6 ย.ช่วยลดอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์
5. อย่ายุ่งกับหน้าอก!!
แม่ท้องบางคนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจมีน้ำนมไหลออกมา อย่าได้ไปบีบ หรือ กระตุ้นให้มีน้ำนมไหลออกมาเชียวนะคะ และ สำหรับแม่ท้องที่ไม่ได้มีน้ำนมไหลออกมา แต่ในช่วงตั้งครรภ์ หน้าอกมีการขยายใหญ่ขึ้น ทำให้สามีอาจจะอยากจับ ขอบอกว่าอย่าไปจับเชียวค่ะ เพราะในขณะตั้งครรภ์การกระตุ้นบริเวณหัวนม จะไปกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมนที่ทำให้มดลูกบีบตัวได้ ทำให้แม่ท้องมีอาการท้องแข็งได้บ่อย ๆ ค่ะ
6. อย่ากลั้นปัสสาวะ!!
ตอนที่ยังไม่ตั้งครรภ์ เคยกลั้นปัสสาวะนาน ๆ จนรู้สึกปวดท้องน้อยหรือเปล่าคะ เช่นกันค่ะ ในขณะตั้งครรภ์ เมื่อมีปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะมาก ๆ แต่คุณแม่กลั้นปัสสาวะไว้ กระเพาะปัสสาวะก็จะโป่งมากขึ้น จนไปกดเบียดมดลูก จนมดลูกมีความดันสูงขึ้น จึงทำให้มดลูกบีบรัดตัว จนเกิดอาการท้องแข็งได้ค่ะ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ในไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากมดลูกที่โตขึ้นไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ จึงมักจะปวดปัสสาวะบ่อย ๆ แต่แม่ท้องบางคนก็อาจจะยุ่งจนต้องกลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ จนทำให้เกิดอาการท้องแข็งได้
สำหรับแม่ท้องที่ตั้งครรภ์อยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 37 ขึ้นไป อาการท้องแข็งอาจหมายถึงอาการท้องแข็งจริง ซึ่งเป็นสัญญาณใกล้คลอดแล้ว โดยอาการท้องแข็งจริงนั้น เกิดจากร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ที่ไปกระตุ้นให้มดลูกส่วนต้นหดรัดตัว ทำให้ผนังมดลูกบางลงและขยายปากมดลูกให้กว้างขึ้น เพื่อส่งทารกไปยังช่องคลอดได้ง่ายขึ้น ดังนั้น หากคุณแม่มีอาการ แน่นท้อง ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือนหรือปวดหน่วงคล้ายปวดอุจาระ อาการปวดเป็นจังหวะ โดยจะปวดถี่และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ พบมูกเลือดออกมาจากช่องคลอด มีน้ำคร่ำไหลออกมาจากช่องคลอด อาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที และอย่าลืมหิ้วกระเป๋าที่เตรียมไว้สำหรับไปใช้ที่โรงพยาบาลหลังคลอดลูกด้วยนะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
7 สัญญาณ อันตรายระหว่างตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องรีบหาหมอ
คลอดยาก สาเหตุที่ทำให้คลอดยาก ทรมานระหว่างคลอด
อาการ ท้องลด เป็นแบบไหน? ท้องลดตอนกี่สัปดาห์กันนะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.pobpad.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่