ออกคำสั่งกับลูก ให้ศักดิ์สิทธิ์ กับ 12 เทคนิคดีๆ - amarinbabyandkids

12 หัวใจสื่อสารกับวัยซนคำสั่งแม่ก็ศักดิ์สิทธิ์ได้

event

ออกคำสั่งกับลูก เมื่อพูดถึง “คำสั่ง” ฟังดูแล้วไม่ค่อยมีใครปลื้มกับคำคำนี้เท่าไรนัก เช่นเดียวกับเด็กๆ ที่มักจะชักสีหน้าเวลาถูกสั่ง หรือถูกห้ามไม่ให้ทำโน่นทำนี่ และหากไม่ยอมทำตาม พ่อแม่หลายๆ ท่านมักปลดปล่อยอารมณ์ด้วยท่าที หรือคำพูดที่สะเทือนใจ เผลอๆ อาจมีลงไม้ลงมือด้วย

คุณแม่มีคำถาม : คุณแม่ข้องใจว่าการเป็นผู้หญิง – ผู้ชายมีผลต่อการออกคำสั่งลูกหรือเปล่าคะ มีลูกชาย 2 คน อายุ 6 กับ 5 ขวบค่ะ สังเกตว่าคำสั่งเดียวกัน วิธีพูดเหมือน ๆ กัน ให้เก็บของเล่น ไปอาบน้ำ ไม่กินขนมก่อนอาหาร ฯลฯ ถ้าเป็นคุณพ่อสั่ง 90 เปอร์เซ็นต์ลูกจะฟังและทำตามทันที แต่ถ้าเป็นคุณแม่สั่ง ต้อง 3 – 4 รอบเป็นอย่างต่ำถึงจะทำตามกัน บางครั้งก็ต้องลงมือลงไม้กันทีเดียวค่ะ

ตอบ : สำหรับพ่อออกคำสั่งแล้วศักดิ์สิทธิ์กว่าแม่ อาจเพราะความเป็นชายเป็นหญิงใช่หรือไม่ ก็มีคำอธิบายที่สนับสนุนอยู่

ออกคำสั่งกับลูก

ตั้งแต่เด็กวัยอนุบาล – ประถมต้น รู้จักลักษณะและความแตกต่างของหญิง – ชายแล้ว เช่น ผู้หญิงมักจะใจอ่อนและให้อภัยได้ง่ายกว่าผู้ชายซึ่งมักเอาจริง เข้มแข็ง เฉียบขาด และชัดเจนกว่าหรือแม้แต่เหตุผลที่ว่าผู้ชายรูปร่างใหญ่โตกว่า ดูมีอำนาจมากกว่าด้วยเหตุเหล่านี้คำสั่งของพ่อจึงมักมีผลกับลูก ๆ ในทันที

นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยล่าสุดที่พบว่า เด็กผู้ชายมักจะตอบสนองต่อน้ำเสียงแหลมของผู้หญิงน้อยกว่าน้ำเสียงต่ำของผู้ชายจึงเป็นไปได้ว่าลูกชายของคุณถึงกระตือรือร้นกับคำสั่งพ่อ แต่กลับเฉื่อยชาบ้างเวลาแม่สั่ง

ถึงจะมีคำอธิบายอย่างนี้ แต่เชื่อแน่ว่าคุณแม่ย่อมรู้ดีว่าลูกจะฟังคำสั่งพ่อแม่หรือไม่นั้น เป็นมากกว่าเรื่องของความเป็นชายเป็นหญิงอยู่แล้ว ทว่าประเด็นของเรื่องนี้อาจอยู่ที่ว่า แม่ ๆ จะสื่อสารอย่างไร

เพื่อให้เข้าถึงลูกได้ Amarin Baby & Kids มีข้อสังเกตในการสื่อสารกับเด็ก ๆ วัยซนอนุบาล – ประถมต้นมาฝากกัน เพื่อให้การออกคำสั่งกับลูก ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ

12 เทคนิค ออกคำสั่งกับลูก ให้ศักดิ์สิทธิ์

1. สอนลูกให้ฟังเป็น

เด็ก ๆ พอพูดเป็นก็จะถนัดแต่เป็นฝ่ายพูดให้คนอื่นรับฟัง เขาเป็น ส่วนใหญ่ แต่การรับฟัง จำเป็น ต้องได้รับการฝึกฝน วิธีฝึกให้ลูกเป็นผู้ฟังที่ดีคือคุยกัน เช่น ผลัดกันเล่าเรื่อง คุณถามลูกถึงเรื่องที่โรงเรียนเพื่อให้เขาเล่า แล้วคุณก็เล่าเรื่องที่บ้านหรือที่ทำงานของคุณบ้าง ตั้งคำถามชวนให้เขาสงสัยพออยากรู้เรื่องอะไร เดก็ ๆก็มักจะขอร้องให้เราเล่าต่อ เป็นต้น

2. คำสั่งชัดเจน เห็นภาพเป็นสำคัญ

สำหรับเด็กวัยจินตนาการสูงนี้จะให้เขาทำอะไร ถ้าบอกให้นึกภาพออก การสื่อสารจะราบรื่นขึ้นอีกมาก สิ่งที่จะช่วยให้เด็กน้อยนึกภาพได้คือ บอกเป็นการกระทำ เช่น วันนี้ลูกบอกว่าเขาเหนื่อยมาก แต่ยังกระโดดโครม ๆ อยู่บนเก้าอี้ วิ่งเล่นเตะบอลไม่หยุดคุณอยากสั่งให้เขาเลิกเล่นเพื่อจะได้ทำกิจวัตรอย่างอื่นให้เสร็จและจะได้เข้านอนเร็วขึ้น ก็ควรบอกลูกว่า “หยุดกระโดดหรือหมดเวลาเล่นแล้ว วันนี้เหนื่อยมากแล้ว ไปอาบน้ำ เสร็จแล้วจะได้กินมื้อเย็นและเข้านอนกน” โดยไม่ลืมน้ำเสียง สีหน้า และท่าทีเอาจริงค่ะ

3. ชื่นชมและทำโทษ

เพราะการฟังคำสั่งพ่อแม่เป็นเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เป็นโอกาสดีให้เด็ก ๆ ได้ฝึกการเคารพและให้เกียรติผู้ใหญ่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็ก ๆ อีกมากมายในอนาคต โดยเริ่มจากคนสำคัญในชีวิตของพวกเขาหากอยากให้ลูกเห็นคำสั่งแม่ศักดิ์สิทธิ์ไม่แพ้คำสั่งพ่อก็เหมือนพฤติกรรมที่พึงประสงค์อื่น ๆ ค่ะ ถ้าคุณอยากให้เขาทำจนติดเป็นนิสัย การบังคับย่อมได้ผลไม่เท่ากับการชื่นชมและลงโทษทันทีเมื่อคุณเอาจริงกับคำสั่งที่สมเหตุสมผล ถ้าลูกลงมือทำตามคำสั่งการให้คำชมทันทีจะเป็นแรงเสริมให้เขาคงการกระทำต่อไป และหากเขาอิดออดหรือไม่ทำ ก็อย่าได้ลังเลที่จะทำโทษอย่างเหมาะสม

อ่านต่อ >> “เทคนิคการออกคำสั่งกับลูกให้ศักดิ์สิทธิ์” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up