เทคนิคสำคัญ ฝึกให้ลูกไม่เสียนิสัย ไม่ สปอยล์
1. สอนลูก ๆ ของคุณให้รู้จักศิลปะแห่งความอดทนที่หายไป
เด็กนิสัยเสียไม่เพียงแต่รู้สึกว่าพวกเขามีสิทธิ์ได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการเท่านั้น แต่พวกเขายังหวังว่าจะต้องได้รับในทันทีอีกด้วย เราอยู่ในโลกแห่งหน้าจอสัมผัสแห่งความพึงพอใจในทันที คุณสามารถติดต่อใครบางคนผ่านทางข้อความในไม่กี่วินาที เกือบทุกคำถามสามารถตอบได้ด้วยการค้นหาโดย Google อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเหล่านี้อาจทำให้เด็กเกิดความคาดหวังที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับการได้ในสิ่งที่ต้องการในเวลาที่พวกเขาต้องการ
การรู้จักปฏิเสธลูกหรืออย่างน้อยก็สอนให้พวกเขาอดกลั้นต่อสิ่งที่ต้องการนั้นจะช่วยให้ลูกของคุณพัฒนาวินัยในตนเองของลูกและทำให้พวกเขาเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้รับมากขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องสอนลูก ๆ ของคุณให้รู้จักความยับยั้งชั่งใจด้วยการทำตัวอย่างที่ดีให้พวกเขาเห็นเช่นกัน มองหาโอกาสให้พวกเขาเห็นคุณรอสิ่งที่คุณต้องการ ตัวอย่างเช่น หากคุณเห็นกางเกงยีนส์ในห้างสรรพสินค้าที่คุณตัดสินใจไม่ซื้อ ควรบอกให้ลูกรู้ว่าทำไม โดยอาจให้เหตุผลว่า “กางเกงยีนส์ตัวเก่าของแม่ยังดูดีอยู่” หรือ “แม่จะรอจนกว่าจะลดราคา” เป็นต้น
2. มอบกำลังใจแทนสิ่งของ
เด็กที่ได้รับสิ่งตอบแทนจากความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ เป็นของเล่น หรือของขวัญหรือแม้แต่เงินทอง เมื่อพวกเเขาเริ่มคุ้นชินกับการได้รับ พวกเขาจะเริ่มสูญเสียแรงผลักดันตามธรรมชาติที่จะเก่งกาจในสิ่งต่างๆ ในทางตรงกันข้าม คำชมแบบเฉพาะเจาะจงที่ทำให้เด็กเกิดความประทับใจจะอยู่กับลูกของคุณนานขึ้นและช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้กับพวกเขา มันเป็นสิ่งที่ดีสำหรับความภาคภูมิใจในตัวเองของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในเรื่องใดของลูก ตราบใดที่คุณชื่นชมให้กำลังใจมากกว่าการให้รางวัล การให้พวกเขาเลือกสถานที่โปรดสำหรับมื้อค่ำเมื่อพวกเขาสามารถเอาชนะอุปสรรคบางอย่างได้ด้วยตัวเองก็เป็นเรื่องที่น่าพอใจ และเสริมสร้างกำลังใจสำหรับเด็กๆ ได้เป็นอย่างดีแล้ว
2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาทำงานบ้าน
การให้งานบ้านที่เหมาะสมกับวัยแก่เด็กไม่เพียงช่วยแบ่งเบาภาระของคุณในบ้านเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ลูกของคุณพัฒนาความรู้สึกรับผิดชอบและความนับถือตนเองได้1 แม้ว่าในตอนแรกอาจใช้เวลานานกว่าในการสอนเด็กเล็กถึงวิธีการทำง่ายๆ งานต่างๆ เช่น กวาดบ้านให้ถูกวิธี (ความจริงแล้วการทำเองมักจะง่ายกว่า) การสอนลูกให้ทำงานบ้านอาจเป็นรากฐานสำคัญที่จะอยู่กับลูกไปตลอดชีวิต
3. สอนลูกให้รู้จักพูดคำว่า ขอบคุณ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น อาหารเย็นที่คุณเตรียมไว้ให้ หรือเรื่องใหญ่ ๆ เช่น ของขวัญวันเกิดที่คุณมอบให้ ลูกของคุณควรรู้วิธีพูดขอบคุณโดยที่คุณแทบไม่ต้องบอกกล่าว นอกจากนี้การเป็นแบบอย่างที่ดีโดยแสดงให้ลูกของคุณเห็นว่าคุณกล่าวขอบคุณคนรอบข้างอย่างไร เช่น พนักงานเสิร์ฟหรือพนักงานธนาคาร นั่งลงและเขียนข้อความขอบคุณกับลูกของคุณ เพื่อส่งให้คนที่ให้ของขวัญหรือช่วยเหลือพวกเขา เป็นต้น
4. ฝึกวินัยลูกของคุณ
สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่พ่อแม่สอนลูกคือวิธีควบคุมตนเองเพื่อให้มีระเบียบวินัยเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย การกำหนดขอบเขตและความคาดหวังที่แน่นอนแต่เนิ่นๆ สามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากในพฤติกรรมของเด็กเมื่อโตขึ้น เด็กที่ได้รับการสอนตั้งแต่อายุยังน้อยถึงวิธีปฏิบัติตนในลักษณะที่น่าพึงพอใจ อดทน และควบคุมตนเองได้ มีแนวโน้มที่จะสร้างมิตรภาพกับเพื่อนๆ ได้ง่ายขึ้นและประสบความสำเร็จในสังคม การฝึกสอนลูกให้มีวินัยในตัวเองเป็นหนึ่งในวิธีสำคัญที่พ่อแม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำให้ลูกเสียนิสัยได้
5. อย่าชมลูกเกินจริง
การชมลูกมากเกินไป ไม่เหมาะสมกับความเป็นจริง อาจทำร้ายลูกของคุณได้ แม้คุณไม่ต้องการให้พวกเขารู้สึกแย่เกี่ยวกับตัวเองและพยายามส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง แต่ความจริงคือไม่ใช่ทุกคนที่จะชนะหรือมีความสามารถเท่ากันในทุกเรื่อง สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือต้องปลูกฝังให้ลูกรู้จักการแพ้ชนะและรับมือกับความล้มเหลว แล้วลองใหม่อีกครั้งในสิ่งนั้น คุณแค่ต้องการให้กำลังใจพวกเขาโดยไม่ชมเชยอย่างพร่ำเพรื่อ หากลูกของคุณไม่เก่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้เตือนพวกเขาถึงเรื่องอื่นๆ อีกมากมายที่พวกเขาทำได้ดี ให้พวกเขาคิดว่าคนที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อนและครอบครัวของพวกเขาเก่งในเรื่องต่างๆ กันอย่างไร เตือนพวกเขาว่าความแตกต่างเหล่านี้ทำให้เรามีเอกลักษณ์และน่าสนใจ
6. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาคำนึงถึงมารยาท
มารยาทที่ดีเป็นมากกว่าการกล่าวขอบคุณ การพูดว่าได้โปรด พูดในลักษณะที่ดีต่อผู้คนรอบข้างไม่ว่าจะในสถานการณ์ใด การ มีน้ำใจนักกีฬาที่ดีในระหว่างเกมการแข่งขันใดๆ รวมถึงมีมารยาทบนโต๊ะอาหารที่ดี ทักทายผู้คนอย่างเหมาะสม และมีมารยาทพื้นฐานที่ดีอื่นๆ ล้วนเป็นทักษะที่จำเป็นที่พ่อแม่ต้องหมั่นปลูกฝังเพื่อการป้องกันพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูก
7. ปลูกฝังคุณค่าของเงิน
การสอนลูกเรื่องเงินเป็นวิธีการสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กเสียนิสัย เมื่อลูกของคุณเรียนรู้เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย รู้เรื่องงบประมาณในครัวเรือน และรู้จักการใช้จ่ายอย่างเหมาะสม พวกเขาย่อมมีแนวโน้มที่จะคร่ำครวญเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องการน้อยลง และจะเข้าใจความเป็นจริงอย่างมีเหตุผลมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.parents.com , https://www.huffpost.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่