7 สัญญาณ อันตรายระหว่างตั้งครรภ์
5. ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ คือ การที่ทารกในครรภ์ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ที่ควรจะเป็น จึงมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามอายุครรภนั้น ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่เจริญเติบโตปกติ ทารกกลุ่มนี้จะจัดว่าเป็นทารกที่มีขนาด/น้ำหนักตัวน้อยกว่าอายุครรภ์จริง แต่ทารกที่น้ำหนักน้อยหรือตัวเล็ก ไม่ได้หมายความว่าจะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ทั้งหมด ทารกที่พ่อและแม่ตัวเล็ก ทารกก็จะมีขนาดเล็กด้วย แม้ว่าจะเจริญเติบโตปกติ ทั้งนี้ ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบ่งเป็น 2 ประ เภท คือ
- ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน ทารกกลุ่มนี้จะมีขนาดเล็กเหมือนเด็กตัวเล็ก ทั้งขนาดศีรษะ เส้นรอบท้อง และความสูง สัดส่วนจึงไม่แตกต่างจากเด็กปกติที่ตัวเล็ก สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติที่ตัวทารกเอง เช่น มีโครโมโซมผิดปกติ, การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ทำให้เซลล์ร่างกายไม่เจริญเติบโต เป็นต้น
- ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน ทารกในกลุ่มนี้มักจะพบได้บ่อยกว่ากลุ่มแรก โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสหลัง ๆ ของการตั้งครรภ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของแม่ท้อง เช่น แม่ท้องมีภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกได้อย่างไม่เพียงพอ การเจริญเติบโตของทารกจึงไม่เป็นไปตามภาวะปกติอย่างที่ควรจะเป็น เป็นต้น
อ่านต่อ ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ กับวิธีการตรวจดูขนาดของลูกในท้องว่าตัวเล็กหรือใหญ่!
6. ลูกไม่ดิ้น
ในช่วงสัปดาห์ที่ 16-20 ของการตั้งครรภ์ แม่ท้องจะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นกันแล้ว และในสัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ แม่ท้องจะต้องเริ่มนับลูกดิ้นกันแล้ว เพื่อให้ทราบถึงสุขภาพของลูกในท้อง ดังนั้นหากลูกในท้องดิ้นน้อยลง ไม่ดิ้น หรือมีลักษณะการดิ้นที่ผิดปกติ แม่ท้องควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ
อ่านต่อ ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้น สัญญาณสำคัญที่แม่ท้องต้องรู้
7. ไม่ได้ยินเสียงหัวใจ
แม่ท้องจะได้ยินเสียงหัวใจของลูกเต้น (โดยเครื่องมือในการฟังเสียงหัวใจ) ในสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์ แต่จริง ๆ แล้ว หัวใจลูกจะเริ่มเต้นตั้งแต่อายุในครรภ์ได้ 5 สัปดาห์แล้วค่ะ และแน่นอนค่ะว่าเราไม่สามารถจะฟังเสียงหัวใจของลูกได้ด้วยตนเอง จะต้องใช้เครื่องมือในการฟังเสียงหัวใจลูกเท่านั้น ดังนั้น จึงควรไปพบหมอตามนัดทุกครั้ง เพื่อให้คุณหมอตรวจสุขภาพของลูกในท้องอยู่เป็นประจำ
อ่านต่อ ใช้เครื่องฟังเสียงหัวใจ แต่ไม่ได้ยินเสียงลูกในท้อง ต้องกังวลไหม?
ตลอดการตั้งครรภ์จนถึงคลอด แม่ท้องจะต้องเจอเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ บางเหตุการณ์ก็อาจจะเป็นอันตราย และบางเหตุการณ์ก็อาจจะเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่แม่ท้องทุกคนต้องเจอ ดังนั้นการมีสติเพื่อตั้งรับกับเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง
อ่านบทความที่น่าสนใจ คลิก
“มูก” แบบไหนใกล้คลอด มี มูกเลือดก่อนคลอด ทำอย่างไร
อันตรายจากสาร BPA ในขวดน้ำดื่ม ที่แม่ท้องต้องระวัง
ลูกแพ้อาหาร เพราะแม่กิน อาหารกลุ่มเสี่ยง มากเกินไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : momjunction.com, haamor.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่