการเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวาย และอาจมีประวัติการถ่ายทอดในครอบครัวด้วย
6. มักพบในเด็กที่เป็นโรคทางจิตเวช เช่น ออทิสติก จิตบกพร่อง (schizophrenia)
ทั้งนี้หากคุณแม่สังเกตอาการ ลูกเดินเขย่ง ทั้งหมดนี้แล้วและลูกไม่ได้กำลังหัดเรียนบัลเล่ต์อยู่ ก็ให้รีบพาไปหาคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย จะได้รักษาได้ทันท่วงทีนะคะ
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!
- แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกขาดวิตามินซี หกล้มจนเดินไม่ได้เป็นเดือน!
- แก้ไขท่านั่ง W เหตุสร้างปัญหาการเดินของลูกน้อย
- 6 วิธีทดสอบว่าลูกขาโก่ง จริงหรือไม่?
บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด