ASMR คืออะไร? มีประโยชน์ หรือไม่ อย่างไร สำหรับเด็ก - Amarin Baby & Kids
ASMR

ASMR คืออะไร? มีประโยชน์ หรือไม่ อย่างไร สำหรับเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
ASMR
ASMR

ประเภทของ ASMR

จุดประสงค์เดียวของ เอเอสเอ็มอาร์ คือการผ่อนคลายผู้คน ปัจจุบัน ชุมชน เอเอสเอ็มอาร์ เติบโตอย่างต่อเนื่องบน Youtube ตามหลักการแล้ว วิดีโอ เอเอสเอ็มอาร์ นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ดูรู้สึกผ่อนคลายที่ด้านหลังศีรษะหรือกระดูกสันหลัง ซึ่งวิดีโอ เอเอสเอ็มอาร์ มักเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง

  • เสียงกระซิบเบาๆ
  • เสียงของการเคลื่อนไหวของมือที่ผ่อนคลาย
  • การตบริมฝีปาก
  • การเคาะหรือเกาเล็บบนพื้นผิวที่แข็ง เช่น โต๊ะ และเสียงแปรง

เหตุผลที่อาจทำให้เด็กชื่นชอบ ASMR

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ มันได้รับความนิยมจากเด็กๆ มากขึ้น มีเหตุผลบางอย่างที่อธิบายได้สำหรับสิ่งนี้

  • ส่วนใหญ่จะพบวีดีโอเอเอสเอ็มอาร์ ได้บน YouTube หรือ TikTok ซึ่งเด็กๆ Gen Alpha หลายคนมีส่วนร่วมกับมันทุกวัน เด็ก ๆ คุ้นเคยกับสิ่งที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นและจะค้นหาวิดีโอที่กำลังเป็นที่นิยม
  • ความรู้สึกที่เด็กๆ รู้สึกได้จาก เอเอสเอ็มอาร์ นั้นเลียนแบบความรู้สึกหลายอย่างที่พวกเขาจะได้รับเมื่อได้เป็นทารกแรกเกิด จากการได้รับการปลอบโยนจากพ่อแม่ (เช่น เมื่อพ่อแม่พูดกับพวกเขาอย่างแผ่วเบา) สำหรับเด็กโต สิ่งนี้สามารถหวนคืนความทรงจำที่ชวนคิดถึง ให้ความรู้สึกสบายและปลอดภัย
  • วิดีโอ เอเอสเอ็มอาร์ มีคุณสมบัติผ่อนคลายตามธรรมชาติ ซึ่งไม่เพียงแต่ดึงดูดใจเด็กๆ ในบางช่วงเวลาของวัน เช่น ก่อนนอน แต่ผู้ปกครองสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการผ่อนคลายได้เช่นกัน
ASMR สำหรับเด็ก
ASMR สำหรับเด็ก

ปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่?

ความนิยมของวิดีโอ เอเอสเอ็มอาร์ยังใหม่อยู่ ดังนั้นจึงไม่มีการวิจัยในระยะยาวมากนัก โดยส่วนใหญ่ เนื้อหาในวิดีโอจะไม่เป็นอันตราย การเคาะขวด เปิดกระเป๋า เกากระดาษ การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าสื่อสำหรับเด็กส่งผลต่อสุขภาพจิตของพวกเขาอย่างไรในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังพบว่าวัยรุ่นอายุ 12-19 ปีกำลังเฝ้าดูสิ่งเหล่านี้อย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งสำคัญสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครองของเด็ก ๆ ที่ชื่นชอบประโยชน์ทางประสาทสัมผัสจากสื่อประเภทนี้ แต่หวังว่าสื่อประเภทนี้จะมีส่วนร่วมกับธรรมชาติมากขึ้นหรือมีผลในเชิงบวกอื่นๆ เช่น โอกาสในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เช่น การสร้างความมั่นใจ

สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำ

หากบุตรหลานของคุณดู เอเอสเอ็มอาร์ บน Youtube มีวิธีง่ายๆ บางอย่างเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะปลอดภัยและไม่ได้พบเห็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม

  • ค้นหาว่าทำไมพวกเขาถึงสนใจ บางทีพวกเขาอาจชอบความรู้สึกผ่อนคลาย แต่บางครั้งพวกเขาอาจกำลังกังวลกับบางอย่างหรือนอนไม่หลับ ถ้ามีปัญหา ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ พ่อแม่อาจช่วยพวกเขาได้
  • แบ่งปันวิธีการดูแลตัวเองกับลูกๆ เมื่อคุณมีความเครียดหรือไม่สบายใจ เช่นการฟังเสียงเพลงแบบ Music Therapy
  • หากลูกของคุณ อายุต่ำกว่า 13 ปี ควรสมัครใช้ YouTube Kids ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเวอร์ชันที่เหมาะสำหรับเด็กๆ และครอบครัว ซึ่งคุณสามารถปรับแต่งประสบการณ์ของพวกเขา จัดการสิ่งที่พวกเขาเห็น ตั้งเวลา และบล็อกวิดีโอบางช่องได้

โดยรวมแล้ว เอเอสเอ็มอาร์ อาจเป็นวิธีที่ไม่เป็นอันตรายในการผ่อนคลาย อย่างไรก็ตามพ่อแม่ควรพึงระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากวิดีโอบางช่องมีวัตถุประสงค์ชัดเจนบนแพลตฟอร์มต่างๆ ดังนั้นอย่าลืมพูดคุยกับบุตรหลานของคุณเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัยออนไลน์ที่เหมาะสม  นอกจากนี้ ให้คำนึงถึงประเภทของวิดีโอ เอเอสเอ็มอาร์ ที่เด็กๆ กำลังดู เพราะไม่ใช่ทุกอย่างที่จะเป็นมิตรกับเด็ก แน่นอนว่าเราไม่ต้องการให้เด็กๆ ต้องพบเจอกับ เอเอสเอ็มอาร์ ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่

ความปลอดภัยของเด็กๆ บน YouTube เป็นเรื่องที่น่ากังวล มีวิดีโอเอเอสเอ็มอาร์ มากกว่า 10 ล้านรายการ แต่วิดีโอบางเรื่องอาจมีความคลุมเครือหรือมุ่งเป้าไปที่ผู้ใหญ่ ซึ่งคุณต้องระวังเมื่อดูกับลูก ๆ  ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับการดูแลในขณะที่เลื่อนดูช่องเหล่านี้ ควรมั่นใจว่าวีดีโอไม่ได้เล่นโดยอัตโนมัติก่อนการตรวจสอบก่อน เพราะมันไม่คุ้มที่จะเป็นอันตรายต่อสภาพจิตใจของเด็กๆ

สุดท้ายนี้ แนวทางในการสร้างเอเอสเอ็มอาร์ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ควรเริ่มต้นจากผู้ปกครอง ด้วยการแสดงออกกับลูกด้วยความอ่อนโยน เอาใจใส่ และให้ความรู้สึกปลอดภัย  พฤติกรรมของผู้ปกครองรวมถึงการให้ความสนใจในเชิงบวกและเป็นส่วนตัวด้วยเสียงที่อ่อนโยน น้ำเสียงที่ห่วงใย การเคลื่อนไหวที่สุขุม และการสัมผัสเบา ๆ เพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจ เช่นเวลาก่อนนอนผู้ปกครองสามารถกระซิบเรื่องราวแทนที่จะอ่านออกเสียงอย่างช้าๆ พลิกหน้ากระดาษเพื่อเน้นเสียง และวาดภาพประกอบด้วยมือ การกระทำทั้งหมดเหล่านี้ช่วยเพิ่มช่วงเวลาแห่งความสนใจส่วนตัวต่อเด็กได้ในเชิงบวกได้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก :  https://www.romper.comhttps://lagosmums.comhttps://we-are-family.nethttps://www.parent.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up