ความต้องการพลังงานและสารอาหารของหญิงตั้งครรภ์
- วิตามินซี มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์คอลลาเจน คาร์นิทีน สารเหนี่ยวนำกระแสประสาท (neurotransmitter) และเมตาบอลิสมของกรดอะมิโนและคาร์โบไฮเดรต เพิ่มภูมิต้านทานและช่วยในการดูดซึมเหล็ก ยับยั้งการสร้างสารก่อมะเร็ง ไนโตรซามีน (nitrosamine) ถ้ามีการขาดวิตามินซีอย่างรุนแรงจะเกิดโรคลักปิดลักเปิดได้
ภาวะการขาดวิตามมินซีในหญิงตั้งครรภ์จะทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อขณะคลอด คลอดก่อนกำหนด และภาวะครรภ์เป็นพิษได
แหล่งอาหาร : อาหารที่มีวิตามินซีมากได้แก่ ฝรั่ง มะขามป้อม มะนาว ส้ม สตรอเบอรี่ มะเขือเทศ ผักใบเขียว กะหล่ำ บล็อคโคลี่ เป็นต้น การหุงต้มและการได้รับแสงทำให้สูญเสียวิตามินซีได้มาก เวลาปรุงอาหารจึงต้องระมัดระวังไม่ต้มผักโดยใช้ความร้อนนานเกินไป เพราะจะทำให้ปริมาณวิตามินซีในผักถูกทำลายการเก็บอาหารเป็นเวลานาน ทำให้วิตามินซีสูญเสียไปได้มากเช่นกัน
- โฟเลต : มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมองและระบบประสาท หากทารกขาดโฟเลตอาจเกิดภาวะกะโหลกศีรษะไม่ปิด หรือไขสันหลังไม่ปิด และแนะนำให้รับประทานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน
แหล่งอาหาร : โฟเลตพบปริมาณน้อยในอาหาร ส่วนใหญ่สังเคราะห์ขึ้นและเตรียมขึ้นในรูปยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โฟเลตที่อยู่ในอาหารธรรมชาติมีอยู่หลายอนุพันธุ์ กรดโฟลิกที่เกิดจากการสังเคราะห์ถูกดูดซึมและนำไปใช้ได้ดีกว่าโฟเลตที่เกิดตามธรรมชาติ โฟเลตในอาหารมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ ไวต่อแสงและความร้อน ดังนั้นบางส่วนจึงถูกทำลายไปในสิ่งแวดล้อมและการปรุงอาหาร ผักและผลไม้ที่เป็นแหล่งอาหารที่ดีของโฟเลต ได้แก่ ดอกกะหล่ำ
ดอกและใบกุ้ยช่าย มะเขือเทศผักตระกูลกะหล่ำ แตงกวา หน่อไม้ฝรั่งแครอท ถั่วฝักยาวผักใบเขียวองุ่น ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น
- น้ำ ช่วงตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่มีความต้องการน้ำมากเป็นพิเศษ จึงควรดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูก และป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
พลังงานและสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก หรือ 1 – 3 เดือน
พลังงานและสารอาหาร | อายุ 16-18 ปี | อายุ19 ปีขึ้นไป |
พลังงาน (กิโลแคลอรี่) | 1,900 | 1,700 |
โปรตีน (กรัม) | 78 | 77 |
วิตามินเอ (ไมโครกรัม) | 800 | 800 |
วิตามินซี (ไมโครกรัม) | 85 | 85 |
ไธอะมิน (มิลลิกรัม) | 1.3 | 1.4 |
ไรโบฟลาวิน (มิลลิกรัม) | 1.3 | 1.4 |
วิตามินบี6 (มิลลิกรัม) | 1.8 | 1.9 |
โฟเลต (ไมโครกรัม) | 600 | 600 |
วิตามินบี12 (ไมโครกรัม) | 2.2 | 2.2 |
แคลเซียม (มิลลิกรัม) | 1,000 | 800 |
ไอโอดีน (ไมโครกรัม) | 200 | 200 |
เหล็ก (มิลลิกรัม) | ความต้องการสูงมาก | ความต้องการสูงมาก |
สังกะสี (มิลลิกรัม) | 9 | 9 |
อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง
หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส อาหารรสจัด โดยเฉพาะหวานจัด อาหารไขมันสูง หมักดอง ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และบุหรี่
อาหารมีความสำคัญมากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ในการสร้างเสริมความแข็งแรงและสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์ ทีมกองบรรณาธิการ ABK จึงได้นำบทความ เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน มาฝากคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อเป็นข้อมูลให้คุณแม่ได้มีโภชนาการที่ดีในระหว่างตั้งครรภ์
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
อาการตั้งครรภ์ สัญญาณเตือนว่าท้อง อาการตลอด 9 เดือน มีแบบไหนบ้าง? เช็คเลย!!
คนท้องกินยาแก้แพ้ได้ไหม โรคภูมิแพ้กำเริบตอนท้อง ควรทำอย่างไร?
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://anamai.moph.go.th, https://www.samitivejhospitals.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่