โรคติดต่อทางพันธุกรรม

11 โรคติดต่อทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูกและวิธีป้องกัน

Alternative Textaccount_circle
event
โรคติดต่อทางพันธุกรรม
โรคติดต่อทางพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรม หรือ โรคติดต่อทางพันธุกรรม เป็น โรคที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดพันธุกรรมของฝั่งพ่อและแม่ หากหน่วยพันธุกรรมของพ่อและแม่มีความผิดปกติแฝงอยู่ โดยความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการผ่าเหล่าของหน่วยพันธุกรรมบรรพบุรุษ ทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมได้

11 โรคติดต่อทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก

11 โรคติดต่อทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูก

โรคติดต่อทางพันธุกรรม หมายถึง โรคที่สามารถเกิดขึ้นด้วยสาเหตุความผิดปกติของยีนที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ของโครโมโซม จากพ่อและแม่ไปสู่ลูก โดยความผิดปรกตินี้เกิดขึ้นจากหน่วยของพันธุกรรมมีการผ่าเหล่าผ่ากอ ผิดแปลกไปจากบรรพบุรุษ จึงทำให้หน่วยพันธุกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนั่นเอง

โรคทางพันธุกรรม เป็นโรคที่ปัจจุบันทางการแพทย์ ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงทำให้ติดตัวไปตลอดชีวิต โดยโรคติดต่อทางพันธุกรรม สามารถแบ่งความผิดปรกติของโครโมโซมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความผิดปรกติของ โครโมโซมเพศ และความผิดปรกติของโครโมโซมร่างกาย หรือ (ความผิดปรกติของออโตโซม) เนื่องจาก โรคติดต่อ ทางพันธุกรรม ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ โดยโรคติดต่อทางพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก มีดังต่อไปนี้

1. โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของสารสีแดงในเม็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการโลหิตจางเรื้อรัง  เป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะผิดปกติ จึงมีการแตกสลายเร็วกว่าที่ควร ทำให้มีอาการซีดเหลืองเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการแสดงของโรคนี้ จะต้องรับกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติมาจากทั้งฝ่ายพ่อและแม่ (ซึ่งอาจไม่มีอาการแสดง)ถ้ารับจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่มีอาการแสดง แต่จะมีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติอยู่ในตัวและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไปตัวและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไป

Must readธาลัสซีเมียตรวจได้ ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์

2. โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)

โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่รุนแรง มีความผิดปกติของตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่สร้างเอ็นไซม์ในการย่อยอาหาร สร้างบางส่วนของต่อมน้ำลาย ต่อมในระบบทางเดินหายใจและต่อมเหงื่อ โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับโรคนี้คือ

(1)  ร่างกายตกอยู่ในภาวะขาดอาหาร

(2) การอักเสบของอวัยวะในระบบหายใจ

(3) ไม่มีแรง เนื่องจากมีเหงื่อออกมากทำให้ร่างกายสูญเสียโซเดี่ยมคลอไรด์ โรคนี้มักจะเกิดขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็ก และเด็กหลายคนก็จะเสียชีวิตก่อนที่จะโตจากวิธีการรักษาแผนใหม่ที่ดีขึ้น สามารถช่วยเด็กเหล่านี้มีอายุยืนขึ้นได้

3. โรคคนเผือก (albinism)

โรคอัลบินิซึม (albinism) โรคอัลบินิซึม หรือโรคผิวเผือก เกิดจากยีนด้อย ที่มีอยู่ในพันธุกรรม ทำให้ไม่สามารถ สร้างเอนไซม์ เมลาโนโซท์ ไทโรซิเนส melamocyte tyrosinase ที่จะเปลี่ยนไทโรซีน ซึ่งเป็นโปรตีน สำคัญตัวหนึ่ง ไปเป็นเมลานิน melanin ซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ แสดงลักษณะ เผือกคือ มีสีผิวขาว ผมขาว ตาสีขาว ม่านตาสีเทาและโปร่งแสง รูม่านตา สะท้อนแสงออกมาเป็นสีแดง ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป แม้จะดูจากภานอกทั้งพ่อและแม่จะมีลักษณะปกติ แต่ทั้งคู่มียีนด้อย ซึ่งมีลักษณะผิดปกติแฝงอยู่หรือเรียกได้ว่าทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะของลักษณะผิดปกตินั้น ลูกก็มีโอกาสได้รับยีนผิดปกตินั้นทั้งคู่ได้ โรคอัลบินิซึม albinism หรือโรคผิวเผือก เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมค่ะจึงไม่มีวิธีป้องกัน ไม่มีวีธีรักษาโดยตรง แต่สามารถทำได้โดยทางอ้อมคือ การป้องกันให้ห่างไกลจากแสงแดด เพราะแสงแดดนั้นจะทำไให้ผิวของคนที่เป็นโรคผิวเผือก ตกกระและจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up