3. อุบัติเหตุ แม่ท้องเดินชนโต๊ะ
จากเดิมที่หน้าท้องเคยแบนราบ แต่เมื่อตั้งครรภ์ ด้วยท้องที่โตขึ้นในแต่ละเดือน พร้อมกับความที่ยังไม่เคยชิน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ก็อาจจะทำให้การกะระยะสิ่งของกับขนาดของท้องที่ยื่นออกไปผิดพลาดได้ จึงอาจจะเห็นคุณแม่ท้องเดินชนของประจำเพราะความไม่เคยชินนั่นเอง จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่แม่ท้องต้องกะระยะความห่างให้เกินไว้ก่อนเพื่อเว้นพื้นที่ไว้ให้ท้องที่ขยายใหญ่ด้วยทุกครั้งเมื่อจะเดินผ่านสิ่งของต่างๆ
4. อุบัติเหตุ แม่ท้อง สะดุดล้ม
ด้วยลักษณะท้องที่ใหญ่โย้วออกมาอาจทำให้บดบังวิทัศน์ทางเดินของคุณแม่ท้องได้ จากโต๊ะเก้าอี้ หรือของก็วางอยู่ที่เดิม แต่เท้าของคุณแม่ก็อาจพานไปเตะเข้าจนได้ อุบัติเหตุ แม่ท้อง จากการเดินสะดุดล้มจึงเกิดขึ้นได้ง่าย ทั้งนี้การลื่นล้มเพียงเล็กน้อย ก็ไม่สามารถส่งผลอันตรายกับลูกน้อยในครรภ์ได้ เพราะธรรมชาติได้สร้างสิ่งวิเศษที่สุดที่คอยช่วยปกป้องทารกให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุเล็กน้อยต่าง ๆ ไว้ให้แล้ว และสิ่งวิเศษที่ว่าก็คือ ผนังท้องและไขมันที่หนา กระดูกเชิงกราน และถุงน้ำคร่ำที่มีของเหลวคอยห่อหุ้มทารกอยู่นั่นเอง
ทั้งนี้สำหรับเรื่องเกราะป้องกันลูกน้อยในครรภ์จากการกระทบกระเทือนเล็กน้อย นพ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์ สูตินรี โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ได้กล่าวถึงมีโครงสร้างในการปกป้องไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ง่ายๆ ซึ่งคุณแม่ควรทราบก่อน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเป็นกังวลมาก เพราะก่อนที่จะมีอะไรไปกระทบกระเทือนกับลูกในท้องนั้น ก็ต้องฝ่าด่านระบบป้องกันภัยถึง 5 ชั้น ตามมาดูกันค่ะว่าคุณแม่ท้องมีอะไรไว้ป้องกันให้ลูกน้อยในครรภ์บ้าง
- เมื่อท้องร่างกายของคุณแม่ก็จะมีการสะสมไขมันมากขึ้น โดยเฉพาะที่ก้นกับที่สะโพก ยิ่งท้องโตก้นก็ยิ่งใหญ่ ตรงนี้เขาเรียกว่า กันชน หรือ Bumper ก้นที่ใหญ่หนานุ่มของคุณแม่ก็จะรับแรงกระแทกกระเทือนได้มากขึ้น แรงกระแทกกระเทือนเล็กๆน้อยๆก็จะได้ไม่กระเทือนไปสู่ลูกในท้องได้มากนัก แต่ถ้าหนักๆ เช่นตกจากที่สูงก็รับไม่ไหวเหมือนกัน
- ช่วงที่ยังท้องอ่อนๆ ซึ่งจะมีอัตราการแท้งได้สูง มดลูกก็จะจมอยู่ในอุ้งเชิงกราน มีกระดูกเชิงกรานใหญ่แข็งแรงโอบอุ้มเป็นเกราะป้องกัน หากโชคไม่ดีมีอุบัติเหตุหนักๆ มดลูกก็ไม่ค่อยได้รับอันตรายเท่าไหร่ เพราะมีกระดูกเชิงกรานคอยป้องกันไว้ แต่ถ้าหนักๆ ถึงกระดูกเชิงกรานแตกหักก็ไม่ต้องคิดมาก เพราะถ้าถึงขนาดนั้น บางทีแม่ก็มักไม่รอดเหมือนกัน ทั้งนี้กระดูกเชิงกรานของผู้หญิงเราก็จะเป็นปีกโอบไปทางด้านหลัง ด้านหน้าเปิดโล่งๆ ให้มดลูกขยายออกไปทางด้านหน้าได้ ดังนั้นกระดูกเชิงกรานก็จะปกป้องทางด้านหลังได้ดีกว่าทางด้านหน้า เพราะคนเราถ้าล้มไปข้างหลังก็ไม่ค่อยได้เอามือเอาเข่าช่วยยันไว้ได้ ส่วนท้องที่ยื่นไปข้างหน้าก็จะถูกปกป้องด้วยสัญชาติญาณ ไม่มีใครที่ล้มไปข้างหน้าลงไปทั้งแท่งโดยที่ไม่เอามือเอาเข่ายันไว้ ดังนั้นก็มีโอกาสน้อยมากที่หกล้มไปข้างหน้าแล้วท้องจะกระแทกพื้น
- มดลูกของผู้หญิงเราจะมีปากมดลูกติดอยู่กับส่วนปลายของช่องคลอด ส่วนตัวมดลูกเองก็จะลอยขึ้นไปในช่องท้อง โดยจะมีปีกมดลูกสองข้างคอยดึงรั้งมดลูกให้ตั้งตรงอยู่ตรงกลาง ดังนั้นมดลูกก็เหมือนลูกตุ้มที่แกว่งไปมาในช่องท้องได้ ถ้าคุณแม่เกิดซุ่มซ่ามเดินชนเสาไฟฟ้าโป้งเข้าให้ มดลูกก็จะไม่ได้รับแรงกระแทกกระเทือนเต็มๆ เพราะมันจะแกว่งตัวโยกเยกไปมาเพื่อดูดซับแรงสะเทือนได้เยอะ ลูกคงไม่รู้สึกเหมือนวิ่งไปชนเสาไฟฟ้าเหมือนแม่แน่นอน
- มดลูกของผู้หญิงก็จะอยู่ลึกลงไปในท้องน้อย แต่ก็ไม่ได้ลอยแคว้งคว้าง เพราะรอบๆตัวมันก็ยังมีอวัยวะต่างๆอยู่ใกล้เยอะแยะ ที่สำคัญก็คือมีลำไส้ขดเล็กขดน้อยอยู่ล้อมรอบเต็มไปหมด ในลำไส้ก็จะมีน้ำ มีอาหารเละๆ มีแก๊สอยู่ข้างใน มันก็เหมือนเราเอาเครื่องแก้วใส่กล่องแล้วเอาโฟมเป็นหลอดๆใส่เอาไว้ล้อมรอบ เวลาคุณแม่เกิดโดนอะไรกระแทกที่ท้อง แรงกระแทกนั้นก็จะไม่สะเทือนไปถึงมดลูกตรงๆ แต่จะไปเจอลำไส้เล็กลำไส้น้อยรอบๆก่อน แก๊สกับน้ำในลำไส้ก็จะทำหน้าที่เหมือนถุงลมนิรภัยคอยดูดซับแรงกระแทกไปได้เยอะทีเดียว
- ปราการด่านสุดท้ายก็คือถุงน้ำคร่ำในมดลูกที่ห่อหุ้มลูกอยู่นั่นเอง ลูกน้อยในครรภ์จะลอยอยู่ในน้ำอย่างอิสระ เวลามีการสั่นสะเทือนเล็กๆน้อยๆก็จะทำให้เด็กไม่ค่อยรู้สึกอะไรมากนัก อย่างเวลาเราขับรถวิ่งผ่านลูกระนาดบนถนน รถสั่น แม่นั่งตัวสั่น มดลูกแม่ก็สั่น แต่ลูกลอยอยู่ในน้ำ อาจจะสั่นสะเทือนเหมือนกัน แต่ก็ไม่มากการที่เด็กลอยอยู่ในน้ำก็ดีในแง่ลดการสั่นสะเทือนเล็กๆได้ดี แต่ก็ไม่เหมาะกับการสะเทือนเยอะๆ ทั้งนี้ถุงน้ำคร่ำนอกจากช่วยดูดซับการสั่นสะเทือนได้บ้างแล้ว ยังช่วยป้องกันการกดทับโดนตัวเด็กด้วย น้ำในถุงน้ำคร่ำจะช่วยให้มดลูกทรงรูปอยู่ได้ นอนทับด้านนี้ น้ำคร่ำก็จะโป่งออกไปทางด้านโน้น ปริมาตร หรือพื้นที่ภายในมดลูกก็จะคงที่ตลอด ดังนั้นก็ไม่ต้องกลัวหรอกครับว่านอนไปนอนมาจะนอนทับแขนขาลูกหัก
ขอบคุณข้อมูลอ้าอิงจากเพจ นพ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์
อ่านต่อ >> “อุบัติเหตุ ที่แม่ท้อง ต้องระวัง!” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่